วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ศึกษาแบบจำลอง DNA

   เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 08.30– 09.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 smp เข้ามาใช้บริการ เพื่อทำกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง สารพันธุกรรม  โดยมี อ.ซอปียะห์ มะบูมิ่ง อาจารย์ประจำวิชาชีววิทยา เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอน

                    ภาพที่ 1  แบบจำลอง DNA                                  ภาพที่ 2.  สายพอลีนิวคลีโอไทด์                             
                                 

วัตถุประสงค์การทดลอง
      
        1. อธิบายโครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของ DNA 
        2. สร้างแบบจำลอง DNA จากวัสดุต่างๆ


        สารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (deoxyribonucleic acid; DNA) เป็นกรดนิวคลิอิก (Nucleic acid) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอส่วนใหญ่อยู่ในรูปโครโมโซม (chromosome) วางตัวอยู่ ในส่วนนิวเคลียส
  องค์ประกอบทางเคมีของ DNA  
      ดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นพอลีเมอร์ สายยาว ประกอบด้วยหน่วยย่อย ที่เรียกว่า นิวคลิโอไทด์ (nucleotide) นิวคลิโอไทด์ประกอบด้วยส่วนย่อย 3 ส่วน ได้แก่ ไนโตรจีนัสเบส (nitrogenous base) แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มคือ กลุ่มพิวรีนเบส (purine) ได้แก่ ไทมีน (thymine; T) ไซโทซีน (cytosine; C) และกลุ่มไพริมิดีนเบส (pyrimidine) ได้แก่ อะดีนีน (adenine; A) กัวนีน (guanine; G) โดยสารประกอบไนโตรจีนัสเบสนี้จะรวมตัวกับน้ำตาลดีออกซีไรโบส (deoxyribose sugar) และหมู่ฟอสเฟต เป็นนิวคลิโอไทด์อยู่ในดีเอ็นเอ

      โครงสร้างของดีเอ็นเอประกอบไปด้วย สายพอลินิวคลิโอไทด์ ที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันของนิวคลิโอไทด์หลายๆ หน่วย ด้วยพันธะ ฟอสโฟไดเอสเตอร์ โดยเกิดจากสายพอลินิวคลิโอไทด์จำนวน ๒ สายเรียงตัวขนานกันในทิศทางตรงกันข้าม เข้าคู่และพันกันเป็นเกลียวเวียนขวาคล้ายบันไดเวียน ที่เรียกว่า ดับเบิลเฮลิกซ์ (doublehelix) การเข้าคู่หรือเข้าจับกันของสายพอลินิวคลิโอไทด์ทั้ง ๒ สาย เกิดจากการเข้าคู่กัน ระหว่างเบสพิวรีน และเบสไพริมิดีน ด้วยพันธะไฮโดรเจน โดย A ทำการสร้างพันธะจำนวน ๒ พันธะเข้าจับกับ T (A = T) และ G ทำการสร้างพันธะ จำนวน ๓ พันธะ เข้าจับกับ C โดยมีน้ำตาล และหมู่ฟอสเฟตทำหน้าที่เป็นแกนอยู่ด้านนอกของโมเลกุล 
    
    ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ ได้นำผัก ผลไม้ มาใช้เป็นวัสดุ ในการสร้างแบบจำลอง DNA  โดยกำหนดให้ 
1. แครอท(ส้ม) เป็น A (อะดีนีน)  2. หัวไชเท้า (ขาว) เป็น T (ไทมีน) 3. มันม่วง (ม่วง) เป็น G (กวานีน) 4. ฟักทอง (เหลื่อง) เป็น C (ไซโทซีน) และไม้จิ้มฟัน เป็นพันธะที่เชื่อมต่อระหว่างเบส เพื่อประกอบกันเป็นดีเอ็นเอสายคู่

ภาพประกอบการทำกิจกรรม








     การทำกิจกรรมในครั้งนี้นักเรียนสามารถอธิบายและบอกความสำคัญของสารพันธุกรรมได้ และสารมารถนำวัสดุต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแบบจำลองดีเอ็น เอ  และยังเปิดโอกาสให้นักเรียนได้นำเสนอชิ้นงาน ของตัวเอง เพื่อเป็นการขยายความรู้และแชร์ให้กับเพือนๆ  ซึ่งจากการที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น