แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การนิเทศก์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การนิเทศก์ แสดงบทความทั้งหมด
วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ลงพื้นที่ติตตามนิเทศการเรียนการสอน โรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2563
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 อาจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด ประธานกรรมการฝ่ายบริหารจัดการโครงการและติดตามประเมินผล โครงการ SMP อาจารย์ ดร.ซันวานี จิใจ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยลัยราชภัฏยะลา และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP ลงพื้นที่ติตตามนิเทศการเรียนการสอน พบปะผู้บริหาร ครูผู้สอน และเยี่ยมนักเรียนในโครงการ SMP ณ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา โรงเรียนประทีปวิทยา ต.ตำบลลิดล อ.เมือง จ.ยะลา และ โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา
ในการติตตามนิเทศโรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP คณะกรรมการติดตามประเมินผล มีประเด็นนิเทศดังต่อไปนี้ นิเทศด้านสภาพแวดล้อมโครงการ SMP ในโรงเรียนได้มีการพบปะกับผู้บริหาร ครูผู้สอน พูดคุยแลกเปลี่ยนถึงปัญหาและอุปสรรค ข้อเสนอแนะ เรียนรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองและชุมชนเกี่ยวกับโครงการ SMP จากผู้บริหาร และสังเกตการเรียนการสอนของนักเรียนในโครงการ SMP
วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561
พิธีเปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
วันที่ 31 กรกฎาคม 2561 อาจารย์ ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน ได้ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ณ โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิและโรงเรียนประทีปวิทยา โดยมี นางสาวอิบตีซาน เจะแซ ผู้อำนวยการโรงเรียนประทีปวิทยา นายอาริฟ ดาตู ผู้อำนวยการโรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ คณะครูผู้สอนประจำโรงเรียน และคณะอาจารย์ประจำสาขาวิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมในพิธีเปิดครั้งนี้ด้วย
ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับจัดสรรงบประมาณบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ในแผนบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ ให้ดำเนินการโครงการห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์- คณิตศาสตร์ ในโรงเรียนเครือข่ายพื้นที่จังหวัดยะลา ได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ปัจจุบันมีโรงเรียนในเครือข่าย ทั้งหมด 9 โรงเรียน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 มีการขยายโรงเรียนเครือข่ายเพิ่มอีก 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนประทีปวิทยาโรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ และโรงเรียนคัมภีร์วิทยา ซึ่งโรงเรียนได้รับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของนักเรียนของนักเรียน ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจในโครงการ และสร้างความร่วมมือให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตามที่โครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program SMP ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาห้องเรียนต้นแบบจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อยกระดับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ติตตามนิเทศการเรียนการสอน พบปะผู้บริหาร เยี่ยมนักเรียนในโครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา และโรงเรียนดำรงวิทยา
วันที่ 23 กรกฎาคม 2561 คณะกรรมการติดตามประเมินผล โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา นำทีมโดยอาจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด ประธานกรรมการ ฝ่ายบริหารจัดการโครงการและติดตามประเมินผล คณะกรรมการ อาจารย์ภัทรพิชชา แก้วศรีขาว อาจารย์ปฏิพัทธ์ ชุมเกศ อาจารย์ประจำสาขาคณิตศาสตร์ อาจารย์ฮูเซ็ง ชายนาดา อาจารย์ ดร.ดาริกา จาเอาะ อาจารย์ประจำสาขาฟิสิกส์ อาจารย์ ดร.มนทกานต์ พิมเสน อาจารย์ประจำสาขาชีววิทยา และเจ้าหน้าที่ โครงการ SMP เวลา 09.00 – 12.00 น. ลงพื้นที่ติตตามนิเทศการเรียนการสอน พบปะผู้บริหาร และเยี่ยมนักเรียนในโครงการ SMP ณ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นายซัลมาน ผดุง ผู้รับใบอนุญาต นายมูยาฮิด ผดุง ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และเวลา 13.00 – 15.30 น. ติตตามนิเทศการเรียนการสอนฯ ณ โรงเรียนดำรงวิทยา มูหะมัดอาบีดีน บาระตายะ ผู้อำนวยการ มะรูดิง เจ๊ะมิง ผู้จัดการ
ในการติตตามนิเทศโรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP คณะกรรมการติดตามประเมินผล มีประเด็นนิเทศดังต่อไปนี้ นิเทศด้านสภาพแวดล้อมโครงการ SMP ในโรงเรียน (Context) ได้มีการพบปะกับผู้บริหาร ครูผู้ พูดคุยแลกเปลี่ยนถึงปัญหาและอุปสรรค ข้อเสนอแนะ เรียนรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองและชุมชนเกี่ยวกับโครงการ SMP จากผู้บริหาร และสังเกตการเรียนการสอนของนักเรียนในโครงการ SMP นิเทศด้านปัจจัยนำเข้า (Input) เรื่องความพร้อมของครูผู้สอนและผู้รับผิดชอบห้องเรียนโครงการ SMP รวมถึงความพร้อมของ วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ ห้องปฏิบัติการว่ามีความพร้อมในการใช้งานหรือไม่ และได้มีการสนับสนุนงบประมาณหรือทรัพยากรอื่นๆเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่โครงการ SMP สนับสนุนหรือไม่ นิเทศด้านกระบวนการ (Process) มีกิจกรรมพัฒนาส่งเสริมผู้เรียนและครูผู้สอนเพิ่มเติมจากเดิมหรือไม่ และได้มีการสังเกตการจัดระบบบริหารจัดการของห้องเรียน SMP ว่ามีคุณภาพหรือไม่ นิเทศด้านผลผลิต (Product) นักเรียนมีเจตคติ ความรู้ ความเข้าใจ สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ SMP ครูผู้สอนมีความรู้และทักษะการสอน การปฏิบัติการโดยเน้นให้นักเรียนลงมือทำ และผลลัพธ์ของการดำเนินงานโครงการ SMP ในภาพรวมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ SMP หรือไม่
วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560
คณะกรรมการโครงการ SMP ลงพื้นที่นิเทศติดตามผลการใช้ห้องปฏิบัติการ
![]() |
โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา อ.เมือง จ.ยะลา |
ผลจากการติดตามนิเทศก์ พบว่าหลักจากที่ได้มีการพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะภาคปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการของนักเรียนระดับชั้น ม.๔ และ ม.๕ ของแต่ละโรงเรียน ขณะนี้แต่ละโรงเรียนมีการใช้ห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง สร้างความสะดวก ความพึงพอใจและความน่าสนใจให้แก่นักเรียนในโครงการ ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
![]() |
โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ อ.ยะหา จ.ยะลา |
วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560
คณะกรรมการโครการ SMP ลงพื้นที่นิเทศติดตามผลการใช้ห้องปฏิบัติการ
![]() |
โรงเรียนสุทธิศาสน์ อ.ธารโต จ.ยะลา |
![]() |
โรงเรียนดำรงวิทยา อ.บันนังสตา จ.ยะลา |
วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560
คณะผู้บริหารโรงเรียนเครือข่ายในโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เยี่ยมเยือนห้องวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โครงการ SMP
เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560 คณะกรรมการศึกษาเอกชนและผู้บริหารโรงเรียนในเครือข่ายพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มาเข้าร่วมประชุมหารือ ณ. โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ในหัวข้อการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนใน 5 ด้าน คือ
1. ด้านส่งเสริมพัฒนาวิชา
2. ด้านสหกรณ์
3. ด้านเกษตรและโภชนาการ
4. ด้านสุขภาพอนามัยเด็ก
5. ด้านการฝึกอาชีพ
คณะทีมงานทุกท่านได้ให้ความสนใจห้องวิทยาศาสตร์และห้องคณิตศาสตร์ โดยนักเรียนในโครงการ SMP ได้เป็นตัวแทนกล่าวต้อนรับ และนำเสนอการใช้งานห้องปฏิบัติการพร้อมกับเล่าประสบการณ์ที่ได้เป็นนักเรียนในโครงการฯ
จากกิจกรรมดังกล่าวสร้างประสบการณ์ให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก กล้าคิดกล้าตัดสินใจ มีการพัฒนาด้านบุคลิกภาพ มีใจรักในการบริการวิชาการ นำไปสู่การพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพทั้งด้านตนเองและสังคมต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)