วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง กายวิภาคของกบ


วันที่ 23 ธันวาคม 2562 เวลา 08.00– 09.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 smp ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองวิชาชีววิทยา เรื่อง กายวิภาคของกบ โดยมี อ.ซอฟียะห์ มะบูมิ่ง อาจารย์ประจำวิชาชีววิทยา เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนปฏิบัติการ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาโครงสร้างภายนอกและภายในของกบ
2.เพื่อศึกษาลักษณะหน้าที่การทำงานของอวัยวะกบ
3.เพื่อศึกษาระบบทางเดินอาหารของกบ
ลักษณะทั่วไปของกบ (Frog)
  กบเป็นสัตว์ที่แพร่กระจายทั่วโลกแต่มีมากในเขตร้อน กบมีลักษณะผิวหนังเรียบลื่นและเปียกชื้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ทั้งในน้ำและบนบก และบนบกและสามารถปรับสีผิวให้กลืนไปกับธรรมชาติ เพื่อป้องกันตัวกบบางชนิดตัวใหญ่มาก เช่น Bullfrog ตัวยาวจากหัวไปถึงปลายขาประมาณ 20 ซม. กระโดดได้ไกล 2-3 เมตร และมีเสียงร้องที่ดังมาก กบมีการแลกเปลี่ยนแก๊สทางผิวหนัง โดยออกซิเจนละลายกับน้ำที่เคลือบบนผิวหนัง ดังนั้นถ้าผิวแห้งกบจะตาย กบมีด้านต่าง ๆ คือ ด้านหัว หรือด้านหน้า (anterior) และด้านท้าย (posterior) ด้านที่หันเข้าทางพื้นดินเป็นด้านท้อง (ventral) ด้านบนสีเข้มเป็นด้านหลัง (dorsal) ดังนั้นถ้าจับขาหน้าสองข้างและหันด้านท้องออกไปข้างหน้าตัวเรา กบจะตั้งตัวอยู่ในลักษณะเดียวกับเรา ซีกที่มือขวาจับจึงเป็นซีกขวา และซีกที่มือซ้ายจับเป็นซีกซ้าย 
โครงสร้างภายในของกบ
ระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหารของกบจะเริ่มจากปาก (Mouth) ในช่องปากจะมีช่องอาหาร (Gullet) เป็นทางเปิดเข้าสู่หลอดอาหาร (Esophagus)
หลอดอาหาร (Esophagus) เป็นท่อต่อจากปากสู่กระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ผลักดันอาหารให้เคลื่อนที่ลงสู่กระเพาะอาหารโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหลอดอาหาร
กระเพาะอาหาร (Stomach) มีลักษณะเป็นถุงกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ คล้ายอักษรรูปตัว J ทำหน้าที่เก็บอาหาร และย่อยอาหาร ตอนปลายของกระเพาะอาหารที่ติดกับลำไส้เล็ก มีกล้ามเนื้อสำหรับปิดเปิดกระเพาะอาหารคล้ายหูรูด เรียกว่า Pyloric sphincter ทำหน้าที่ควบคุมการส่งออกอาหารที่ย่อยจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้เล็ก
ลำไส้เล็ก (Small intestine) เป็นท่อทางเดินอาหารที่ยาวมาก ในกบลำไส้เล็กจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือลำไส้เล็กส่วนต้น เรียก Duodenum จะมีท่อจากตับ และตับอ่อน นำน้ำดีและน้ำย่อยมาเปิดเข้าสู่บริเวณนี้ และลำไส้เล็กส่วนท้าย เรียก Jejunoileum ซึงไม่แยกเป็นลำไส้เล็กส่วน Jejunum และileum โดยมีขนาดเล็กว่า Duodenum จะเป็นส่วนที่ดูดน้ำและสารอาหารมากที่สุด
ลำไส้ใหญ่ (Large intestine) เป็นทางเดินอาหารต่อจาก Jejunoileum มีต่อมสร้างเมือก เพื่อให้อุจจาระเคลื่อนที่ได้สะดวก ในลำไส้ใหญ่ไม่มีการย่อยอาหาร มีการดูดซึมน้ำและสารอาหารได้บ้าง
ไส้ตรง (Rectum) อยู่ต่อมาจากลำไส้ใหญ่ เป็นที่รวมของกากอาหาร ด้านล่างของปลายไส้ตรงของกบมีท่อนำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะ และท่อนำไข่ในเพศเมีย มาเปิดออกที่ด้านบนของไส้ตรงตอนปลาย เรียกไส้ตรงส่วนนี้ว่า Cloaca และรูเปิดของ Cloaca หรือ Cloaca opening ซึ่งเป็นทางออกของอุจจาระ ปัสสาวะ และเซลล์สืบพันธุ์ นอกจากอวัยวะที่ใช้ในการย่อยที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีอวัยวะในการย่อยที่พบในบริเวณใกล้เคียงกับบริเวณท่อทางเดินอาหาร ได้แก่ ตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน
ตับ (Liver) มี 3 พู ทำหน้าที่สร้างน้ำดี ซึ่งจะถูกเก็บส่งมาที่
ถุงน้ำดี (Gall bladder) ก่อนจะเข้าสู่ Duodenum เพื่อช่วยในการย่อยไขมัน โดยทำให้ไขมันแตกตัวเป็นกรดไขมันขนาดเล็ก
ตับอ่อน (Pancreas) ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยส่งไปยัง Duodenum
วัสดุและอุปกรณ์
1. กบ
2. ถาดผ่าตัด
3. ชุดอุปกรณ์ผ่าตัด (มีดผ่าตัด กรรไกร เข็มเขี่ย ปากคีบ ฯ)
4. เข็มหมุด
5.ถุงมือ 
วิธีการทดลอง
1.ทำให้กบสลบ โดยการดมอีเทอร์/ ทำลายสมองโดยใช้เข็มหมุด หรือใช้การน็อคน้ำแข็ง
2.นำกบมาวางบนถาด ผ่ากบโดยใช้มีดกรีดและกรรไกร ให้เป็นรูปตัว T/ I ผ่าทีละชั้น
3.ศึกษาโครงสร้างต่างๆ วาดภาพ และชี้ส่วนประกอบ

วิดีโอแสดงการผ่ากบเพื่อศึกษาอวัยวะภายใน


ภาพบรรยากาศการทดลอง

จากการทดลองทำให้นักเรียนสามารถอธิบายโครงสร้างภายนอกและภายในของกบบอกหน้าที่การทำงานของอวัยวะต่างๆและระบบทางเดินอาหารของกบได้และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้และเปรียบเทียบในการศึกษาอวัยภายในของมนุษย์ได้อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น