วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.30 - 11.30 น. นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา และนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ เข้าโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยาเพื่อติดตามกาารรับสมัครคัดเลือกนักเรียนใหม่โครงการ SMP ประจำปีการศึกษา 2563 และได้ถือโอกาสประชาสัมพันธ์แนะแนวโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 ณ ห้องประชุมโรงเรียนสุขสวิสดิ์วิทยา
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประชาสัมพันธ์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประชาสัมพันธ์ แสดงบทความทั้งหมด
วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2563
กิจกรรมประชาสัมพันธ์และแนะแนวโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2562
กิจกรรม ประชาสัมพันธ์และแนะแนวโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์
เมื่อวันที่ 12 ธันวาาคม 2562 เวลา 10.00 - 11.15 ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และแนะแนวศึกษาต่อชั้นมัธยมมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์
วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561
กิจกรรมแนะแนวหลักสูตร และการทำปฏิบัติการด้านจุลชีีววิทยา
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2561 เวลา 14.30– 16.00 น. ณห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา หลักสูตรจุลชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำโดย อ.นุรอัยนี หะยียูโซะ อ.พูรกอนนี สาและ พร้อมด้วยตัวแทนนักศึกษาสาขาจุลชีววิทยาได้ลงพืี้นที่ประชาสัมพันธ์แนะแนวหลักสูตรจุลชีววิทยาและสอนเทคนิคการทำปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา
ประชาสัมพันธ์หลักสูตร และกิจกรรมทดลองทางด้านจุลชีววิทยา แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา
วันที่ 6 ธันวาคม 2561 เวลา 11.00 – 13.00 น. ณ
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ทางหลักสูตรวิทยาศาสตรบันฑิต สาขาจุลชีววิทยา
คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำโดยอาจารย์นุรอัยนี หะยียูโซะ
อาจารย์พูรกอนนี สาและ และตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรจุลชีววิทยาเข้ามาประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมการทดลองทางด้านจุลชีววิทยา
ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561
แนวทางการดำเนินงานโครงการ SMP และกรอบงบประมาณประจำปี พ.ศ.2563
การดำเนินงานโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science & Mathematics Program: SMP) ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญ โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (รับผิดชอบจังหวัดยะลา) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (รับผิดชอบจังหวัดปัตตานี) และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (รับผิดชอบจังหวัดนราธิวาส) เป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยง ร่วมกันพัฒนาแบบบูรณาการทั้งกับโรงเรียนและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ผู้นำชุมชน และผู้ปกครองนักเรียน
ในปีการศึกษา 2562 หรืองบประมาณ พ.ศ. 2563 นี้ จะมีนักเรียน ม.6 รุ่นแรกสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งสิ้นจำนวน 240 คน และจะสอบเรียนต่อในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในพื้นที่ จชต. และนอกพื้นที่ โดยตามเป้าหมายโครงการกำหนดตัวชี้วัดไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลสำเร็จของโครงการ จะได้เสนอในโอกาสต่อไป
สำหรับการดำเนินงานโครงการ SMP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 นี้ มีการประชุมการพิจารณากรอบการของบประมาณเมื่อวันที่ 29-30 พ.ย. และ วันที่ 3-4 ธ.ค. 61 ที่ผ่านมา ณ กรุงเทพมหานคร โดยมหาวิทยาลัยเครือข่ายในพื้นที่ จชต. นำได้เสนอของบประมาณสนับสนุนโครงการ SMP ให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้เสนอเพิ่มโรงเรียนใหม่เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 3 โรงเรียน โดยได้เสนอกรอบโครงการและกิจกรรมสำคัญแก่คณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณางบประมาณ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินการต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบุตรหลานของพี่น้องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเป็นการสร้างโอกาส ลดความเหลี่อมล้ำทางการศึกษา เป็นการพัฒนากำลังทรัพยากรมนุษย์และเสริมสร้างความมั่นคงด้วยการศึกษาเป็นรากฐานในการพัฒนาโครงการสำคัญ ๆ ในพื้นที่ จชต. ต่อไป ความคืบหน้าจะได้มีโอกาสนำมาเล่าต่อไป
โครงการ SMP ได้รับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินตามแนวทางการจัดสรรงบประมาณของ "แผนบูรณาการการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้" มุ่งพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญเครือข่าย โดยพัฒนาห้องปฏิบัติการ จัดหาครุภัณฑ์และวัสดุ พัฒนาผู้บริหาร ครู นักเรียน ในระดับ ม.4-6 โดยเริ่มรับนักเรียน ม.4 รุ่นแรกมาตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2559 โดยมีโรงเรียนร่วมโครงการรุ่นแรกในปี พ.ศ. 2559 ทั้งหมด 6 โรงเรียน และรุ่นที่ 2 ในปี พ.ศ. 2561 อีกจำนวน 3 โรงเรียน รวมทั้งหมด 9 โรงเรียน
ในปีการศึกษา 2562 หรืองบประมาณ พ.ศ. 2563 นี้ จะมีนักเรียน ม.6 รุ่นแรกสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งสิ้นจำนวน 240 คน และจะสอบเรียนต่อในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในพื้นที่ จชต. และนอกพื้นที่ โดยตามเป้าหมายโครงการกำหนดตัวชี้วัดไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลสำเร็จของโครงการ จะได้เสนอในโอกาสต่อไป

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561
การจัดการเรียนรู้วิชา WBI บูรณาการกับการผลิตสื่ออีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) โครงการ SMP
ปัญหาสำคัญของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียน SMP คือ การสอนปฏิบัติการ (Lab) วิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่ไม่สามารถสอนปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วน เวลาการสอนปฏิบัติการมีไม่เพียงพอ ครูผู้สอนขาดทักษะสอนปฏิบัติการ ขาดความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ ไม่เข้าใจขั้นตอนการทดลอง รวมทั้งการสรุปผลการทดลอง จึงทำให้บางรายวิชาไม่สามารถทำการทดลองปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วน
โครงการ SMP จึงทดลองนำร่อง จัดทำบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนขั้นตอนการทดลองในรายวิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 เรื่อง โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาเว็บช่วยสอน (Web-based Instruction: WBI) ของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ที่สอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เน้นให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อแก้ปัญหาการสอนปฏิบัติวิทยาศาสตร์ โดยจัดทำเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เพื่อให้ผู้สอนได้ใช้เรียนรู้และทบทวน และผู้เรียนได้ศึกษามาก่อนล่วงหน้าที่บ้าน และลงมือทดลองในห้องปฏิบัติการ
สำหรับบทเรียนอีเลิร์นนิ่งที่พัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบนี้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนในโครงการ SMP หรือโรงเรียนที่สนใจได้นำไปใช้ แนวคิดหลักๆ ในบทเรียนคือ การสอนแบบสาธิตขั้นตอนการทดลอง เนื้อหานำเสนอทั้งข้อความ (Text) ภาพนิ่ง (Image) วิดีโอ (Video) และมีกิจกรรมแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม รวมทั้งแบบสรุปผลการทดลอง โดยการเผยแพร่บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง สามารถเผยแพร่ในรูปแบบเว็บไซต์ และเผยแพร่หรือนำไปใช้กับระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ประเภท LMS (Learning Management System) เช่น Moodle เป็นต้น
หากผลการประเมินต้นแบบ เป็นที่น่าพอใจ และเป็นประโยชน์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการ SMP ก็จะดำเนินการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) ให้ครบทุกรายวิชาหรือทุกระดับชั้นต่อไป
โครงการ SMP จึงทดลองนำร่อง จัดทำบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนขั้นตอนการทดลองในรายวิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 เรื่อง โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาเว็บช่วยสอน (Web-based Instruction: WBI) ของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ที่สอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เน้นให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อแก้ปัญหาการสอนปฏิบัติวิทยาศาสตร์ โดยจัดทำเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เพื่อให้ผู้สอนได้ใช้เรียนรู้และทบทวน และผู้เรียนได้ศึกษามาก่อนล่วงหน้าที่บ้าน และลงมือทดลองในห้องปฏิบัติการ
สำหรับบทเรียนอีเลิร์นนิ่งที่พัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบนี้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนในโครงการ SMP หรือโรงเรียนที่สนใจได้นำไปใช้ แนวคิดหลักๆ ในบทเรียนคือ การสอนแบบสาธิตขั้นตอนการทดลอง เนื้อหานำเสนอทั้งข้อความ (Text) ภาพนิ่ง (Image) วิดีโอ (Video) และมีกิจกรรมแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม รวมทั้งแบบสรุปผลการทดลอง โดยการเผยแพร่บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง สามารถเผยแพร่ในรูปแบบเว็บไซต์ และเผยแพร่หรือนำไปใช้กับระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ประเภท LMS (Learning Management System) เช่น Moodle เป็นต้น
หากผลการประเมินต้นแบบ เป็นที่น่าพอใจ และเป็นประโยชน์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการ SMP ก็จะดำเนินการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) ให้ครบทุกรายวิชาหรือทุกระดับชั้นต่อไป
วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561
เปิดรับสมัครนักเรียนเข้าค่ายพรีโอลิมปิกวิชาการสำหรับนักเรียนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีที่ 3 ค่ายที่ 1
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ฯ จาก 3 สถาบัน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กำหนดจัดค่ายพรีโอลิมปิกวิชาการสำหรับนักเรียนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีที่ 3 ค่ายที่ 1 ระหว่างวันที่ 18 เมษายน – 15 พฤษภาคม 2561 ใน 4 สาขาวิชา คือ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและคณิตศาสตร์ นักเรียนี่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลดใบสมัครได้ตามลิงก์
วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561
โครงการ SMP เตรียมบูรณาการการเรียนการสอนหลักสูตรในคณะวิทย์ฯ บริการวิชาการในโรงเรียนเป้าหมาย

วันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561
กิจกรรมประชาสัมพันธ์และแนะแนวโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา
เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2561 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และแนะแนวการศึกษาต่อให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 ณ ห้องประชุมโรงเรียนคัมภีร์วิทยา เพื่อเปิดโอกาส และสร้างแรงบรรดาลใจในการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในห้องเรียนพิเศษ SMP ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมทั้งหมด 90 กว่าคน และได้รับเกียรติจากรองผู้อำนวยการโรงเรียนมากล่าวเปิดกิจกรรม โดยมีครูผู้สอน และนักวิทยาศาตร์เป็นผู้แนะแนวและดำเนินกิจกรรม
จากกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้นักเรียนสนใจและอยากเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก โดยทางโรงเรียนจะเปิดรับสมัครนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ภายในวันที่ 20-30 มกราคม 2561 และสอบคัดเลือกวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ที่โรงเรียนคัมภีร์วิทยา อ.บังนันสตา จ.ยะลา
เกณฑ์การรับสมัคร
1. นักเรียนที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชันมัธยมศึกษาปี่ที่ 3
2. มีเกรดเฉลี่ย 5 เทอม ไม่น้อยกว่า 2.5
ประชาสัมพันธ์โครงการ
เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2561 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ประจำโรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ได้จัดกิจกรรมแนะแนวและประชาสัมพันธ์โครงการให้กับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเป็นทางเลือกในการศึกษาต่อ
ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากนักเรียนในโครงการฯ ทั้งรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ในการ อำนวยความสะดวกและเล่าประสบการณ์ที่ได้รับจากโครงการ
เปิดรับสัมคร นักเรียนวันที่ 4 – 31 มกราคม 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์หรือห้องวิชาการสามัญ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์
สอบคัดเลือก วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ณ
โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์
ประกาศรายชื่อ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ณ
โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์
รายงานตัว วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561 ณ
โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์
ปฐมนิเทศ วันที่ 22 มีนาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ โลโก้ (LOGO) โครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP)
ระยาเวลา
เปิดรับผลงาน ตั้งแต่วันนี้ – 10 มกราคม 2561
ประกาศผลการตัดสิน ทางเว็บไซต์ www. Smp-yru-student.blogspot.com ในวันที่ 12 มกราคม 2561
ประกาศผลการตัดสิน ทางเว็บไซต์ www. Smp-yru-student.blogspot.com ในวันที่ 12 มกราคม 2561
วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560
โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาปฐมนิเทศบุคลากรประจำโครงการ ประจำปี 2561
โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดปฐมนิเทศบุคลากรประจำโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2561 ทั้งนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาห้องเรียน SMP จำนวน 9 โรงเรียน นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการต้นแบบ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และนักวิชาการศึกษา เพื่อชี้แจงความเป็นมา วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และหน้าที่ของแต่ละคน รวมทั้งงานส่งมอบหรือ KPIs ของบุคลากรประจำโครงการแต่ละคน ทั้งนี้ เพื่อให้บุคลากรทุกคนได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ โดยในการดำเนินงานในปี 2561 จะเน้นการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการในแต่ละโรงเรียน และผลการพัฒนานักเรียนที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ เน้นการใช้สารสนเทศในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน และกำหนดเป้าหมายในแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยมีนี้ มีโรงเรียนใหม่เข้าร่วมโครงการอีกจำนวน 3 โรงเรียน รวมโรงเรียนเดิมอีก 6 โรงเรียน รวมเป็น 9 โรงเรียน ซึ่งผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จะรายงานผลเป็นระยะๆ ต่อไป
วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560
โครงการ SMP จัดสอบคัดเลือกบุคลากรประจำโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
วันที่ 9 ตุลาคม 2560 โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดสอบคัดเลือกเพื่อจ้างเหมาบริการเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการศึกษา เน้นทักษะปฏิบัติ เพื่อร่วมปฏิบัติงานในโครงการ SMP และประจำอยู่โรงเรียนเครือข่ายในโครงการ มีภารกิจหลักคือสนับสนุนการบริการและการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การดูแลครุภัณฑ์ อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ และการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โครงการ SMP จะมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 9 โรงเรียน
ซึ่งคาดว่าการสนับสนุนและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สำนักงานการศึกษาเอกชน และโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ในลักษณะการบูรณาการร่วมกันตั้งแต่การวางแผน การกำหนดเป้าหมาย การดำเนินงานร่วมกันในทุกมิติของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การติดตามนิเทศและประเมินผล จะทำให้ผลผลิตนักเรียน ม.6 รุ่นแรก ที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในปีการศึกษา 2562 สนใจและสามารถเข้าศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (นักเรียน ม.6 รุ่นแรกประมาณ 250 คน จาก 6 โรงเรียนในโครงการ) เพื่อสร้างบุคลากรรองรับการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้สู่ Thailand 4.0 ในอนาคต
ซึ่งคาดว่าการสนับสนุนและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สำนักงานการศึกษาเอกชน และโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ในลักษณะการบูรณาการร่วมกันตั้งแต่การวางแผน การกำหนดเป้าหมาย การดำเนินงานร่วมกันในทุกมิติของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การติดตามนิเทศและประเมินผล จะทำให้ผลผลิตนักเรียน ม.6 รุ่นแรก ที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในปีการศึกษา 2562 สนใจและสามารถเข้าศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (นักเรียน ม.6 รุ่นแรกประมาณ 250 คน จาก 6 โรงเรียนในโครงการ) เพื่อสร้างบุคลากรรองรับการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้สู่ Thailand 4.0 ในอนาคต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)