แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เคมี แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เคมี แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565

บทปฏิบัติการเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน



            เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 เวลา 19.00 - 20.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP -YRU ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีอาจารย์ซารีฟะห์ ยามิน เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยในการทำแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2565

บทปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองวัดปริมาตรโดยใช้อุปกรณ์ชนิดต่างๆ และการวัดมวลโดยใช้เครื่องชั่ง

 



           เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 เวลา 19.00 - 20.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง การทดลองวัดปริมาตรโดยใช้อุปกรณ์ชนิดต่างๆ และการวัดมวลโดยใช้เครื่องชั่ง ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP -YRU ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีอาจารย์ซารีฟะห์ ยามิน เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยในการทำแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการเรื่อง การทดลองวัดค่าศักย์ไฟฟ้าของเซลล์เคมีไฟฟ้า

      

         เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 10.25 - 12.25 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP  โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาเคมี  เรื่อง การทดลองวัดค่าศักย์ไฟฟ้าของเซลล์เคมีไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี่ 5/1 (SMP)  โดยมีอาจารย์คอลิด  หะยีมูหิ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2564

การทดลองศึกษาการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก

       
 
        เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 เวลา  10.45 - 12.00 น. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 มาใช้บริการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ในการเรียนการสอนรายวิชา เคมี เรื่อง การทดลองศึกษาการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก โดยมีอาจารย์อิลฮาม อับดุลเลาะห์ อาจารย์ประจำวิชาเคมีเป็นผู้สอน

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมสารละลาย

    

            วันที่  28 กุมภาพันธ์  2564 เวลา 08.45-10.25 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาเคมี  เรื่อง การเตรียมสารละลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี 4/1 (SMP) โดยมีอาจารย์วนิดา  เหาะแอ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปการปฏิบัติการ

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 เรื่อง การทดลองหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย โรงเรียนประทีปวิทยา

 

วันที่ 24  กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 11.40 – 12.20 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ (SMP) โรงเรียนประทีปวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) เรื่อง การทดลองหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย โดยมีอาจารย์อาบีเดาะ เจะอามะ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมี ซึ่งในการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย รวมทั้งบอกความแตกต่างระหว่างจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลายที่มีสารบริสุทธิ์นั้นเป็นตัวทำละลาย โดยในการทดลองครั้งนี้ใช้เอทานอลเป็นสารบริสุทธิ์ และใช้สารละลายกลีเซอรอลในเอทานอลเข้มข้น 2 mol/kg เป็นสารละลาย จากผลการทดลองทำให้นักเรียนสามารถศึกษาสมบัติบางประการของสารละลาย เช่น จุดเดือด เปรียบเทียบคุณสมบัติของสารบริสุทธิ์และสารละลายได้

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการเคมี เรื่องการเตรียมสารละลาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

 

        
        วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.30– 12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง การเตรียมสารละลาย ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองการเกิดปฏิกิริยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทีปวิทยา



วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.20 – 11.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP-YRU โรงเรียนประทีปวิทยา นางสาวอาบีเดาะ เจะอามะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนประทีปวิทยา

วัตถุประสงค์

          เพื่อศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงของสารที่สามารถสังเกตได้

วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี

รายการ

ปริมาณ/กลุ่ม

1. ที่ตั้งหลอดทดลอง

1 อัน

2. หลอดทดลองขนาดกลาง

7 หลอด

3. สารละลายเลด(II)ไนเตรต 0.1 mol/dm3

5 ml

4. สารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ 0.1 mol/dm3

5 ml

5. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 2 mol/dm3

5 ml

6. แผ่นโลหะแมกนีเซียม ขนาดประมาณ 0.3×2.0 cm2

1 ชิ้น

7. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 3 mol/dm3

5 ml

8. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2 mol/dm3

5 ml

9. สารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเจือจาง

5 ml


วิธีการทดลอง

1. นำสารละลายเลด(II)ไนเตรต ที่มีความเข้มข้น 0.1 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร ผสมกับสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ ที่มีความเข้มข้น 0.1 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บันทึกผล

2. นำแผ่นโลหะแมกนีเซียม ใส่ลงไปในหลอดทดลองที่บรรจุสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ที่มีความเข้มข้น 2 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

3. นำสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ที่มีความเข้มข้น 2 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร ผสมกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่มีความเข้มข้น 2 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร เขย่าให้เข้ากันแล้วใช้มือจับบริเวณก้นหลอดทดลองตรงบริเวณที่มีสารละลาย สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บันทึกผล

4. นำสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ที่มีความเข้มข้น 3 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร ผสมกับสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเจือจาง จำนวน 5 มิลลลิตร สังเกตการเปลี่ยนแปลง


 
  

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ระหว่างโลหะกับไอออนของโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดำรงวิทยา

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 15.00 – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP-YRU โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวกอรีเย๊าะ มะนาฮา ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ระหว่างโลหะกับไอออนของโลหะ ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1