แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ SMP-YRU แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ SMP-YRU แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566

กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านปฏิบัติการเคมี เรื่อง การไทเทรตหาจุดยุติ ด้วยฟีนอล์ฟทาลีน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพัฒนาวิทยากร


เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 ณ ห้องปฏิบัติการ SMP - YRU โรงเรียนพัฒนาวิทยากร นางอามีเนาะ ดีปาตี ครูผู้สอนรายวิชา เคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเรื่อง การไทเทรตหาจุดยุติ ด้วยฟีนอล์ฟทาลีน ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้เตรียมสารเคมีและเป็นผู้ช่วยในการสอนปฏิบัติการในครั้งนี้

จุดประสงค์การทดลอง

       1. เพื่อเพิ่มทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การไทเทรต

       2. ทำการทดลอง เพื่อศึกษาการหาจุดยุติโดยวิธีการไทเทรตได้

อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง

       1. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์                    6. ขวดรูปชมพู่

       2. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก                         7. บีกเกอร์

       3. สารละลายฟีนอล์ฟทาลีน                              8. หลอดหยด

       5. บิวเรตต์                                                     10. ขาตั้งพร้อมที่จับ

    

             


วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

SMP-YRU ได้รับงบสนับสนุนงบประมาณ ปี พ.ศ. 2565 ให้ดำเนินการต่อเนื่อง (โรงเรียนใหม่อีก 3 โรงเรียน และร่วมมือพัฒนากับโรงเรียนเดิมอีก 12 โรงเรียน)

      

       การนำเสนอโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หรือ โครงการ SMP-YRU  ภายใต้แผนบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ : โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ในแนวทางการศึกษาเพื่อความมั่นคง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 (ทางออนไลน์) นับว่าเป็นโอกาสดีทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาของศูนย์สันติวิธี (สสว.) กอ.รมน.ภ.4 สน. ที่ได้รับงบประมาณแผ่นดินสนับสนุนให้พัฒนาห้องเรียน SMP-YRU โรงเรียนใหม่อีกจำนวน 3 โรงเรียน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะได้ดำเนินการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในเครือข่ายในโรงเรียนเดิมอีก 12 โรงเรียน อย่างต่อเนื่องต่อไป รวมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จะมีนักเรียนในโครงการ SMP-YRU ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกัน  จำนวน  15 โรงเรียน มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในปีการศึกษาหน้า และที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วในโครงการนี้กว่า 2,000 คน (ดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559) ผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติในห้องทดลอง (Lab) สร้างทักษะการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เป็นกลยุทธ์การสอนเป็นหลัก สร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 มีโอกาสในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตนเองสนใจ สร้างโอกาสให้แก่เยาวชนในพื้นที่ในการประกอบอาชีพที่มั่นคงในอนาคต เป็นห้องเรียนที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน 




       ขอขอบคุณมหาวิทยาลัย  ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และคณะทำงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการนี้ อย่างต่อเนื่องมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีผลงานวิจัยประเมินความสำเร็จของโครงการที่เป็นรูปธรรม มีนักเรียนในโครงการจบชั้น ม. 6 และศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมากกว่าร้อยละ 40 ที่เหลือศึกษาต่อด้านสังคมศาสตร์ ด้านศาสนา ประกอบอาชีพ และอื่น ๆ 

         ตัวอย่างที่นักเรียนชั้น ม. 6  สอบเข้าศึกษาต่อปริญญาตรีได้ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์  ได้แก่ แพทยศาสตร์ 2 คน แพทย์แผนไทย 3 คน เทคนิคการแพทย์ 4 คน วิศวกรรมศาสตร์ 11 คน พยาบาลศาสตร์ 11 คน สาธารณสุขศาสตร์และอาชีวอนามัย 10 คน เทคนิคยานยนต์ 3 คน วิทยาการคอมพิวเตอร์ 10 คน นอกจากนั้นเป็นสาขา วิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์อุตสาหกรรม เคมีเทคโนโลยีและนวัตกรรม คณิตศาสตร์  วิทยการธุรกิจสุขภาพ วิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและความงาม ทั้งนี้มีนักเรียนสนใจเข้าศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และสาขาอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 54 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2564) 

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

โครงการ SMP-YRU กับความสำเร็จของโครงการ: คำบอกเล่าของนักเรียนในโครงการ

 
         มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (http://www.yru.ac.th) มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ เป็นเครือข่ายการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา สร้างโอกาสทางการศึกษา ปูพื้นฐานสร้างอาชีพในอนาคต โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา โดยมหาวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินงานโครงการ SMP-YRU ภายใต้แผนงานบูรณาการการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2564 ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 ปี โดยดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกับโรงเรียนในเครือข่าย จำนวน 12 โรงเรียน พัฒนาห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนผ่านการพัฒนาในโครงการนี้จาก 12 โรงเรียน รวมจำนวน 1,799 คน และมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำเร็จการศึกษาไปแล้ว 3 รุ่น สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ได้แก่ แพทย์ศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล สาธารณสุขวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์การอาหาร ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์  โดยเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 40 ของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา ม.6 ศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ส่วนที่เหลือศึกษาต่อด้านสังคมศาสตร์ ศาสนา และประกอบอาชีพ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ของโครงการ SMP-YRU นับเป็นที่น่าพึงพอใจ (จากผลการวิจัยติดตามประเมินผลโครงการ)  

    สำหรับในปีการศึกษา 2564 ในท่ามกลางการแพร่ระบาดเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 ทำให้การพัฒนาและส่งเสริมห้องเรียนพิเศษในโครงการ SMP-YRU มีปัญหาและอุปสรรค อย่างไรก็ตาม ด้วยความพร้อมและโอกาสในการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ความพร้อมของสื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาแบบออนไลน์ (http://e-smp.yru.ac.th) ทำให้นักเรียนในโครงการประสบความสำเร็จ ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีได้หลากหลายสาขา ... โดยเฉพาะสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์  จึงเสนอคลิปการกล่าวความรู้สึกของนักเรียนในโครงการบางส่วน เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนรุ่นน้อง ให้มีความพยายามและมุ่งมั่นเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ และสามารถศึกษาต่อปริญญาตรีในสาขาที่ตนเองชอบและถนัดต่อไป

   

วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่องการศึกษาโครงสร้างของหัวใจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และโครงสร้างของไตสัตว์มีกระดูกสันหลัง โรงเรียนประทีปวิทยา

 


  วันที่ 17  มีนาคม 2564 เวลา 11.00 – 11.40 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ (SMP) โรงเรียนประทีปวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การศึกษาโครงสร้างของหัวใจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและโครงสร้างของไตโดยมีอาจารย์รอฏียะห์ หวันมามะ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีววิทยา ซึ่งในการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสรุปโครงสร้างหัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม บอกความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับหน้าที่ของหัวใจแต่ละห้อง ลิ้นหัวใจ รวมทั้งหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกับหัวใจ ศึกษาทิศทางการไหลของเลือดผ่านหัวใจและศึกษาโครงสร้างภายนอกและภายในของไตสัตว์มีกระดูกสันหลัง


วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564

โครงการ SMP-YRU ขยายผลการใช้ระบบอีเลิร์นนิ่ง (https://e-smp.yru.ac.th) ติวออนไลน์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย 12 โรงเรียน

   


วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2564  เวลา 13.00-16.30 น. ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการดำเนินงาน โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program, Yala Rajabhat University: SMP-YRU) ซึ่งมีอธิการบดี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีเป็นที่ปรึกษาโครงการ และ อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ประธานคณะกรรมการดำเนินงาน รวมถึงคณะกรรมการดำเนินเนินงานโครงการจากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (http://science.yru.ac.th) และเครือข่ายโรงเรียน SMP-YRU จำนวน 12 โรงเรียน จัด "โครงการขยายผลการใช้ระบบอีเลิร์นนิ่งเพื่อส่งเสริมการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนและโอกาสทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์"  รวมทั้งวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษในระบบอีเลิร์นนิ่ง โดยได้รับการสนับสนุนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งจากมหาวิทยาลัย โดยเผยแพร่ไว้ที่เว็บไซต์  http://e-smp.yru.ac.th  ทั้งจากการปรับเปลี่ยนกิจกรรมค่ายเสริมความรู้ในปีงบประมาณตามแผนบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปีพ.ศ. 2563 จากวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 จากกิจกรรมเข้าค่าย เป็นกิจกรรมการพัฒนาเนื้อหา (Contents) ในรายวิชาสำหรับการสอบวัดความรู้ PAT1, PAT2 และ GAT  ในรายวิชาเคมี  ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รวม 12 รายวิชา เน้นนำเสนอเนื้อหาด้วยสื่อวีดีทัศน์ (Clip Video) มีการโต้ตอบระหว่างเรียน แบบทดสอบทบทวนเนื้อหา





   สำหรับการจัดทำและพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง โดยนำเสนอเนื้อหาในลักษณะการสอนเสริม (Tutorial) ด้วยวีดีทัศน์แบบโต้ตอบได้ เผยแพร่ให้แก่นักเรียนระดับชั้น ม.4-6 ผ่านเว็บไซต์การจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง โดยเผยแพร่ที่เว็บไซต์  https://e-smp.yru.ac.th ในครั้งนี้ นับเป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVIE-19 ที่ทางโครงการฯ มองเห็นวิกฤติปรับให้เป็นโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นการพัฒนาสื่อการเรียนรู้และระบบจัดการเนื้อหาที่สามารถตอบสนองการศึกษายุค 4.0 และสอดคล้องกับคุณลักษณะของผู้เรียนในยุค Gen Z ซึ่งผู้เรียนอยู่ในยุคของการเรียนรู้อยู่ด้วยดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยี และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และกำกับการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก จึงนับเป็นโครงการต้นแบบในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่ จชต. อย่างต่อเนื่อง

    การดำเนินการในระยะต่อไป จะเป็นขยายผลให้โอกาสแก่นักเรียนที่สนใจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือทั่วประเทศเข้ามาใช้ระบบและสื่อการเรียนรู้ในระบบ http://e-smp.yru.ac.th ต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

โครงการ SMP-YRU ร่วมจัดนิทรรศการงานมหกรรมนวัตกรรมการจัดการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้




ในวันที่ 12 ก.ค.2560 โครงการ SMP - YRU ได้ร่วมจัดนิทรรศการในงานมหกรรมนวัตกรรมการจัดการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ "นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ คู่คุณธรรม นำสู่พัฒนาการศึกษา ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้" โดยมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมนวัตกรรมการจัดการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมี พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายบุญรักษ์ ยอดเพชร ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) เข้าร่วมพิธีเปิดงานในครั้งนี้ ณ อาคารกระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย กองพลทหารราบที่ 15 ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
โครงการ SMP-YRU ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้ร่วมมือกับโครงการ SMP ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ในการจัดนิทรรรศการในครั้งนี้ เพื่อแสดงผลงานของนักเรียนในโครงการ SMP ของทั้ง 3 มหาวิทยาลัย ซึ่งมีการดำเนินงานมาเป็นปีที่ 2 โดยได้รับการสนับสนุนจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญเป็นอย่างดีมาโดยตลอด


วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560

โรงเรียนเครือข่ายในโครงการ SMP เข้าร่วมพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการเครือข่ายการพัฒนาระบบการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วย Moodle

ดูภาพเพิ่มเติม
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560 เวลา 09.30 .  ห้องประชุมหลูหุ้ย อาคารบรรณราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยมีโรงเรียนเครือข่ายในโครงการ SMP จำนวน 6 โรงเรียน ดังนี้ (1) โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา (2) โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์บาลอ (3) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ  (4) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์ (5) โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา และ (6) โรงเรียนดำรงวิทยา เข้าร่วมพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการเครือข่ายการพัฒนาระบบการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยMoodle แก่โรงเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้