แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ นิเทศ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ นิเทศ แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ลงพื้นที่ติตตามนิเทศการเรียนการสอน โรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2563


        วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่โครงการ SMP ลงพื้นที่ติตตามนิเทศการเรียนการสอน พบปะผู้บริหาร ครูผู้สอน และเยี่ยมนักเรียนในโครงการ SMP ณ โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยาตำบล บ้านแหร อำเภอ ธารโต โรงเรียนคัมภีร์วิทยา ตำบล บันนังสตา อำเภอ บันนังสตา และโรงเรียนดำรงวิทยา ตำบล บันนังสตา อำเภอ บันนังสตา

        ในการติตตามนิเทศโรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP คณะกรรมการติดตามประเมินผล มีประเด็นนิเทศดังต่อไปนี้ นิเทศด้านสภาพแวดล้อมโครงการ SMP ในโรงเรียนได้มีการพบปะกับผู้บริหาร ครูผู้สอน พูดคุยแลกเปลี่ยนถึงปัญหาและอุปสรรค ข้อเสนอแนะ เรียนรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองและชุมชนเกี่ยวกับโครงการ SMP จากผู้บริหาร และสังเกตการเรียนการสอนของนักเรียนในโครงการ SMP

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ลงพื้นที่นิเทศติตตามผลการดำเนินงาน โครงการ SMP ประจำปี 2562


        ระหว่างวันที่ 18 - 19 กุมภาพันธ์ 2562 อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และเจ้าหน้าที่ โครงการ SMP ลงพื้นที่นิเทศติดตามผลการดำเนินงาน โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเครือข่ายพื้นที่จังหวัดยะลา ประจำปี 2562 ณ โรงเรียนดำรงวิทยา โรงเรียนคัมภีร์วิทยา โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ
        โรงเรียนในเครือข่ายโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP)  มีทั้งหมดจำนวน 9 โรงเรียน แบ่งเป็น เข้าร่วมโครงการปี พ.ศ. 2559 จำนวน 6 โรงเรียน โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา  โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา  โรงเรียนดำรงวิทยา มีนักเรียนจำนวน 3 รุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 และกำลังสอบคัดเลือกนักเรียนรุ่นที่ 4 เข้าร่วมโครงการ ปี พ.ศ. 2561 จำนวน 3 โรงเรียน โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา โรงเรียนประทีปวิทยา มีนักเรียนจำนวน 1 รุ่น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และกำลังสอบคัดเลือกนักเรียนรุ่นที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2562 มีนักเรียนในโครงการทั้งหมดมี จำนวน 782 คน
        จากผลการดำเนินงานด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาและโรงเรียนในเครือข่ายโครงการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนมีความสนใจเรียนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 พัฒนาครูผู้สอนและนักเรียน อย่างต่อเนื่อง พบว่านักเรียนรุ่นแรก จาก 6 โรงเรียน ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 238 คน ซึ่งกำลังเข้าศึกต่อในระดับอุดมศึกษา โดยยึดระบบ TCAS 5 รอบ รอบที่ 1 Portfolio (ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2561 - 3 กุมภาพันธ์ 2562) นักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คิดเป็นร้อยละ 14.71% นักเรียนเข้าศึกษาต่อ ด้านศิลปศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 0.84% นักเรียนคิดเป็นร้อยละ 84.45% กำลังเลือกที่เรียนเข้าสู่ระบบ TCAS 5 ในรอบถัดไป และระบบเอกชนทั่วไป ซึ่งรอบแรกมีสถิตินักเรียนเข้าศึกษต่อในมหาวิทยาลัย คณะ และสาขาวิชา ดังต่อไปนี้

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กรรมการควบคุมงานและตรวจจ้างติดตามการปรับปรุงห้องปฏิบัติการต้นแบบวิทย์-คณิต มรย.

1 สิงหาคม 2559 ประธานตรวจการจ้างและกรรมการควบคุมงานปรับปรุงห้องปฏิบัติการต้นแบบวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการต้นแบบคณิตศาสตร์สำหรับใช้ในการพัฒนาความรู้และทักษะครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โรงเรียนเครือข่ายในโครงการ SMP ซึ่งสร้างเป็นห้องต้นแบบ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (อาคาร 9) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งก้าวหน้าไปตามงวดงาน มีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2559 นี้ ซึ่งห้องปฏิบัติการทั้งสองห้องดังกล่าว จะสามารถใช้งานสนับสนุนการจัดอบรมปฏิบัติการ การฝึกปฏิบัติของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จำนวน 50 คน ที่จะเข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะการสอนปฏิบัติการ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการเรียนการสอนนักเรียนในโครงการ SMP ต่อไป


วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ลงพื้นที่ติดตามนิเทศโรงเรียนพัฒนาอิสลาม และโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์

ประชุมร่วมผู้บริหารโรงเรียนพัฒนาอิสลาม ต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา
วันที่ 24 พฤษภาคม 2559 เป็นอีกวันที่คณะกรรมการบริหารโครงการ อาจารย์นิเทศ เจ้าหน้าที่ และนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีกำหนดการลงพื้นที่โรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ โรงเรียนพัฒนาอิสลาม ต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา และโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์ ต.ปะแต อ.ยะลา จ.ยะลา ซึ่งเป็นอีก 2 โรงเรียนเครือข่าย จากจำนวนทั้งหมด 6 โรงเรียน
      สำหรับวัตถุประสงค์ของการพบปะแลกเปลี่ยนและติดตามนิเทศในครั้งนี้ นับเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการที่ต้องการศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนพิเศษ ประเภทห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญ "ห้องเรียนและโรงเรียนต้นแบบ" ด้านการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นการพัฒนาร่วมกันของเครือข่ายอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง ใช้กระบวนการวิจัยประเมินผลเป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินโครงการ
ทั้งนี้ โดยการพัฒนาร่วมกันด้วยการสร้างเครือข่าย MoU ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากับโรงเรียน และสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา โดยเป็นความร่วมมือตั้งแต่เริ่มพัฒนาโครงการ การปรับปรุงหลักสูตร การพัฒนาครูผู้สอนประจำโรงเรียน การพัฒนาห้องปฏิบัติการ การคัดเลือกผู้เรียน และการกำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ของโครงการที่เน้นทักษะการเรียนรู้โดยใช้ไอซีที การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องกับชีวิตจริง และที่สำคัญต้องการพัฒนาให้ห้องเรียนในโครงการ SMP เป็น
     สำหรับการเยี่ยมและนิเทศติดตามการดำเนินงานอีก 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ อ.เมือง จ.ยะลา และโรงเรียนมะอาหัดอิสลามิยะห์ ต.บารอ อ.รามัน จ.ยะลา จะได้นำบรรยากาศมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป

 

 

 

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

คณะกรรมการโครงการ SMP ลงพื้นที่โรงเรียนเครือข่ายติดตามนิเทศการดำเนินงาน

วันที่ 23 พฤษภาคม 2559 คณะกรรมการโครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เดินทางลงพื้นที่โรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ต.บ้านแหร อ.ธารโต และโรงเรียนดำรงวิทยา ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา ซึ่งเป็น 2 โรงเรียนขนาดกลาง จากทั้งหมด 6 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
   การติดตามนิเทศของคณะกรรมการครั้งนี้ นำทีมโดย ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วยคณาจารย์จากสาขาชีววิทยา สาขาฟิสิกส์ สาขาเคมี สาขาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการ บุคลากรจากกองนโยบายและแผน ซึ่งกำกับดูแลสิ่งก่อสร้างของ
มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดประชุมชี้แจงการเร่งดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ของโครงการและของโรงเรียน รวมทั้งการติดตามการปรับปรุงห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในพื้นที่ รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะจากผู้บริหารและหัวหน้าโครงการ และครูผู้สอนในโครงการ SMP ประจำโรงเรียน รวมทั้งพบปะกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เข้าร่วมโครงการ