แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ งานวิจัย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ งานวิจัย แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

นำเสนองานวิจัยโดยใช้โครงการ SMP-YRU เป็นฐานในงานประชุมวิชาการ INSCIC 2023 I

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 11.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงกา SMP-YRU ได้เข้าร่วมงาน ประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ครั้งที่ 8 และงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 1 (INSCIC2023) ซึ่งจัดขึ้น ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และคณะวิทยาการจัดการ ระหว่างวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2566  
      สำหรับงานประชุมวิชาการครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ได้ร่วมนำเสนอบทความวิจัย เรื่อง ารจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้างวิชาชีพในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ยะลา ซึ่งเป็นงานวิจัยที่บูรณาการการวิจัยกับการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือโครงการ SMP-YRU เป็นฐานวิจัย ซึ่งได้ดำเนินงานบริการในโครงการ SMP-YRU มาอย่างต่อเนื่อง 8 ปี ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน และมีโรงเรียนในเครือข่ายจำนวน 15 โรงเรียน ผลการนำเสนอเสนอ บทความได้รับรางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณ "รางวัลชนะเลิศ" การนำเสนอบทความประเภทบรรยาย "ด้านการศึกษาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"  ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้ ยังสามารถนำประเด็นปัญหาจากข้อเสนอแนะไปทำการวิจัยในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในเครือข่าย SMP-YRU ได้อย่างหลากหลายประ เด็น โดยเฉพาะการยกระดับให้เป็นห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ให้เป็นต้นแบบการจัดการศึกษาร่วมกันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

      

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

คณะทำงานประชุมเตรียมการเปิดห้องเรียนสาธิต PLC-SMP-YRU e-Learning

 วันที่ 1 กันยายน 2563 คณะทำงานพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การพัฒนาการเรียนรู้ในรูปแบบอีเลิร์นนิ่ง หรือ PLC-SMP-YRU e-Learning ในโครงการวิจัย   ตามแผนงานวิจัย แผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โดยการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้จากห้องเรียนสาธิต (OPEN CLASS) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร/หัวหน้าแผนงานวิจัย และเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยย่อย  โครงการวิจัยที่ 3 การจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (SMP-YRU)   ได้จัดกิจกรรมประชุมออนไลน์ เพื่อเตรียมการจัดกิจกรรมทดลองเปิดห้องเรียนสาธิต (Open Classroom) จัดการเรียนรู้ตามแผนจัดการเรียนรู้และรูปแบบจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง ในรายวิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลายในวันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2564 นี้



   ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแผนใน วันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2564 เวลา 09.00-11.00 น. ผ่านระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ด้วย Google Classroom, Google Meet, Google App for Education และ Kahoot Game Application และจะจัดกิจกรรมสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ผ่านการประชุมออนไลน์ใน เวลา 11.00-12.30 น. โดยจัดการเรียนรู้ครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้น ม. 4 โครงการ SMP-YRU โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ประมาณ 60 คน พร้อมเชิญผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญ และผู้สนใจเข้าร่วมสังเกตการจัดการเรียนรู้ออนไลน์พร้อมกัน    

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564

โครงการ SMP-YRU ต่อยอดลงนาม MoU กับแผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

 ในวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการ แผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โดยการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้จากห้องเรียนสาธิต (OPEN CLASS) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร/หัวหน้าแผนงานวิจัย และหัวหน้าโครงการวิจัยย่อย พร้อมด้วยคณะนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย ให้ดำเนินงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน SMP-YRU เป็นการต่อยอดโครงการด้วยการวิจัย จำนวน 3 โครงการย่อย จัดกิจกรรมร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ความร่วมมือกับผู้บริหาร/ผู้อำนวยการ/ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU

ในการดำเนินการวิจัยใน 3 โครงการวิจัย ตามแผนการวิจัยดังกล่าว ประกอบด้วยด้วยโครงการวิจัย ดังนี้ 

   1) โครงการวิจัยที่ 1 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  โดยมีอาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมีอาจารย์อลภา ทองไชย  อาจารย์ ดร.วารุณี หะยีมะสาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย

2) โครงการวิจัยที่ 2 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน โดยมี อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมี อาจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด และ อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย และอาจารย์พูรกอนนี สาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย 

    3) โครงการวิจัยที่ 3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี เป็นหัวหน้าโครงการ

ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากผลการวิจัยนี้ คาดว่าโรงเรียนในโครงการ SMP-YRU จะได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และสร้างเป็นชุมชนหรือสังคมแฟน่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC สามารถนำมาเป็นต้นแบบขยายผลไปยังเนื้อหา รายวิชาอื่น ๆ และโรงเรียนอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งโครงการวิจัยภายใต้แผนการวิจัย ดำเนินการโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างทีมนักวิจัยและผู้บริหาร ครู ดำเนินการวิจัยและพัฒนาไปพร้อมกันระหว่างมหาวิทยาลัย และโรงเรียนในโครงการห้องเรียน SMP-YRU นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่ จชต. ในจังหวัดยะลา โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษา 


วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564

การทดลองปฏิบัติการเคมี ม.4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ  ร่วมทดลองเรียนปฏิบัติการเคมี จำนวน 5 บท ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน ตามโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเวลาเรียนและทำการทดลองไม่เพียงพอในชั้นเรียนปกติ เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพื่อสร้างทักษะปฏิบัติการทดลองจากการเรียนรู้ด้วยสื่อคลิปวีดิทัศน์สาธิตขั้นตอนการทดลองและทำกิจกรรมในสภาพแวดล้อมของบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง ร่วมกับชั้นเรียนปกติ (Face-to-Face) ในห้องปฏิบัติการทดลอง เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี

      สำหรับเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง 5 บทปฏิบัติการ คณะครูผู้สอนในโครงการห้องเรียน SMP-YRU ร่วมกันตอบแบบสำรวจ เห็นว่าเนื้อหาบทปฏิบัติการที่สำคัญในระดับชั้น ม.4 รายวิชาปฏิบัติการเคมี จำนวน 10 บทเรียนที่ควรให้นักเรียนทดลองใน 1 ปีการศึกษา โดยใน 1 ภาคเรียนสำหรับการทดลองครั้งนี้ ได้คัดเลือกมาจำนวน 5 บทเรียนปฏิบัติการดังนี้


 

  • บทปฏิบัติการที่ 1 การทดลองวัดปริมาตรโดยใช้อุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ และการวัดมวลโดยใช้เครื่องชั่ง
  • บทปฏิบัติการที่ 2 การออกแบบและทดลองเปรียบเทียบความแม่นในการวัดปริมาตรน้ำด้วยกระบอกตวงที่มีขนาดต่างกัน
  • บทปฏิบัติการที่ 5 การทดลองการศึกษาเส้นสเปกตรัมของธาตุ
  • บทปฏิบัติการที่ 6 สีของสารประกอบ
  • บทปฏิบัติการที่ 7 การทดลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ
 
 
 
     
คาดว่าผลการวิจัยจะได้ต้นแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในรายวิชาอื่น ๆ เพื่อขยายผลไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ในโครงการ SMP-YRU ซึ่งได้มีการพัฒนาความพร้อมของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ เครื่องมือ วัสดุการทดลองไว้พร้อมแล้ว และที่สำคัญเป็นการสนับสนุนให้ทุกโรงเรียนในโครงการ ได้ใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อย่างคุ้มค่า เปิดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการทดลองได้ด้วยตนเอง