วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

คณะทำงานประชุมเตรียมการเปิดห้องเรียนสาธิต PLC-SMP-YRU e-Learning

 วันที่ 1 กันยายน 2563 คณะทำงานพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การพัฒนาการเรียนรู้ในรูปแบบอีเลิร์นนิ่ง หรือ PLC-SMP-YRU e-Learning ในโครงการวิจัย   ตามแผนงานวิจัย แผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โดยการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้จากห้องเรียนสาธิต (OPEN CLASS) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร/หัวหน้าแผนงานวิจัย และเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยย่อย  โครงการวิจัยที่ 3 การจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (SMP-YRU)   ได้จัดกิจกรรมประชุมออนไลน์ เพื่อเตรียมการจัดกิจกรรมทดลองเปิดห้องเรียนสาธิต (Open Classroom) จัดการเรียนรู้ตามแผนจัดการเรียนรู้และรูปแบบจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง ในรายวิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลายในวันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2564 นี้



   ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแผนใน วันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2564 เวลา 09.00-11.00 น. ผ่านระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ด้วย Google Classroom, Google Meet, Google App for Education และ Kahoot Game Application และจะจัดกิจกรรมสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ผ่านการประชุมออนไลน์ใน เวลา 11.00-12.30 น. โดยจัดการเรียนรู้ครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้น ม. 4 โครงการ SMP-YRU โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ประมาณ 60 คน พร้อมเชิญผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญ และผู้สนใจเข้าร่วมสังเกตการจัดการเรียนรู้ออนไลน์พร้อมกัน    

   และจะได้นำผลการจัดกิจกรรมและผลการวิจัยมาเผยแพร่ต่อไป คาดว่าจะมีผลการวิจัยที่สามารถนำไปขยายผลต่อได้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 ในขณะนี้ เนื่องจากรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง จะเป็นรูปแบบที่สำคัญ ที่ครูผู้สอนจะต้องมีทักษะความเชี่ยวชาญในการเขียนแผนจัดการการเรียรู้ มีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือ หรือรูปแบบ (Platform) ที่จะนำมาจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง เพื่อให้จัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลต่อไป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น