วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ปฏิบัติราชการแทน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานพิธีเปิดห้องเรียนพิเศษ

 


        วันที่ 31 ตุลาคม 2563 ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ปฏิบัติราชการแทน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานพิธีเปิดห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ Science Mathematics Program (SMP YU) โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ โดยมี ผู้อำนวยการโรงเรียน นักเรียน SMP ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการโครงการ SMP เข้าร่วมในพิธีเปิดเรียนครั้งนี้ด้วย โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP YRU) ได้ดำเนินการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ประจำโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดยะลา อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2599 -จนถึงปัจจุบัน มีโรงเรียนในเครือข่าย ทั้งหมด 12 โรงเรียน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 มีการขยายโรงเรียนเครือข่ายเพิ่มอีก 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ โรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา และ โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ โดยเฉพาะการพัฒนานักเรียนเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อรองรับอาชีพ ซึ่งการเปิดห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ Science Mathematics Program (SMP YU) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากับ โรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2 และโรงเรียนใกล้เคียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนเยาวชน และชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโรงเรียนในเมือง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาสร้างความเสมอภาคในการเรียนรู้

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทปฏิบัติการ เรื่อง องค์ประกอบของสารละลาย โรงเรียนดำรงวิทยา

วันที่ 28 ตุลาคม 2563 เวลา 13.00 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง องค์ประกอบของของสารละลาย ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้เตรียมอุปกรณ์ และเป็นผู้ควบคุมในการทดลอง

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ประชุมเชิงปฏบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP YRU ในโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาพื้นที่จังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ 2564


           ประชุมเชิงปฏบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP YRU ในโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาพื้นที่จังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 1/2563 วันจันทร์ ที่ 26 ตุลาคม 2563 เวลา 09.30-12.00 น. ณ ห้องประชุมหลูหุ้ย ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อชีแจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ SMP YRU และแผนการพัฒนาส่งเสริมกิจกรรมให้กับคุณครู นักเรียนในโครงการ SMP YRU เป็นไปอย่างต่อเนื่องและยันยืนในปีงบประมาณ 2564 โดยมี  ดร.ศิริชัย  นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลิลลา  อดุลยศาสน์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ผู้บริหาร คุณครูหรือหัวหน้าโครงการ จากทั้งหมด 12 โรงเรียนเครือข่าย 12 ทีมพัฒนาสื่อการเรียนการสอน (ออนไลน์) และเจ้าหน้าที่ประจำโครงการ SMP YRU มีรายละเอียด ดังนี้

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทปฏิบัติการเคมี เรื่อง การเตรียมสารละลาย และการหาจุดเดือดจุดหลอมเหลว โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา

     เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 เวลา 13. 40 - 15.15 น ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ได้จัดทำการเรียนสอนภาคปฏิบัตการในรายวิชาเคมี เรื่อง การเตรียมสารละลาย และการหาจุดเดือดจุดหลอมเหลวของสารละลายมาตราฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีอาจารย์อิลฮาม อับดุลเลาะ อาจารย์ประจำวิลาเคมี และมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเตรียมสารเคมีและอำนวยความสะดวกในกาารใช้บริการห้องปฏิบัติการ

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2563

อบรมการใช้งาน Arduino และ NodeMCU ESP8266 ให้กับนักเรียนในโครงการ SMP - YRU โรงเรียนดำรงวิทยา


ระหว่างวันที่ 17 – 18 ตุลาคม 2563 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (25 - 304) อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ฝ่ายวิชาการ หมวดเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนดำรงวิทยา ได้จัดกิจกรรมอบรมการใช้งาน Arduino และ NodeMCU ESP8266 ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เฉพาะนักเรียนที่ทำโครงงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 35 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมให้นักเรียนสร้างสรรค์นวัตกรรม และนำไปต่อยอดในการทำโครงงาน โดยมีนายสริกีร์ เอียดตรง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มาเป็นวิทยากรในการอบรมในครั้งนี้

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทปฏิบัติการ เรื่อง การทดสอบความเป็นกรด เบสของสารละลาย

       เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563  เวลา 13.00 – 14.25 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ นางสาวฮามีด๊ะ ยะโต๊ะ ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการ เรื่อง การทดสอบความเป็นกรด เบส ของสารละลาย ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3-4 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นผู้ช่วยในการสอนปฏิบัติการ

แลปปฏิบัติการชีววิทยาเรื่อง การทดสอบแป้ง น้ำตาล โปรตีน และไขมัน

     เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 เวลา 9.40 -11 .30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาชีววิทยา เรื่อง สารประกอบคาร์บอนในสิ่งมีชีวิต ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP  โดยมีอาจารซูไฮตี สาแม อาจารย์ผู้สอนรายวิชาชีววิทยา และมีนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนคอยอำนวยความสะดวกตลอดการปฏิบัติการ

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทปฏิบัติการเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาการเกิดเอสเทอร์

    เมื่อวันที่ 12 เดือนตุลาคม 2563 เวลา 12.00 - 13.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาการเกิดเอสเทอร์ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีอาจารย์ซารีฟะห์ ยามิน เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วัตถุประสงค์
1.ทดสอบปฏิกิริยาเคมีระหว่างกรดคาร์บอกซิลิกกับแอลกอฮอลล์
2.ทดสอบปฏิกิริยาย้อนกลับของการเกิดเอสเทอร์ในภาวะกรด

ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง สารสีและการดูดกลืนแสงของสารสี

            วันที่ 15 ตุลาคม 2563 เวลา 10.25-11.25 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง สารสีและการดูดกลืนแสงของสารสี  โดยมีอาจารย์อามีเน๊าะ  สะแต เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีววิทยา และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ

บทปฏิบัติการ เรื่อง การจัดเรียงอะตอมของคาร์บอนในสารประกอบอินทรีย์

 


เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 เวลา 10.40-12.10 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP) โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 (SMP) เรื่อง การจัดเรียงอะตอมของคาร์บอนในสารประกอบอินทรีย์ โดยมีอาจารย์รอซาดา มะลี ครูผู้สอนรายวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ

จุดประสงค์ของกิจกรรม

1.ต่อแบบจำลองแสดงโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์แบบต่างๆตามจำนวนอะตอมของคาร์บอนและไฮโดรเจนที่กำหนดให้

2.เขียนสูตรโครงสร้างของแต่ละไอโซเมอร์และระบุจำนวนไอโซเมอร์

3.อธิบายผลของการจัดเรียงอะตอมของคาร์บอนต่อโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดสอบปฏิกิริยาของไอร์ออน (III) ไอออน (Fe 3+) และไอร์ออน (II) ไอออน (Fe 2+)

       


                  วันที่ 14 ตุลาคม 2563 เวลา 11.05-12.25 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การทดสอบปฏิกิริยาของไอร์ออน (III) ไอออน (Fe 3+) และไอร์ออน (II) ไอออน (Fe 2+) โดยมีอาจารย์คอลิด  หะยีมูหิ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมี และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง การศึกษาอุณหภูมิกับการรักษาดุลยภาพของปลา

    เมื่อวันที่ 7 เดือนตุลาคม 2563 เวลา 17.00 - 20.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาชีวิทยา เรื่อง การศึกษาอุณหภูมิกับการรักษาดุลยภาพของปลา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีอาจารย์สุไวบะ บือราเฮง เป็นอาจารย์ประจำวิชาชีววิทยา 

วัตถุประสงค์
- ออกแบบและดำเนินการทดลองเพื่อแสดงว่าอุณหภูมิมีผลต่อการรักษาดุลยภาพของปลา

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563

อบรมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา

      เมื่อวันพุธที่ 8 ตุลาคม 2563 เวลา 13.00 - 15.30 น. เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการประจำโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ได้จัดกิจกรรมอบรมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

     ห้องปฏบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษSMP มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์และอุปกรณ์ที่ทันสมัยได้แก่ กล้องจุลทรรศ์ เครื่องชั่งสาร เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ ตู้ดูดควัน เครื่องมือทางฟิสิกส์ เป็นต้น

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

      วันที่ 7 ตุลาคม 2563 เวลา 11.05-12.25 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้น    มัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การทดลองศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยมีอาจารย์คอลิด  หะยีมูหิ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี


            เมื่อวันที่ 5 เดือนตุลาคม 2563 เวลา 16.30 - 18.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง การทดลองศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีอาจารย์
นูรมา สะบือลา เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วัตถุประสงค์
1. ทดลองเพื่อศึกษาผลของความเข้นข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิต่อต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
2. อธิบายผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองศึกษาการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก

       เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 11.05-12.25 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้น    มัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การทดลองศึกษาการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก โดยมีอาจารย์คอลิบ  หะยีมูหิ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ

โครงสร้างภายในของราก





        เมื่อวันที่​ 4 ตุลาคม 2563 เวลา11.05-12.25 น.ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP) อาคารลุตฟีย์ ชั้น 4 โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง โครงสร้างภายในราก โดยมีอาจารย์อาแอเสาะ เจะหวันเป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีวะวิทยา

การทดลองศึกษาการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก

       วันที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 15.00 – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวกอรีเย๊าะ มะนาฮา ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมีเรื่อง การเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก ให้กับนักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นผู้ช่วยในการสอนปฏิบัติการ

กิจกรรมการทดลองผลของความเข้มข้นของสารต่อสมดุล

    


      เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 14.20 - 15.50 น.ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP)โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) คุณครูผู้สอนนางสาวสุไวบ๊ะ สาเม๊าะ และนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียน เรื่องการทดลองผลของความเข้มข้นของสารต่อสมดุล
จุดประสงค์การทดลอง
1.ทำการทดลองเพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของสารต่อสมดุล

2.อธิบายการเปลี่ยนแปลงสมดุล เมื่อมีการเพิ่มหรือลดความเข้มข้นของสารตั้งต้นหรือผลิตภัณฑ์

ผลการทดลอง

หลอดที่

สารที่เติม

การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้

หลังเติมสาร

วางไว้ 1 นาที

1

น้ำกลั่น

สารละลายเปลี่ยนสีจากม่วงเป็นสีม่วงน้ำเงิน

สารละลายมีสีม่วงน้ำเงิน

2

HCl

สารละลายเปลี่ยนสีจากม่วงเป็นสีม่วงน้ำเงิน

สารละลายมีสีม่วงแดง

3

NaOH

สารละลายเปลี่ยนสีจากม่วงเป็นสีน้ำเงิน

สารละลายมีสีน้ำเงิน

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563

กิจกรรม "สัมมนาโครงงานวิทยาศาสตร์ "

      เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2563 เวลา 08:30 น.-16:30 น. ณ ห้องประชุม โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้จัด กิจกรรม "สัมมนาโครงงานวิทยาศาสตร์ " โดยนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมปีที่ 6 นักเรียนรุ่นที่ 3 ในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP เพื่อให้นักเรียนได้แสดงผลงานและนำเสนอโครงงานของแต่ล่ะกลุ่มที่ได้ดำเนินการมา และได้ฝึกประสบการณ์การนำเสนอ  โดยในกิจกรรมมีนักเรียน SMP ชั้นมัธยมปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้าร่วมรับฟังในการนำเสนอในครั้งนี้ด้วย เพื่อเป็นการเรียนรู้และตัวอย่างในการดำเนินการทำโครงงานให้กับนักเรียนรุ่นต่อไป