วันที่ 14 กันยายน 2563 เวลา 11.05-12.25 น ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาของโลหะกับน้ำ โดยมีอาจารย์วนิดา เหาะแอเป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมี
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์ แสดงบทความทั้งหมด
วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563
วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง การกลั่นแบบธรรมดา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนดำรงวิทยา
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 เวลา 13.40 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง การกลั่นแบบธรรมดา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์
การกลั่น (Distilation) คือ กระบวนการแยกสารละลายที่เป็นของเหลวหรือทำสารให้บริสุทธิ์ (Purification)
จากสารละลายผสม โดยการให้ความร้อนที่อุณหภูมิต่าง
ๆ กัน เพื่อทำให้สารละลายหรือตัวทำลายหนึ่งระเหยกลายเป็นไอ
จากนั้นไอจะเกิดการเคลื่อนที่ผ่านเครื่องควบแน่น (Condenser) ที่อุณหภูมิต่ำ จึงเกิดการควบแน่นกลับเป็นของเหลวอีกครั้งในภาชนะอื่น
การกลั่น เป็นกระบวนการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตน้ำมัน (Gasoline)
และน้ำมันเชื้อเพลิง (Kerosene), การผลิตน้ำกลั่น,
การแยกตัวทำละลายอินทรีย์ ฯลฯ
วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ปฏิบัติการ เรื่อง ความเข้มข้นของน้ำตาลในน้ำสับปะรดมีผลต่อการสลายน้ำตาลของยีสต์
➽วันที่ 24 สิงหาคม 2563 เวลา 14.45 - 16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการห้องเรียนพิเศษSMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาชีววิทยาเรื่อง ความเข้มข้นของน้ำตาลในน้ำสับปะรดมีผลต่อการสลายน้ำตาลของยีสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี่ 4/1 (SMP) โดยมีอาจารย์อามานี วอลีมาแย เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีววิทยา
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
กิจกรรม การสร้างแบบจำลองหินหนืด ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา
วันที่
25
พฤศจิกายน 2562 เวลา 13.00 – 13.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา
นางสาวสุไรดา กูวิง ครูผู้สอนรายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ ได้ทำกิจกรรมเรื่อง
การสร้างแบบจำลองหินหนืด ให้แก่นักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นผู้ช่วยในการทำกิจกรรมในครั้งนี้
วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ปฏิบัติการรายวิชาชีววิทยา เรื่อง ทักษะการใช้กล้องจุลทรรศน์และการศึกษาสิ่งมีชีวิตในน้ำ
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 เวลา 13.00 - 14.10 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาชีววิทยา เรื่อง ทักษะการใช้กล้องจุลทรรศน์และการศึกษาสิ่งมีชีวิตในน้ำ ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โดยมีอาจารย์อุหมาด เดชอรัญ เป็นอาจารย์ประจำวิชาชีววืทยา
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
กิจกรรม ความร้อน-ความเย็นทำให้หินเปลี่ยนแปลง
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 และ ม2/2 ได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบบุรณาร่วมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความร้อน-ความเย็นทำให้หินเปลี่ยนแปลง โดยมีอาจารย์คอรีนา กูดู อาจารย์ผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ และควบคุมการทดลองโดยนักวิทยาศาสตร์
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561
การจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง สร้างชุดทดลองอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย
วันที่ 20
ธันวาคม 2561 เวลา 13.00 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นักเรียน SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการฟิสิกส์
เรื่อง สร้างชุดทดลองอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย โดยมีอาจารย์นิฮามูนี
นิกาจิ เป็นผู้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ
วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561
การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับชีวิตประจำวัน “การทำเทียนไขสมุนไพรไล่ยุง”
เมื่อวันที่ 19
ธันวาคม 2561 เวลา 15.30 – 16.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา
ได้มีการใช้บริการในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์
เพื่อทดลองการทำเทียนไขสมุนไพรไล่ยุง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีอาจารย์กอรีเย๊าะ มะนาฮา เป็นผู้สอนและนักวิทยาศาสตร์ผู้ช่วย
ในวันนี้ได้มีการบูรณาการรายวิชาวิทยาศาสตร์
เรื่องความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร โดยให้นักเรียนทำเทียนไขสมุนไพรไล่ยุง
ซึ่งนักเรียนจะได้รู้จักสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ขั้นตอนการทำ
พลังงานที่ใช้การทำเทียน ของเสียที่เกิดขึ้นจากการทำเทียน ตลอดจนสมบัติของเทียน
(การหลอมเทียน การ ละลายของสีในเทียน)
วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ประชาสัมพันธ์หลักสูตร และกิจกรรมทดลองทางด้านจุลชีววิทยา แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา
วันที่ 6 ธันวาคม 2561 เวลา 11.00 – 13.00 น. ณ
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ทางหลักสูตรวิทยาศาสตรบันฑิต สาขาจุลชีววิทยา
คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำโดยอาจารย์นุรอัยนี หะยียูโซะ
อาจารย์พูรกอนนี สาและ และตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรจุลชีววิทยาเข้ามาประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมการทดลองทางด้านจุลชีววิทยา
ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการทดลอง เรื่องการย่อยแป้ง
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561
เวลา 15.00 – 16.30 น. ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ได้มีการใช้งานเพื่อทดลอง เรื่อง การย่อยแป้ง
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีอาจารย์นิฮามูนี
นิกาจิ เป็นอาจารย์ผู้สอน และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลบปฏิบัติการ
วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการทดลองเรื่อง ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับสารละลายของโลหะไอออน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.00 – 16.30 น. ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา
ได้มีการใช้เพื่อจัดการเรียนการสอนรายปฏิบัติการเคมี
เรื่อง ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับสารละลายของโลหะไอออน นักเรียนในโครงการ
SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีอาจารย์กอรีเย๊าะ มะนาฮา เป็นอาจารย์ผู้สอน และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลบปฏิบัติการ
วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
คณะวิทย์ มรย.แนะแนวหลักสูตร แนวทางการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 เวลา 14.30 – 16.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา
ทีมงานคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีคณะอาจารย์จากหลักสูตรต่าง
ๆ และบุคลากรจากคณะวิทยาศาสตร์ ฯ ได้ลงพื้นที่แนะแนวหลักสูตร เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในหลักสูตรต่าง ๆ ในคณะวิทยาศาสตร์
อาทิเช่น หลักสูตรฟิสิกส์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน เคมี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาการธุรกิจสุขภาพ เกษตรศาสตร์ สัตวศาสตร์ เป็นต้น
วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ฝึกทักษะการใช้กล้องจุลทรรศน์อย่างถูกวิธี แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดำรงวิทยา
วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561
การเรียนปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสารจากส่วนต่างๆ ของพืช นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วันที่ 30 ตุลาคม 2561 เวลา 13.40 – 15.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 26 คน ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลอง เรื่อง การแยกสารจากส่วนต่างๆ ของพืช โดยมี อาจารย์อับดุลเลาะ ลีลาตานา เป็นผู้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลป
วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการเรื่อง การวัดค่าดูดกลืนแสงของพืช โดยใช้เครื่อง Spectrophotometer
เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นักเรียน SMP ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ได้เรียนแลปปฏิบัติการเสริมช่วงปิดภาคเรียน
โดยมีทีมงานนักวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP มาร่วมให้ความรู้และช่วยสอนแลปปฏิบัติการเรื่อง
การวัดค่าดูดกลืนแสงของพืช โดยใช้เครื่อง Spectrophotometer ซึ่งจากกการทดลองในวันนี้นักเรียนให้ความสนใจ
มีความตั้งใจในทดลอง ทำให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการทดลองได้
นักเรียนสามารถสกัดพืชและวัดค่าดูดกลืนแสงโดยใช้ เครื่อง Spectrophotometer และสามารถเปรียบเทียบ
ความสามารถในการดูดกลื่นแสงของสารสีชนิดต่างๆได้
วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561
แลปปฏิบัติการเรื่อง การวัดค่าดูดกลืนแสงของพืช โดยใช้เครื่อง Spectrometer
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561
แลปปฏิบัติการเรื่อง การสกัดดีเอ็นเออย่างง่าย
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 เรียนแลปปฏิบัติการเรื่อง การสกัดดีเออย่างง่าย จากผักผลไม้ด้วยวิธีอย่างง่าย โดยใช้น้ำยาล้างจาน เกลือแกง และแอลกอฮอล์ อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์และควบคุมการทดลองโดยนักวิทยาศาสตร์
วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการวิชาชีววิทยา เรื่อง การศึกษาสิ่งมีชีวิตและพืชโดยกล้องจุลทรรศน์
⏩วันที่ 29 สิงหาคม 2561 เวลา 10.25-11.45 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี 4/1 (SMP) เรื่อง การศึกษาสิ่งมีชีวิตและพืชโดยกล้องจุลทรรศน์ โดยมีอาจารย์อามานี วอลีมาแย เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีววิทยาและมีนักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ช่วยแลปการปฏิบัติการ ทำการทดลองกับนักเรียน
⏩ กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและรายละเอียดโครงสร้างของเซลล์ ที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยขยายศักยภาพทางด้านการมองเห็น โดยกล้องจุลทรรศน์จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง (Iight microscope) และกล้องจุลทรรศน์ (electron microscope) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยในปฏิบัติการครั้งนี้จะใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง
วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการ ชีววิทยา เรื่อง ศึกษาระบบหมุนเวียนโลหิตของมนุษย์และหัวใจไก่
วันที่ 7 สิงหาคม 2561 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ใช้ห้องปฏิบัติการ เพื่อทดลองศึกษาระบบหมุนเวียนโลหิตของมนุษย์และหัวใจไก่
ระบบไหลเวียน (Circulatory system)
ระบบไหลเวียนนี้ประกอบด้วยทางเดินของโลหิตและนํ้าเหลือง การไหลเวียนของโลหิต เป็นระบบปิดและมีความกดดัน 90-180 มิลลิเมตร ส่วนการไหลเวียนของนํ้าเหลืองนั้นเปิดไปสู่ส่วนต่าง ๆ มากแห่งกว่า แต่มีความดันเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย การไหลเวียนของโลหิตเป็นกรรมวิธีสำหรับนำอาหารที่ย่อยแล้ว รวมทั้งกากหรือของเสีย ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ นํ้า ตลอดจนฮอร์โมนต่าง ๆ เข้าและออกจากเซลล์ของร่างกาย กระแสโลหิตที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกายนี้ยังช่วยรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย ควบคุมภาวะความเป็นกรดด่าง และต่อสู้ ป้องกันเชื้อโรคที่แปลกปลอมเข้าไป การไหลเวียนของนํ้าเหลืองช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นสื่อแลกเปลี่ยนอาหารกับของเสียระหว่างปลายท่อโลหิตฝอยกับเซลล์ของร่างกาย และยังเป็นตัวพาไขมันไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอีกด้วย

ระบบไหลเวียน (Circulatory system)
ระบบไหลเวียนนี้ประกอบด้วยทางเดินของโลหิตและนํ้าเหลือง การไหลเวียนของโลหิต เป็นระบบปิดและมีความกดดัน 90-180 มิลลิเมตร ส่วนการไหลเวียนของนํ้าเหลืองนั้นเปิดไปสู่ส่วนต่าง ๆ มากแห่งกว่า แต่มีความดันเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย การไหลเวียนของโลหิตเป็นกรรมวิธีสำหรับนำอาหารที่ย่อยแล้ว รวมทั้งกากหรือของเสีย ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ นํ้า ตลอดจนฮอร์โมนต่าง ๆ เข้าและออกจากเซลล์ของร่างกาย กระแสโลหิตที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกายนี้ยังช่วยรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย ควบคุมภาวะความเป็นกรดด่าง และต่อสู้ ป้องกันเชื้อโรคที่แปลกปลอมเข้าไป การไหลเวียนของนํ้าเหลืองช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นสื่อแลกเปลี่ยนอาหารกับของเสียระหว่างปลายท่อโลหิตฝอยกับเซลล์ของร่างกาย และยังเป็นตัวพาไขมันไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอีกด้วย
วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561
นักเรียน SMP เรียนปฏิบัติการเคมี เรื่องปฏิกิริยาเคมี ระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก
เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๕.๐๐
– ๑๖.๑๐ น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นักเรียน SMP ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๕ ได้เรียนปฏิบัติการเคมี เรื่องปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก เพื่อทดลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก
โดยมีอาจารย์ กอรีเยาะห์ มะนาฮา ผู้สอน
และมีนักวิทยาศาสตร์ผู้ช่วยแลบปฏิบัติการ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)