วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

กิจกรรม การสร้างแบบจำลองหินหนืด ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา



          วันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 เวลา 13.00 – 13.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา นางสาวสุไรดา กูวิง ครูผู้สอนรายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ ได้ทำกิจกรรมเรื่อง การสร้างแบบจำลองหินหนืด ให้แก่นักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นผู้ช่วยในการทำกิจกรรมในครั้งนี้

กระบวนการแทรกดันของหินหนืด แล้วเย็นตัวลงได้เป็นหินอัคนี เมื่อเกิดกระบวนการผุพังทำลายพาไปทับถมได้เป็นหินชั้น และเมื่อผ่านกระบวนการของความร้อนและความดันจะกลายเป็นหินแปร
รูปภาพจาก https://www.thaigreenagro.com/
         หินหนืด เกิดจากหินแข็งที่หลอมเหลวด้วยอุณหภูมิที่สูงมาก ๆ รวมตัวกันอยู่บริเวณแหล่งกักหินหนืดภายในโลก หินหนืดไม่ใช่หินหลอมเหลวเพียงอย่างเดียว แต่จะมีส่วนผสมของแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย ซึ่งจะทำให้เกิดลาวาหลากที่มีความแตกต่างกัน หินหนืดประกอบด้วยแก๊ส ตัวอย่างเช่น ไอน้ำ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ คาร์บอนไดออกไซด์ และไฮโดรคลอริก เราสามารถได้กลิ่นแก๊สเหล่านี้บริเวณโดยรอบปากปล่องภูเขาไฟและน้ำพุร้อน เนื่องจากแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์มีกลิ่นคล้ายกับไข่เน่า


จุดประสงค์ของกิจกรรม
      สร้างแบบจำลองและอธิบายลักษณะของหินหนืดได้

ประเด็นปัญหาของกิจกรรม
      หินหนืดมีลักษณะสำคัญอย่างไร

วิธีการทดลอง
           ๑. ใส่แป้งข้าวโพด 15 กรัม ลงในบีกเกอร์ใบที่ 1 และรินน้ำประมาณ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในบีกเกอร์ใบที่ 2
                   2.  ใช้หลอดหยดดูดน้ำจากกบีกเกอร์ใบที่ 2 หยดลงในบีกเกอร์ที่บรรจุแป้งข้าวโพดทีละหยด แล้วใช้แท่งแก้วคนแป้งข้าวโพดเรื่อย ๆ จนกระทั่งแท่งแก้วคนส่วนผสมได้ยากขึ้น จึงหยุดใส่น้ำ
                    3. ทดลองเทของผสมในบีกเกอร์ลงบนฝ่ามือ แล้วนำของผสมนี้มาปั้นให้เป็นลูกกลม เสร็จแล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วทดลองใช้มือกดดู บันทึกผลที่สังเกตได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น