วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ปฏิบัติการชีววิทยาเรื่อง การศึกษาทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา



เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 เวลา 13.40 – 15.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา นางสาวนูรอัยนี มะฉุ ครูผู้สอนรายวิชาชีววิทยา ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยาเรื่อง ศึกษาทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน (Digestive system of earthworm) ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1
รูปภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/


ไส้เดือนดิน หรือไส้เดือน หรือรากดิน (อังกฤษ : earthworm) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมแอนเนลิดา ในอันดับย่อย Lumbricina มีลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้อง พบได้ทั่วไปในดิน ใต้กองใบไม้ หรือใต้มูลสัตว์ เป็นสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน มีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ

ไส้เดือนดิน มีระบบทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ คือ ประกอบไปด้วย ปาก (mouth) -> คอหอย (phaynx) -> หลอดอาหาร (esophagus) -> กระเพาะพักอาหาร (crop) -> กึ๋น (gizzard) -> ลำไส้ (intestine) -> ทวาร (anus)
รูปภาพจาก https://web.facebook.com/PageBioteacher/photos/ms.c.eJw


1. ปาก (mouth) อยู่บริเวณปล้องแรกสุด มีริมฝีปาก 3 พู ใช้ขุดดินและช่วยในการเคลื่อนที่
2. คอหอย (phaynx) อยู่บริเวณปล้องที่ 4-6 ลักษณะพองออกเล็กน้อย มีกล้ามเนื้อหนา แข็งแรง ช่วยในการกลืนอาหารให้อาหารผ่านเข้าสู่กระเพาะพักอาหารได้
3. หลอดอาหาร (esophagus) อยู่บริเวณปล้องที่ 6-12 ลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กกว่าคอหอย เป็นทางผ่านของอาหาร
4. กระเพาะพักอาหาร (crop) อยู่บริเวณปล้องที่ 12-16 ลักษณะเป็นถุงผนังบาง
5. กึ๋น (gizzard) ประกอบด้วยผนังกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมาก ทำหน้าที่บดอาหารให้มี ขนาดเล็กลง
6. ลำไส้ (intestine) เป็นทางเดินอาหารที่ยาวที่สุด เซลล์ที่บุผนังลำไส้จะปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร อาหารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย
7. ทวารหนัก (anus) เป็นช่องเปิดปลายสุด ทำหน้าที่ขับถ่ายกากอาหารออกนอกร่างกาย

วัตถุประสงค์ของการทดลอง
เพื่อศึกษาทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน
วัสดุอุปกรณ์
1. เครื่องมือผ่าตัด
2. ตัวอย่างไส้เดือนดิน

ภาพบรรยากาศการเรียนการสอน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น