ในการประชุมคณะกรรมการโครงการ SMP ร่วมวางแผนแนวทางการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2563 มีการเพิ่มจำนวนโรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP จำนวน 3 โรงเรียน จากเดิมจำนวน 9 โรงเรียน ได้แก่ (1)โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา (2)โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ (3)โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ (4)โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ (4)โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา (6)โรงเรียนดำรงวิทยา (7)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ (8)โรงเรียนคัมภีร์วิทยา (9)โรงเรียนประทีปวิทยา รวมทั้งสิ้นในปีงบประมาณ 2563 มีโรงเรียในเครือข่ายโครงการ SMP จำนวน 12 โรงเรียน ซึ่ง 3 โรงเรียนใหม่ อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสนใจเรียนต่อระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์และที่เกี่ยวข้องอีกทั้งเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความมั่นคงเสริมสร้างโอกาสให้กับนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีคุณภาพทางการศึกษาที่ดียิ่งขึ้น
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กิจกรรมประชุม แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กิจกรรมประชุม แสดงบทความทั้งหมด
วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2563
ในการประชุมคณะกรรมการโครงการ SMP ร่วมวางแผนแนวทางการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2563 มีการเพิ่มจำนวนโรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP จำนวน 3 โรงเรียน จากเดิมจำนวน 9 โรงเรียน ได้แก่ (1)โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา (2)โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ (3)โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ (4)โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ (4)โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา (6)โรงเรียนดำรงวิทยา (7)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ (8)โรงเรียนคัมภีร์วิทยา (9)โรงเรียนประทีปวิทยา รวมทั้งสิ้นในปีงบประมาณ 2563 มีโรงเรียในเครือข่ายโครงการ SMP จำนวน 12 โรงเรียน ซึ่ง 3 โรงเรียนใหม่ อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสนใจเรียนต่อระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์และที่เกี่ยวข้องอีกทั้งเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความมั่นคงเสริมสร้างโอกาสให้กับนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีคุณภาพทางการศึกษาที่ดียิ่งขึ้น
วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
การประชุมปฏิบัติการติดตามผลการดำเนินงานโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2561 ครั้งที่ 5/2561
วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561
ประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนหลักสูตรโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2561
วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561 เวลา 14.00 น โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนหลักสูตรโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2561 ตั้งแต่วันที่ 21- 23 มกราคม 2561 ณ โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท ตำบลเชียงเกาะ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยมี ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนหลักสูตรโครงการ SMP กล่าวรายงาน โดย อาจารย์ปฏิพัทธ์ ชุมเกศ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางในการดำเนินงานโครงการ SMP
วันที่ 20 ธันวาคม 2560 เวลา 13.00 – 16.30 น. โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางในการดำเนินงานโครงการ SMP ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายจำนวน 9 โรงเรียน ประจำปีงบประมาณ 2561 ณ ห้องประชุมหลู่หุ้ย ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อาจารย์นุชนาถ เต็มดี อาจารย์สาขาคณิตศาสตร์ แจ้งให้ทราบ ถึงทิศทางการดำเนินงานโครงการ SMP นอกจากนี้ยังได้มีการแนะนำผู้บริหาร คณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP แจ้งถึงกำหนดการกิจกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และได้มีการแจ้งถึงการปรับกิจกรรมเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและโรงเรียนในโครงการตามข้อเสนอแนะจากสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ยังได้พูดถึงเรื่องกิจกรรมที่ผ่านของโครงการ SMP และการเสนอมาตรการในการวัดระดับนักเรียนในโครงการ SMP โดยให้มีผลคะแนนอิงเกรด 20% จาก 80% ของเกรดในรายวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ ซึ่งในที่ประชุมเห็นชอบให้ใช้มาตรการ 20:80 ของคะแนน เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นความสำคัญของโครงการ SMP และได้มีการแบ่งกลุ่มในภาควิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ เพื่อหารือถึงเรื่องกิจกรรมการบริการ วิชาการและการนิเทศ รวมถึงยังได้พูดคุยแลกเปลี่ยน แนวทางการแก้ไขปัญหาของรูปแบบการเรียนการสอนที่ผ่านมา และยังได้ร่วมกันออกแบบกิจกรรมที่จะจัดขึ้นร่วมกันระหว่างโครงการ SMP กับโรงเรียนในเครือข่าย
วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดสัมมนาปฏิบัติการ
ระหว่างวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2560 โครงการห้องเรียน SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมประชุมสัมมนาปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือ Science Mathematics Program: SMP ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ซึ่งได้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 2 ณ โรงแรมการ์เด็นวิว อ.เบตง จ.ยะลา โดยมีคณะผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองจากโรงเรียนเครือข่าย 6 โรงเรียน รวมทั้งผู้บริหารและคณาจารย์กรรมการโครงการและเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ประจำโครงการ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รวมทั้งผู้แทนจากสำนักงานการศึกษาเอกชน (สช.) จังหวัดยะลา รวมจำนวน 60 คน ทั้งนี้ เพื่อประเมินความสำเร็จของโครงการ และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Steakholder) กับโครงการ ทั้งนี้ โดยมีอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีผู้กำกับโครงการให้เกียรติเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นประธานเปิดกิจกรรมและอยู่ร่วมกิจกรรมตลอดทั้ง 2 วัน
กิจกรรมสำคัญที่ดำเนินการในช่วง 2 วันนี้ ได้แก่ การนำเสนอผลการดำเนินงานของแต่ละโรงเรียน การนำเสนอผลงานจากโครงการ SMP โดยนักเรียน การจัดกิจกรรมสนทนากลุ่ม (Focus Group) ของผู้เข้าร่วมสัมมนาแต่ละกลุ่ม และการประชุมเพื่อเตรียมดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
จากการนำเสนอผลการดำเนินงานของแต่ละโรงเรียน และในภาพรวม สามารถสรุปสาระสำคัญและมีสไลด์ประกอบการนำเสนอของแต่ละโรงเรียนดังนี้

จากการนำเสนอผลการดำเนินงานของแต่ละโรงเรียน และในภาพรวม สามารถสรุปสาระสำคัญและมีสไลด์ประกอบการนำเสนอของแต่ละโรงเรียนดังนี้
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ประชุมปฏิบัติการกรรมการเครือข่าย SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพเพิ่มเติม... |
นอกจากนั้น ในการประชุมครั้งนี้ ยังมีการนำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการ SMP ในปีงบประมาณ 2559 ที่ผ่านมาโดย ดร.สายใจ แก้วอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร และมีการนำเสนอผลการวิจัยประเมินโครงการประจำปี 2559 ที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ผลการดำเนินงานใน
โครงการ SMP ในปีงบประมาณที่ผ่านมา มีผลการวิจัยอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลการประเมินจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปัญหาอุปสรรคสำคัญที่พบ ได้แก่ ความชัดเจนในระยะแรกของการการดำเนินงานโครงการ การปรับปรุงสิ่งก่อสร้างห้องปฏิบัติการของแต่ละโรงเรียน ซึ่งมีขนาดและมาตรฐานที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความล่าช้าในการออกแบบ การกำหนดรายการประกอบแบบ (BoQ) ที่สอดคล้องกับราคากลางหรือราคามาตรฐาน การขาดช่างฝีมือแรงงานในพื้นที่ นอกจากนั้น เรื่องเวลาที่จำกัดสำหรับนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม มีวันหยุดเรียนบ่อย เป็นต้น
สำหรับข้อเสนอแนะจากที่ประชุม ทางผู้แทนสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ได้ให้ความเห็นว่า โครงการ SMP เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในพื้นที่ เพราะเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาครูผู้สอน และการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หันมาสนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือที่เกี่ยวข้อง ส่วนทางผู้บริหารโรงเรียน ให้ข้อเสนอแนะว่า ทางสำนักงานการศึกษาเอกชนมีโครงการพัฒนาโรงเรียนในสังกัดอยู่ ควรพิจารณาว่าสามารถทำร่วมกันกับโครงการ SMP ได้หรือไม่ จะได้เป็นการทำงานอย่างบูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะใน 6 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ SMP
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)