แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ PLC-SMP-YRU แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ PLC-SMP-YRU แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2564

กิจกรรมเปิดห้องเรียนสาธิต PLC-SMP-YRU e-Learning รายวิชาเคมี ระดับชั้น ม.4


 วันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2564 เวลา 09.00-11.00 น. แผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โครงการวิจัยย่อยที่ 3 การจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (SMP-YRU)  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้วิจัยโดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี หัวหน้าแผนงานวิจัยและเป็นหัวหน้าโครงการ SMP-YRU จัดกิจกรรมเปิด 

     ห้องเรียนสาธิตจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง โดยใช้แผนจัดการเรียนรู้วิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย ซึ่งเกิดจากการพัฒนาร่วมกันของสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูเคมี ประกอบด้วยผู้บริหาร ครู นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย ที่สนใจการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนด้วยรูปแบบอีเลิร์นนิ่ง สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 ในปัจจุบัน และสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งให้แก่ครูผู้สอนในการพัฒนาตนเองให้เหมาะกับบริบทสไตล์การเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งเป็นคนในยุค Gen Z ที่เกิดมาพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีออนไลน์

       การจัดกิจกรรมเปิดห้องเรียนหรือชั้นเรียนสาธิตครั้งนี้ จัดกิจกรรมสาธิตการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์ตามรูปแบบจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง ได้แก่ การจัดการชั้นเรียนผ่าน Google Classroom ร่วมกับ Google Meet และยังมีแอพลิเคชั่นสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร การทำแบบทดสอบ การทำแบบฝึกหัดด้วยเกม โดยมี ครูสตารีย๊ะ มะลี จากโรงเรียนประทีปวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนในเครือข่าย SMP-YRU และมีกลุ่มทดลองเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 35 คน เรียนผ่านชั้นเรียน Google Classroom  

หลังจากจัดกิจกรรมสาธิตการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งเสร็จสิ้นแล้ว ได้จัดให้มีกิจกรรมการสะท้อนผลจากการสังเกตการณ์การจัดการเรียนรู้จากครูผู้สอน ผู้บริหาร ครูในชุมชน PLC-SMP-YRU eLearning ผู้เชี่ยวชาญ ผู้นิเทศก์ ในประเด็นความประทับใจ ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแผนจัดการเรียนรู้ และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ซึ่งผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์จะได้เผยแพร่เพื่อแลกเปลี่ยนในโอกาสต่อไป 

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

คณะทำงานประชุมเตรียมการเปิดห้องเรียนสาธิต PLC-SMP-YRU e-Learning

 วันที่ 1 กันยายน 2563 คณะทำงานพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การพัฒนาการเรียนรู้ในรูปแบบอีเลิร์นนิ่ง หรือ PLC-SMP-YRU e-Learning ในโครงการวิจัย   ตามแผนงานวิจัย แผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โดยการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้จากห้องเรียนสาธิต (OPEN CLASS) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร/หัวหน้าแผนงานวิจัย และเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยย่อย  โครงการวิจัยที่ 3 การจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (SMP-YRU)   ได้จัดกิจกรรมประชุมออนไลน์ เพื่อเตรียมการจัดกิจกรรมทดลองเปิดห้องเรียนสาธิต (Open Classroom) จัดการเรียนรู้ตามแผนจัดการเรียนรู้และรูปแบบจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง ในรายวิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลายในวันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2564 นี้



   ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแผนใน วันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2564 เวลา 09.00-11.00 น. ผ่านระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ด้วย Google Classroom, Google Meet, Google App for Education และ Kahoot Game Application และจะจัดกิจกรรมสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ผ่านการประชุมออนไลน์ใน เวลา 11.00-12.30 น. โดยจัดการเรียนรู้ครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้น ม. 4 โครงการ SMP-YRU โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ประมาณ 60 คน พร้อมเชิญผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญ และผู้สนใจเข้าร่วมสังเกตการจัดการเรียนรู้ออนไลน์พร้อมกัน    

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2564

PLC SMP-YRU จัดกิจกรรมทดลองเปิดห้องเรียนสาธิต (Open Classroom) แผนจัดการเรียนรู้รายวิชาเคมี ระดับชั้น ม.4 แบบ STEM

วันที่ 30 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00-12.00 น. ที่ผ่านมา โครงการ SMP-YRU โดย  แผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โดยการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้จากห้องเรียนสาธิต (OPEN CLASS) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร/หัวหน้าแผนงานวิจัย และหัวหน้าโครงการวิจัยย่อย พร้อมด้วยคณะนักวิจัย ด้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 3 โครงการย่อย จัดกิจกรรมเปิดห้องเรียนสาธิต (Open Classroom) ในโครงการวิจัยย่อย โครงการวิจัยที่ 1 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  โดยมี อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และ อาจารย์อลภา ทองไชย  อาจารย์ ดร.วารุณี หะยีมะสาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย ได้จัดกิจกรรมสาธิตการเปิดห้องเรียน ที่เป็นผลงานจากชุมชนการเรียนรู้ หรือ PLC-SMP-YRU ที่ร่วมกันพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ตามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ร่วมกันเมื่อวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา (https://smp-yru.blogspot.com/search?q=plc)  
 

สำหรับกิจกรรมวันนี้ นับเป็นกิจกรรมสำคัญของโครงการวิจัย ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา PLC-SMP จะได้มีโอกาสเข้าร่วมสังเกตการณ์การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom (เนื่องจากในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19) และมีกิจกรรมสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำผลการสะท้อนไปปรับปรุงแผนจัดการเรียนรู้ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป 
จากการสังเกตในห้องเรียนออนไลน์ พบว่า ทั้งผู้สอน ผู้เรียน และผู้ร่วมสังเกตการณ์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ รู้สึกตื่นเต้นและได้รับประโยชน์จากการสังเกตกิจกรรมในห้องเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นนักเรียนห้องเรียน SMP-YRU ของโรงเรียนดำรงวิทยา ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา ถึงแม้ว่าจะเป็นการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ อาจมีปัญหาอุปสรรคอยู่บ้างในการเข้าห้องเรียน จากปัญหาความไม่พร้อมของสัญญาณอินเทอร์เน็ต แต่นักเรียนก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ได้ทุกคน และมีความสนุกสนาน ตื่นเต้น สามารถประดิษฐ์ชิ้นงาน โดยใช้หลักการบูรณาการของศาสตร์ในสาขาวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรม (Engineer) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)

 

ผลจากการสะท้อนของผู้บริหาร ครูร่วมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ จะได้นำไปพัฒนาและปรับปรุงแผนจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และนำผลการวิจัยที่ได้จากการต่อยอดในโครงการ SMP-YRU ไปเผยแพร่ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโรงเรียนในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป