แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ถ่ายทำวิดีโอการทดลองบทปฏิบัติการเคมี ม.4 ภาคเรียนที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลอร์นิ่ง

          เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.30 - 16.30 น.  ด้วยโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย ได้ดำเนินการถ่ายทำวิดีโอการทดลองปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมสารละลายบริสุทธิ ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ SMP YRU อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยบทปฏิบัติการนี้ได้เชิญนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเครือข่ายร่วมกันพัฒนาการสื่อการเรียนเรียนการสอน ในครั้งนี้ด้วย เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ถ่ายทำวิดีโอการทดลองบทปฏิบัติการเคมี ม.4 ภาคเรียนที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลอร์นิ่ง

          เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.30 - 16.30 น.  ด้วยโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย ได้ดำเนินการถ่ายทำวิดีโอการทดลองปฏิบัติการ เรื่อง การทดลองหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ SMP YRU อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยบทปฏิบัติการนี้ได้เชิญคุณครูจากโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนร่วมกันพัฒนาการสื่อการเรียนเรียนการสอน ในครั้งนี้ด้วย 

          เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี


วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ถ่ายทำวิดีโอการทดลองบทปฏิบัติการเคมี ม.4 ภาคเรียนที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลอร์นิ่ง

         ด้วยโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเวลาเรียนและทำการทดลองไม่เพียงพอในชั้นเรียนปกติ เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพื่อสร้างทักษะปฏิบัติการทดลองจากการเรียนรู้ด้วยสื่อคลิปวีดิทัศน์สาธิตขั้นตอนการทดลองและทำกิจกรรมในสภาพแวดล้อมของบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง ร่วมกับชั้นเรียนปกติ (Face-to-Face) ในห้องปฏิบัติการทดลอง เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี


          โดยบทปฏิบัติการนี้ได้เชิญคุณครูจากโรงเรียนเครือข่ายร่วมกันพัฒนาการสื่อการเรียนเรียนการสอน เรื่อง การทดลองปฏิกิริยาเคมีระหว่างโซเดียมฟอสเฟตกับแบเรียมคลอไรด์ ในครั้งนี้ด้วย
 

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ลงพื้นที่โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ เพื่อทดลองบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน วิชาปฏิบัติการเคมี ม.4

      วันนี้ (12 ธ.ค. 63) อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี และทีมนักวิจัยในโครงการ SMP-YRU ลงพื้นที่เพื่อเตรียมการทดลองงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสานรายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ณ โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเวลาเรียนไม่เพียงพอ ผู้เรียนขาดโอกาสในการลงมือปฏิบัติ ขาดโอกาสทดลองในห้องปฏิบัติการ ซึ่งได้มีการจัดเตรียมห้องปฏิบัติ อุปกรณ์และสารเคมีสำหรับการทดลองไว้อย่างครบถ้วน การใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งให้นักเรียนได้เรียนรู้ก่อนทำการทดลอง (Lab) และส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ละคนได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม/ทีม แบ่งงานกันทำ ปฏิบัติตามขั้นตอนการทดลองที่ได้นำเสนอไว้ในบทเรียนเป็นคลิปวิดีโอ พร้อมเนื้อหาประกอบอย่างครบถ้วน 

     ทั้งนี้ ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำเป็นหลัก เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เหล่านี้ จะเป็นการแก้ไขปัญหาข้อจำกัดด้านเวลา และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนด้วยตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิต เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้อีกด้วย 

    เมื่อบทเรียนได้ทดลองและมีการประเมินผลประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล จะได้เผยแพร่ให้แก่โรงเรียนอื่น ๆ อีก 12 โรงเรียน ที่อยู่ในเครือข่่ายโครงการ SMP-YRU