วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

นักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP เข้าร่วมอบรมแนวคิดการสร้างนวัตกรรมจากยางพาารา ที่จัดขึ้นโดยสาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

  

    เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 นักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ได้เข้าร่วมอบรมที่ทางสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้จัดกิจกรรมบริการวิชาการ ค่ายนักนวัตกรรมวัสดุรุ่นเยาว์ ภายใต้โครงการบริการวิชาการ เรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยศาสตร์บูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมรความคิดริเริ่มในการผลิตผลงานทางด้านนวัตกรรมวัสดุ ถ่ายทอดความรู้จากสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

แผนวิจัย PLC ประชุมการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รายวิชาเคมี

  


 วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00-15.00 น. คณะกรรมการแผนวิจัย PLC ประชุมยกร่างแผนจัดการเรียนรู้ผ่านทางระบบออนไลน์ โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ พร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินงาน และเจ้าหน้าที่ประจำแผนงานวิจัยฯ PLC ประชุมร่วมกับ ครูผู้สอนทั้ง 12 โรงเรียน  โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 23 คน จาก 12 โรงเรียน โดยจะมีการอบรมแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

1.   การเขียนแผน

1.1    เป็นการเตรียมการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

1.2    สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ + คำอธิบายรายวิชา + กระบวนการเรียนรู้

1.3    คำนึงถึงศักยภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ

1.4     แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

1.5     มีเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน และวิธีวัดผลประเมินผลที่ชัดเจน

1.6     ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสม ตรงตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ

2.   การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

2.1    หลักสูตร

- จัดการเรียนรู้เพื่ออะไร

- จัดการเรียนรู้อย่างไร

- ผู้เรียนสำคัญหรือไม่

- ผลการจัดการเรียนรู้เป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่

2.2 แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย

1.    หัวเรื่อง

2.    สาระสำคัญ

3.    มาตรฐานและตัวชี้วัด

4.    จุดประสงค์การเรียนรู้

5.    สาระการเรียนรู้

6.    กระบวนการเรียนรู้

-    ขั้นนำ

-    ขั้นสอน

-    ขั้นสรุป

7.  สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้

8.  การวัดและประเมินผล

9.  บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้

อย่างไรก็ตามการจัดทำแผนการเรียนรู้นั้นก็ต้องมีความสอดคล้องกับบริบทนักเรียนโรงเรียน และชุมชน เช่นเดียวกัน โดยครูได้แชร์ประสบการณ์การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ในส่วนเนื้อหาสาระของแผนการสอนของโรงเรียนที่มีอยู่แล้ว ซึ่งมีรายละเอียดที่ครบถ้วนพอสมควร ที่จะนำมาต่อยอดแผนการจัดการเรียนรู้ PLC และเครื่องมือส่วนใหญ่ที่ครูได้ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์โควิดจำเป็นต้องเรียนแบบออนไลน์นั้น ได้แก่ google classroom ร่วมกับ google meet และgoogle from เป็นต้น


การจัดทำแผนการเรียนรู้ PLC

                ที่ประชุมผู้ร่วมวิจัย ร่วมกันนำเสนอแผนการสอน PLC ให้ครูเข้าใจในกระบวนการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ โดยมีขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

1.   ชื่อหน่วยการเรียนรู้

2.   บทเรียนในหน่วยการเรียนรู้:

3.   วัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้ของบทเรียน

4.   คำถามหลักสำหรับการตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน

5.   ลักษณะของงานที่มอบหมายให้นักเรียน

6.   สื่อและอุปกรณ์ที่จำเป็น

7.   โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ทั่วไป

                            7.1   ขั้นเตรียมความพร้อม (สร้างการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และตรวจสอบความรู้เดิม
                                    (10 นาที)

7.2    ขั้นแนะนำหัวข้อหลักใน บทเรียน ( สำรวจ ) (15 นาที)

7.3   การแก้ไขปัญหา การรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์ กิจกรรมการวางแผน การลงมือปฏิบัติ และการแปลความ(อธิบาย) (70 นาที)

7.4    การนำไปใช้จริง การบ้าน และการเชื่อมโยงกับสาระวิชาอื่น (5 นาที)

7.5   ขั้นสรุป (ประเมินผลการเรียนรู้ สะท้อนผลการเรียนรู้ และ การสะท้อนถึงความสมเหตุสมผล  (5 นาที)

8. สะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ของครู: ทราบได้อย่างไรว่าแผนการจัดการเรียนรู้นี้สำเร็จผลด้วยดี (ระบุหลักฐาน)

                          




    

********************************************************************

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

SMP-YRU ได้รับงบสนับสนุนงบประมาณ ปี พ.ศ. 2565 ให้ดำเนินการต่อเนื่อง (โรงเรียนใหม่อีก 3 โรงเรียน และร่วมมือพัฒนากับโรงเรียนเดิมอีก 12 โรงเรียน)

      

       การนำเสนอโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หรือ โครงการ SMP-YRU  ภายใต้แผนบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ : โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ในแนวทางการศึกษาเพื่อความมั่นคง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 (ทางออนไลน์) นับว่าเป็นโอกาสดีทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาของศูนย์สันติวิธี (สสว.) กอ.รมน.ภ.4 สน. ที่ได้รับงบประมาณแผ่นดินสนับสนุนให้พัฒนาห้องเรียน SMP-YRU โรงเรียนใหม่อีกจำนวน 3 โรงเรียน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะได้ดำเนินการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในเครือข่ายในโรงเรียนเดิมอีก 12 โรงเรียน อย่างต่อเนื่องต่อไป รวมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จะมีนักเรียนในโครงการ SMP-YRU ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกัน  จำนวน  15 โรงเรียน มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในปีการศึกษาหน้า และที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วในโครงการนี้กว่า 2,000 คน (ดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559) ผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติในห้องทดลอง (Lab) สร้างทักษะการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เป็นกลยุทธ์การสอนเป็นหลัก สร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 มีโอกาสในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตนเองสนใจ สร้างโอกาสให้แก่เยาวชนในพื้นที่ในการประกอบอาชีพที่มั่นคงในอนาคต เป็นห้องเรียนที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน 




       ขอขอบคุณมหาวิทยาลัย  ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และคณะทำงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการนี้ อย่างต่อเนื่องมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีผลงานวิจัยประเมินความสำเร็จของโครงการที่เป็นรูปธรรม มีนักเรียนในโครงการจบชั้น ม. 6 และศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมากกว่าร้อยละ 40 ที่เหลือศึกษาต่อด้านสังคมศาสตร์ ด้านศาสนา ประกอบอาชีพ และอื่น ๆ 

         ตัวอย่างที่นักเรียนชั้น ม. 6  สอบเข้าศึกษาต่อปริญญาตรีได้ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์  ได้แก่ แพทยศาสตร์ 2 คน แพทย์แผนไทย 3 คน เทคนิคการแพทย์ 4 คน วิศวกรรมศาสตร์ 11 คน พยาบาลศาสตร์ 11 คน สาธารณสุขศาสตร์และอาชีวอนามัย 10 คน เทคนิคยานยนต์ 3 คน วิทยาการคอมพิวเตอร์ 10 คน นอกจากนั้นเป็นสาขา วิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์อุตสาหกรรม เคมีเทคโนโลยีและนวัตกรรม คณิตศาสตร์  วิทยการธุรกิจสุขภาพ วิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและความงาม ทั้งนี้มีนักเรียนสนใจเข้าศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และสาขาอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 54 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2564) 

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

โครงการ SMP-YRU กับความสำเร็จของโครงการ: คำบอกเล่าของนักเรียนในโครงการ

 
         มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (http://www.yru.ac.th) มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ เป็นเครือข่ายการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา สร้างโอกาสทางการศึกษา ปูพื้นฐานสร้างอาชีพในอนาคต โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา โดยมหาวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินงานโครงการ SMP-YRU ภายใต้แผนงานบูรณาการการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2564 ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 ปี โดยดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกับโรงเรียนในเครือข่าย จำนวน 12 โรงเรียน พัฒนาห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนผ่านการพัฒนาในโครงการนี้จาก 12 โรงเรียน รวมจำนวน 1,799 คน และมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำเร็จการศึกษาไปแล้ว 3 รุ่น สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ได้แก่ แพทย์ศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล สาธารณสุขวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์การอาหาร ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์  โดยเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 40 ของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา ม.6 ศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ส่วนที่เหลือศึกษาต่อด้านสังคมศาสตร์ ศาสนา และประกอบอาชีพ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ของโครงการ SMP-YRU นับเป็นที่น่าพึงพอใจ (จากผลการวิจัยติดตามประเมินผลโครงการ)  

    สำหรับในปีการศึกษา 2564 ในท่ามกลางการแพร่ระบาดเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 ทำให้การพัฒนาและส่งเสริมห้องเรียนพิเศษในโครงการ SMP-YRU มีปัญหาและอุปสรรค อย่างไรก็ตาม ด้วยความพร้อมและโอกาสในการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ความพร้อมของสื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาแบบออนไลน์ (http://e-smp.yru.ac.th) ทำให้นักเรียนในโครงการประสบความสำเร็จ ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีได้หลากหลายสาขา ... โดยเฉพาะสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์  จึงเสนอคลิปการกล่าวความรู้สึกของนักเรียนในโครงการบางส่วน เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนรุ่นน้อง ให้มีความพยายามและมุ่งมั่นเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ และสามารถศึกษาต่อปริญญาตรีในสาขาที่ตนเองชอบและถนัดต่อไป