แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อีเลิร์นนิ่ง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อีเลิร์นนิ่ง แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2564

กิจกรรมเปิดห้องเรียนสาธิต PLC-SMP-YRU e-Learning รายวิชาเคมี ระดับชั้น ม.4


 วันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2564 เวลา 09.00-11.00 น. แผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โครงการวิจัยย่อยที่ 3 การจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (SMP-YRU)  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้วิจัยโดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี หัวหน้าแผนงานวิจัยและเป็นหัวหน้าโครงการ SMP-YRU จัดกิจกรรมเปิด 

     ห้องเรียนสาธิตจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง โดยใช้แผนจัดการเรียนรู้วิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย ซึ่งเกิดจากการพัฒนาร่วมกันของสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูเคมี ประกอบด้วยผู้บริหาร ครู นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย ที่สนใจการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนด้วยรูปแบบอีเลิร์นนิ่ง สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 ในปัจจุบัน และสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งให้แก่ครูผู้สอนในการพัฒนาตนเองให้เหมาะกับบริบทสไตล์การเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งเป็นคนในยุค Gen Z ที่เกิดมาพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีออนไลน์

       การจัดกิจกรรมเปิดห้องเรียนหรือชั้นเรียนสาธิตครั้งนี้ จัดกิจกรรมสาธิตการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์ตามรูปแบบจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง ได้แก่ การจัดการชั้นเรียนผ่าน Google Classroom ร่วมกับ Google Meet และยังมีแอพลิเคชั่นสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร การทำแบบทดสอบ การทำแบบฝึกหัดด้วยเกม โดยมี ครูสตารีย๊ะ มะลี จากโรงเรียนประทีปวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนในเครือข่าย SMP-YRU และมีกลุ่มทดลองเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 35 คน เรียนผ่านชั้นเรียน Google Classroom  

หลังจากจัดกิจกรรมสาธิตการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งเสร็จสิ้นแล้ว ได้จัดให้มีกิจกรรมการสะท้อนผลจากการสังเกตการณ์การจัดการเรียนรู้จากครูผู้สอน ผู้บริหาร ครูในชุมชน PLC-SMP-YRU eLearning ผู้เชี่ยวชาญ ผู้นิเทศก์ ในประเด็นความประทับใจ ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแผนจัดการเรียนรู้ และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ซึ่งผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์จะได้เผยแพร่เพื่อแลกเปลี่ยนในโอกาสต่อไป 

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564

โครงการ SMP-YRU ต่อยอดลงนาม MoU กับแผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

 ในวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการ แผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โดยการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้จากห้องเรียนสาธิต (OPEN CLASS) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร/หัวหน้าแผนงานวิจัย และหัวหน้าโครงการวิจัยย่อย พร้อมด้วยคณะนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย ให้ดำเนินงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน SMP-YRU เป็นการต่อยอดโครงการด้วยการวิจัย จำนวน 3 โครงการย่อย จัดกิจกรรมร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ความร่วมมือกับผู้บริหาร/ผู้อำนวยการ/ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU

ในการดำเนินการวิจัยใน 3 โครงการวิจัย ตามแผนการวิจัยดังกล่าว ประกอบด้วยด้วยโครงการวิจัย ดังนี้ 

   1) โครงการวิจัยที่ 1 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  โดยมีอาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมีอาจารย์อลภา ทองไชย  อาจารย์ ดร.วารุณี หะยีมะสาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย

2) โครงการวิจัยที่ 2 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน โดยมี อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมี อาจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด และ อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย และอาจารย์พูรกอนนี สาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย 

    3) โครงการวิจัยที่ 3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี เป็นหัวหน้าโครงการ

ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากผลการวิจัยนี้ คาดว่าโรงเรียนในโครงการ SMP-YRU จะได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และสร้างเป็นชุมชนหรือสังคมแฟน่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC สามารถนำมาเป็นต้นแบบขยายผลไปยังเนื้อหา รายวิชาอื่น ๆ และโรงเรียนอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งโครงการวิจัยภายใต้แผนการวิจัย ดำเนินการโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างทีมนักวิจัยและผู้บริหาร ครู ดำเนินการวิจัยและพัฒนาไปพร้อมกันระหว่างมหาวิทยาลัย และโรงเรียนในโครงการห้องเรียน SMP-YRU นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่ จชต. ในจังหวัดยะลา โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษา 


โครงการ SMP-YRU ขยายผลการใช้ระบบอีเลิร์นนิ่ง (https://e-smp.yru.ac.th) ติวออนไลน์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย 12 โรงเรียน

   


วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2564  เวลา 13.00-16.30 น. ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการดำเนินงาน โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program, Yala Rajabhat University: SMP-YRU) ซึ่งมีอธิการบดี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีเป็นที่ปรึกษาโครงการ และ อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ประธานคณะกรรมการดำเนินงาน รวมถึงคณะกรรมการดำเนินเนินงานโครงการจากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (http://science.yru.ac.th) และเครือข่ายโรงเรียน SMP-YRU จำนวน 12 โรงเรียน จัด "โครงการขยายผลการใช้ระบบอีเลิร์นนิ่งเพื่อส่งเสริมการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนและโอกาสทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์"  รวมทั้งวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษในระบบอีเลิร์นนิ่ง โดยได้รับการสนับสนุนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งจากมหาวิทยาลัย โดยเผยแพร่ไว้ที่เว็บไซต์  http://e-smp.yru.ac.th  ทั้งจากการปรับเปลี่ยนกิจกรรมค่ายเสริมความรู้ในปีงบประมาณตามแผนบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปีพ.ศ. 2563 จากวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 จากกิจกรรมเข้าค่าย เป็นกิจกรรมการพัฒนาเนื้อหา (Contents) ในรายวิชาสำหรับการสอบวัดความรู้ PAT1, PAT2 และ GAT  ในรายวิชาเคมี  ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รวม 12 รายวิชา เน้นนำเสนอเนื้อหาด้วยสื่อวีดีทัศน์ (Clip Video) มีการโต้ตอบระหว่างเรียน แบบทดสอบทบทวนเนื้อหา





   สำหรับการจัดทำและพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง โดยนำเสนอเนื้อหาในลักษณะการสอนเสริม (Tutorial) ด้วยวีดีทัศน์แบบโต้ตอบได้ เผยแพร่ให้แก่นักเรียนระดับชั้น ม.4-6 ผ่านเว็บไซต์การจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง โดยเผยแพร่ที่เว็บไซต์  https://e-smp.yru.ac.th ในครั้งนี้ นับเป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVIE-19 ที่ทางโครงการฯ มองเห็นวิกฤติปรับให้เป็นโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นการพัฒนาสื่อการเรียนรู้และระบบจัดการเนื้อหาที่สามารถตอบสนองการศึกษายุค 4.0 และสอดคล้องกับคุณลักษณะของผู้เรียนในยุค Gen Z ซึ่งผู้เรียนอยู่ในยุคของการเรียนรู้อยู่ด้วยดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยี และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และกำกับการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก จึงนับเป็นโครงการต้นแบบในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่ จชต. อย่างต่อเนื่อง

    การดำเนินการในระยะต่อไป จะเป็นขยายผลให้โอกาสแก่นักเรียนที่สนใจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือทั่วประเทศเข้ามาใช้ระบบและสื่อการเรียนรู้ในระบบ http://e-smp.yru.ac.th ต่อไป

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563

โครงการ SMP-YRU พัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งรายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

การดำเนินงานพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในโครงการ SMP-YRU ซึ่งเริ่มดำเนินงานโครงการภายใต้แผนบูรณาการการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในแนวทางการพัฒนาโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ ซึ่งมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นพี่เลี้ยง ดำเนินการร่วมกับผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง รวมทั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยได้สนับสนุนพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4-ม.6 ในพื้นที่ 12 โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดยะลา ในทุกมิติ ตั้งแต่การปรับกิจกรรมการเรียนการสอน การปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการ โต๊ะเก้าอี้ห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์ เครื่องมือทดลอง วัสดุการทดลอง สื่อโสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงการพัฒนาทักษะการสอนที่เน้นการปฏิบัติในห้องทดลอง (Lab) ให้แก่ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์  การพัฒนาศักยภาพของนักเรียนทั้งด้านความสามารถในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเน้นการพัฒนาผ่านกระบวนการของค่ายพัฒนาในแต่ละด้าน 

        รูปแบบการพัฒนานักเรียนในโครงการ SMP-YRU มุ่งเน้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติในห้องปฏิบัติการอย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง ให้โอกาสผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติทดลอง การทำโครงงาน (Project) ด้านวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาในโครงการยังคงมีปัญหาของการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการ (Lab) ไม่ครบถ้วน เนื่องจากครูมีเวลาไม่เพียงพอ ครูขาดทักษะในการทดลอง นักเรียนมีเวลาในห้องปฏิบัติการน้อย จากการสำรวจครูผู้สอน นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เห็นว่า การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งออนไลน์ ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้เนื้อหาการทดลอง ขั้นตอนการทดลองมาก่อนโดยการศึกษาด้วยตนเอง ผ่านระบบออนไลน์ ก็จะทำให้สามารถลดเวลาในการใช้ห้องปฏิบัติ สามารถทดลองและรายงานผลการทดลองได้ทันเวลา  โดยส่งรายงานผ่านทางออนไลน์ในระบบอิเลิร์นนิ่ง ผู้สอนเป็นเพียงผู้แนะนำ เป็นที่ปรึกษาเท่านั้น

      อย่างไรก็ตาม รายวิชาที่ผู้สอนเห็นว่ามีความจำเป็น เป็นพื้นฐานที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ที่ควรพัฒนาเป็นรายวิชาในระบบอีเลิร์นนิ่งได้แก่ รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยเลือกเนื้อหาปฏิบัติการทดลอง จำนวน 10 เรื่อง ตามที่ผู้สอนเห็นว่ามีความสำคัญมากสุดตามลำดับ ซึ่งทีมงาน SMP-YRU โดยเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะทำงานได้เริ่มดำเนินการถ่ายทำคลิปวิดีโอมาผนวกเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (Courseware)  เพื่อให้นักเรียนระดับชั้น ม.4  หรือครูผู้สอนเข้ามาเรียนรู้ ก่อนทำการทดลองในห้องปฏิบัติการต่อไป    













วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ประชุมคณะทำงานและนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียน: พัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งและงานวิจัยติดตามประเมินผลโครงการ

กิจกรรมวันนี้ของโครงการห้องเรียน SMP-YRU  ในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathmatics Program มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หรือโครงการ SMP-YRU ประชุมติดตามการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียน และคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อเตรียมความพร้อมและติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการจัดทำบทเรียนออนไลน์ พัฒนาบทเรียนในระบบอีเลิร์นนิ่งของห้องเรียน SMP-YRU ในรายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้น ม.4 และรายวิชาอื่น ๆ (http://smp.yru.ac.th)
   นอกจากนั้น ยังเป็นประชุมเพื่อเตรียมพัฒนาและเผยแพร่บทเรียนสำหรับการอบรมออนไลน์ในรูปแบบของระบบอีเลิร์นนิ่ง ที่สามารถติดตามผู้เรียน ประเมินผลผู้เรียนได้ และเผยแพร่ในวงกว้างต่อไป ทั้งนี้ เพื่อแทนการอบรมพัฒนานักเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ในห้องประชุมปกติ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19  นับเป็นการปรับรูปแบบการพัฒนานักเรียน และโรงเรียนในโครงการ SMP-YRU ที่ปรับรูปแบบใหม่ (New Normal) โปรดติดตามผลการพัฒนาบทเรียน และการอบรมออนไลน์ของโครงการ SMP-YRU ต่อไปที่เว็บไซต์ระบบอีเลิร์นนิ่ง http://smp.yru.ac.th








วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้วิชา WBI บูรณาการกับการผลิตสื่ออีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) โครงการ SMP

ปัญหาสำคัญของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียน SMP คือ การสอนปฏิบัติการ (Lab) วิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่ไม่สามารถสอนปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วน เวลาการสอนปฏิบัติการมีไม่เพียงพอ ครูผู้สอนขาดทักษะสอนปฏิบัติการ ขาดความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ ไม่เข้าใจขั้นตอนการทดลอง รวมทั้งการสรุปผลการทดลอง จึงทำให้บางรายวิชาไม่สามารถทำการทดลองปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วน
   โครงการ SMP จึงทดลองนำร่อง จัดทำบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนขั้นตอนการทดลองในรายวิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 เรื่อง  โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาเว็บช่วยสอน (Web-based Instruction: WBI) ของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ที่สอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เน้นให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อแก้ปัญหาการสอนปฏิบัติวิทยาศาสตร์ โดยจัดทำเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เพื่อให้ผู้สอนได้ใช้เรียนรู้และทบทวน และผู้เรียนได้ศึกษามาก่อนล่วงหน้าที่บ้าน และลงมือทดลองในห้องปฏิบัติการ
 

 

 

 

   สำหรับบทเรียนอีเลิร์นนิ่งที่พัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบนี้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนในโครงการ SMP หรือโรงเรียนที่สนใจได้นำไปใช้ แนวคิดหลักๆ ในบทเรียนคือ การสอนแบบสาธิตขั้นตอนการทดลอง เนื้อหานำเสนอทั้งข้อความ (Text) ภาพนิ่ง (Image) วิดีโอ (Video) และมีกิจกรรมแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม รวมทั้งแบบสรุปผลการทดลอง โดยการเผยแพร่บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง สามารถเผยแพร่ในรูปแบบเว็บไซต์ และเผยแพร่หรือนำไปใช้กับระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ประเภท LMS (Learning Management System) เช่น Moodle เป็นต้น
   หากผลการประเมินต้นแบบ เป็นที่น่าพอใจ และเป็นประโยชน์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการ SMP ก็จะดำเนินการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) ให้ครบทุกรายวิชาหรือทุกระดับชั้นต่อไป