การดำเนินงานพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในโครงการ SMP-YRU ซึ่งเริ่มดำเนินงานโครงการภายใต้แผนบูรณาการการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในแนวทางการพัฒนาโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ ซึ่งมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นพี่เลี้ยง ดำเนินการร่วมกับผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง รวมทั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยได้สนับสนุนพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4-ม.6 ในพื้นที่ 12 โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดยะลา ในทุกมิติ ตั้งแต่การปรับกิจกรรมการเรียนการสอน การปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการ โต๊ะเก้าอี้ห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์ เครื่องมือทดลอง วัสดุการทดลอง สื่อโสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงการพัฒนาทักษะการสอนที่เน้นการปฏิบัติในห้องทดลอง (Lab) ให้แก่ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ การพัฒนาศักยภาพของนักเรียนทั้งด้านความสามารถในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเน้นการพัฒนาผ่านกระบวนการของค่ายพัฒนาในแต่ละด้าน
รูปแบบการพัฒนานักเรียนในโครงการ SMP-YRU มุ่งเน้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติในห้องปฏิบัติการอย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง ให้โอกาสผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติทดลอง การทำโครงงาน (Project) ด้านวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาในโครงการยังคงมีปัญหาของการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการ (Lab) ไม่ครบถ้วน เนื่องจากครูมีเวลาไม่เพียงพอ ครูขาดทักษะในการทดลอง นักเรียนมีเวลาในห้องปฏิบัติการน้อย จากการสำรวจครูผู้สอน นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เห็นว่า การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งออนไลน์ ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้เนื้อหาการทดลอง ขั้นตอนการทดลองมาก่อนโดยการศึกษาด้วยตนเอง ผ่านระบบออนไลน์ ก็จะทำให้สามารถลดเวลาในการใช้ห้องปฏิบัติ สามารถทดลองและรายงานผลการทดลองได้ทันเวลา โดยส่งรายงานผ่านทางออนไลน์ในระบบอิเลิร์นนิ่ง ผู้สอนเป็นเพียงผู้แนะนำ เป็นที่ปรึกษาเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม รายวิชาที่ผู้สอนเห็นว่ามีความจำเป็น เป็นพื้นฐานที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ที่ควรพัฒนาเป็นรายวิชาในระบบอีเลิร์นนิ่งได้แก่ รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยเลือกเนื้อหาปฏิบัติการทดลอง จำนวน 10 เรื่อง ตามที่ผู้สอนเห็นว่ามีความสำคัญมากสุดตามลำดับ ซึ่งทีมงาน SMP-YRU โดยเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะทำงานได้เริ่มดำเนินการถ่ายทำคลิปวิดีโอมาผนวกเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (Courseware) เพื่อให้นักเรียนระดับชั้น ม.4 หรือครูผู้สอนเข้ามาเรียนรู้ ก่อนทำการทดลองในห้องปฏิบัติการต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น