เมื่อวันที่ 23 เดือนกันยายน 2563 เวลา 19.00 - 21.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง การศึกษาการเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีอาจารย์ซารีฟะห์ อาวัง เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน
วัตถุประสงค์
ปฏิกิริยาเคมี คือ กระบวนการเปลี่ยนของสารตั้งต้นไปเป็นสารใหม่ โดยปริมาณสารตั้งต้นจะลดลง และปริมาณสารใหม่จะเกิดขึ้น และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป โดยสามารถเขียนให้เข้าใจง่ายด้วยสมการเคมี
วัตถุประสงค์
1. ทำการทดลองเพื่อศึกษาปฏิกิริยาเคมีระหว่างโซเดียม แมกนีเซียม ทองแดง และสังกะสีกับน้ำ
2. เปรียบเทียบความว่องไวในการทำปฏิกิริยาเคมีกับน้ำของธาตุหมู่ IA IIA และธาตุทรานซิชัน
หลักการ
ปฏิกิริยาเคมีจำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ปฏิกิริยาเคมีสมบูรณ์ คือ การเกิดสารใหม่ขณะที่สารตั้งต้นตัวใดตัวหนึ่งหมดไปหรือหมดทุกตัว
2. ปฏิกิริยาเคมีไม่สมบูรณ์ คือ การเกิดสารใหม่ขณะที่สารตั้งต้นยังเหลือทุกตัว ไม่มีตัวใดตัวหนึ่งหมดไป
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี
1. ทฤษฎีการชนโมเลกุล (Collision Theory) กล่าวถึง โมเลกุลของสารต้องมีการชนซึ่งกันและกัน ซึ่งการชนกันแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องเกิดปฏิกิริยา
2. ทฤษฎีจลน์ของโมเลกุล (Kinetic Theory) กล่าวถึง โมเลกุลต้องมีการเคลื่อนที่ช้าลง ซึ่งก่อให้เกิดพลังงานจลน์ โดยโมเลกุลต้องมีพลังงานสูงพอจึงจะเกิดปฏิกิริยาได้
สถานะการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1. ต้องมีจำนวนโมเลกุลมากพอ
2. ต้องมีการชนกันระหว่างโมเลกุล
3. ต้องมีพลังงานสูงพอ โดยอย่างน้อยต้องเท่ากับพลังงานก่อกัมมันต์
4. ต้องมีทิศทางที่เหมาะสม
สรุปการทดลอง
1. โลหะหมู่หลักเกิดปฏิกิริยากับน้ำได้ดีกว่าโลหะแทรนซิชัน
2. เมื่อโลหะหมู่หลักทำปฏิกิริยากับน้ำ จะได้สารละลายที่มีสมบัติเป็นเบส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น