โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
(Science Mathematics Program, Yala Rajabhat University: SMP-YRU) ในโรงเรียนเครือข่ายพื้นที่จังหวัดยะลา
สถานที่ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ (อาคาร 9 ชั้น 1)
(Science Mathematics Program, Yala Rajabhat University: SMP-YRU) ในโรงเรียนเครือข่ายพื้นที่จังหวัดยะลา
สถานที่ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ (อาคาร 9 ชั้น 1)
--------------------------------------------------------------------------------
ปีที่ 7: ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
(งบประมาณตามแผนบูรณาการยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 8,138,200.00 บาท)
การดำเนินงานโครงการ SMP-YRU ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับงบประมาณในโครงการเสริมสร้างคุ้มกันเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามแนวยุทธศาสตร์การศึกษาและการพัฒนาเพื่อความมั่นคง ซึ่งมีเป้าหมายพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญเครือข่ายของการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดยะลาเพิ่มอีกจำนวน 3 โรงเรียน โดยโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการดำเนินงานโครงการกำหนด ได้แก่ 1) โรงเรียนผดุงศิลวิทยา อ.บันนังสตา 2) โรงเรียนเจริญศาสน์วิทยา (ปอเนาะกาสังบน) อ.บันนังสตา และ 3) โรงเรียนพัฒนาวิทยากร (ปอเนาะป่าพร้าว) จึงทำให้ให้โรงเรียนเครือข่าย SMP-YRU รวมทั้งหมดจากรุ่นที่ 1-4 รวมทั้งหมดจำนวน 15 โรงเรียน (http://smp-yru.blogspot.com/p/blog-page_82.html) ซึ่งในการดำเนินงานตามงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้รับเป็นงบในหมวดงบลงทุน มีกิจกรรมหลัก 1 กิจกรรม ได้แก่ การพัฒและปรับรั ปรุงห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics
Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่เสริมสร้างความมั่นคงในจังหวัดยะลา ดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (Lab) พร้อมจัดหาครุภัณฑ์อุปกรณ์การทดลองวิทยาศาสตร์ วัสดุสารเคมี สื่อโสตทัศนูปกรณ์ จำนวน 1 ห้อง สำหรับการจัดการเรียนการสอนห้องเรียน SMP-YRU ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เป็นหลัก รวมทั้งสนับสนุนการเรียนการสอนในระดับชั้นอื่น ๆ ด้วย
สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โรงเรียนเครือข่าย SMP-YRU ทั้ง 15 โรงเรียน ศูนย์สันติวิธี กอ.รมน.ภ.4 สน. และสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา (สช.ยะลา) จะจัดกิจกรรมทบทวนและจัดทำบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Understanding: MoU) ในวันที่ 6 กันยายน 2565 นี้ เพื่อร่วมมือกันพัฒนาห้องเรียน SMP-YRU อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยมีระยะดำเนินการ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2570) เพื่อให้เป็นต้นแบบของการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดยะลาอย่างยั่งยืนต่อไป
ปีที่ 6: ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
(งบประมาณตามแผนบูรณาการยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 2,400,000.00 บาท)
การดำเนินงานโครงการ SMP - YRU ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้รับงบประมาณตามแผนงานบูรณาการการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้ เป็นงบลงทุนและสิ่งก่อสร้างใน 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่
การดำเนินงานโครงการ SMP - YRU ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้รับงบประมาณตามแผนงานบูรณาการการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้ เป็นงบลงทุนและสิ่งก่อสร้างใน 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่
กิจกรรมที่ 1 การปรับปรุงห้องปฏิบัติการในโรงเรียนเดิมรุ่นแรก
ตามที่ในปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณเงินอุดหนุน เฉพาะหมวดสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ สนับสนุนการพัฒนาห้องเรียนพิเศษ SMP จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่ (1) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ตำบลสะเตง อำเภอเมือง (2) โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง (3) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ตำบลบะแต อำเภอยะหา (4) โรงเรียนดำรงวิทยา ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา (5) โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน และ (6) โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต ซึ่งใช้ประโยชน์มานานกว่า 5 ปี จึงเน้นการปรับปรุงให้ห้องปฏิบัติการให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ ใน 6 โรงเรียนเดิม ในรุ่นแรกที่เข้าร่วมโครงการเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ซึ่งครุภัณฑ์และอุปกรณ์การเรียนปฏิบัติการเสื่อมสภาพ ชำรุด ต้องซ่อมแซม ปรับปรุง และจัดหาเพิ่มเติม ทั้งนี้ ให้ห้องปฏบัติการวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาศักยภาพของนักเรียนชั้น ม.4 - ม.6 รวมทั้งนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน สร้างโอกาสการศึกษาต่อปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีต่อไปในอนาคต เพื่อเป็นกำลังสำคัญของ Thailand 4.0
กิจกรรมที่ 2 ปรับปรุงและพัฒนาห้องเรียน STEAM (Science, Technology, Engineer, Art, Mathematics)
เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายพัฒนา ห้องปฏิบัติการประดิษฐ์กรรม (Fabrication Laboratory) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า FabLab ดำเนินการโดย คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (http://science.yru.ac.th) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการศาสตร์ในด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะ และคณิตศาสตร์ ในโรงเรียน SMP-YRU และในสังกัด สพม. เพื่อ ปลูกฝัง เสริมสร้างแนวคิด เจตคติที่ดีต่อการศึกษาด้าน STEAM และการประกอบอาชีพในอนาคตด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นการป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่นักเรียนในพื้นที่ จชต. ด้วยการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา เน้นการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในโรงเรียนพื้นที่เสริมสร้างความมั่นคงดังกล่าว ทั้งโรงเรียนเดิมในโครงการ SMP-YRU (8 โรงเรียน) และโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาของมหาวิทยาลัย (4 โรงเรียน) รวม 12 โรงเรียน ได้แก่
1) โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ (สพม.)
2) โรงเรียนอุดมศาสน์วิทยา (สช.)
3) โรงเรียนเบตงวีระราษฎร์ประสาน (สพม.)
4) โรงเรียนสตรียะลา (สพม.)
5) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ (SMP-YRU)
6) โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิยะลา (SMP-YRU)
7) โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา (SMP-YRU)
8) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ (SMP-YRU)
9) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ (SMP-YRU)
10) โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา (SMP-YRU)
11) โรงเรียนดำรงวิทยา (SMP-YRU)
12) โรงเรียนคัมภีร์วิทยา (SMP-YRU)
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การพัฒนาห้อง SMP-YRU มีความอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง มหาวิทยาลันยราชภัฏยะลา (http://www.yru.ac.th) ในฐานะมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงในพื้นที่ จึงดำเนินการสนับสนุนการพัฒนานักเรียน ครูผุ้สอน ผู้บริหาร ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่องด้วยภารกิจงานด้านบริการวิชาการและการวิจัย แม้ว่าจะมีข้อจำกัด ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนในหมวดดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยมีกิจกรรมสนับสนุนโครงการ SMP-YRU ดังนี้
1. การส่งเสริมการใช้ระบบอีเลิร์นนิ่ง (http://e-smp.yru.ac.th)
2. การจัดทำโครงการวิจัยเพื่อสนับสนุนการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในโครงการ SMP-YRU
เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโครงการ SMP-YRU โดยการยกระดับคุณภาพของครู มหาวิทยาลัยฯ จึงจัดทำโครงการวิจัย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อบูรณาการในพื้นที่ ได้แก่
2.1 แผนงานวิจัย การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย ได้แก่
1) โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (อ.ปิยศิริ สินไชย สุนทรนนท์ ผู้วิจัย)
2) โครงการวิจัย เรื่อง การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (อ.ดร.นิสาพร มูหะมัด ผู้วิจัย)
3) โครงการวิจัย เรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (อ.ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย)
2.2 โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (ปีการศึกษา 2563-2546)
ปีที่ 5: ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
(งบประมาณตามแผนบูรณาการยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 26,709,000.00 บาท)
การดำเนินงานโครงการ SMP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีการขยายโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายเพิ่มขึ้นอีก จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ (1) โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ ตำบลสะเตง อำเภอเมือง (2) โรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา ตำบลวังพญา อำเภอรามัน และ (3) โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา ซึ่งทั้งสามโรงเรียนจะได้รับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมนักเรียน ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจในโครงการ และสร้างความร่วมมือให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยการทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MoU) กับเครือข่ายทำงานแบบบูรณาการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (บูรณาการภายในระดับคณะ สำนัก และหลักสูตร) สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา และสำนักงานการศึกษาเอกชนระดับอำเภอ ผู้บริหารโรงเรียน และ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ในฐานะสักขีพยาน เป็นหน่วยติดตามประเมินผลการใช้งบประมาณ
การพัฒนาห้องเรียน SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีนักเรียนห้องเรียน SMP ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 - จนถึงปัจจุบัน จำนวน 12 โรงเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการพัฒนาห้องวิทยาศาสตร์ ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 1,132 คน นอกจากนั้น ผู้บริหารและครูวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการอีกไม่น้อยกว่า 120 คน ยังได้รับประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของโรงเรียน อีกทั้งผู้ปกครองและชุมชนยังไม่รับประโยชน์ทางอ้อม มีความภาคภูมิใจ รับรู้และเข้าใจเป้าหมานในโครงการ SMP ยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการพัฒนาในพื้นที่อีกไม่น้อยกว่า 2,000 คน ซึ่งในปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมามีนักเรียน ม.6 SMP รุ่นแรก สำเร็จการศึกษา 238 คน และในปีการศึกษา 2562 นักเรียน ม.6 SMP รุ่นที่สอง สำเร็จกรศึกษา 205 คน ในจำนวนนี้ มีผู้ศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 40 ได้รับโอกาสศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ ในมหาวิทยาลัยใหญ่ที่มีชื่อเสียงจำนวนมากและมีแนวโน้มในทางที่ดีในอนาคตต่อไป
(งบประมาณตามแผนบูรณาการยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 14,963,900 บาท)
แนวทางในการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 คณะกรรมการดำเนินงานฯ มีมติเห็นร่วมกัน ว่าควรจะพัฒนาและประเมินผลการดำเนินงานโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ทั้ง 9 โรงเรียน ซึ่งจะมีนักเรียนสำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 รุ่นแรก จำนวนประมาณ 240 คน ที่จะต้องเตรียมตัวสอบศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี และมีนักเรียนในโครงการระดับชั้น ม.4-6 จำนวน ประมาณ 750 คน ที่อยู่ในกระบวนการพัฒนาทั้งนี้ อยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลและพัฒนาโครงการ เพื่อเสนอของงบประมาณในแผนบูรณาการ "การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี พ.ศ. 2562" ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาให้เป็นต้นแบบการพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สนับสนุนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ จชต. อย่างยั่งยืน และนำไปขยาผลต่อไปในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โครงการฯ ได้รับงบประมาณสนับนสนุนการพัฒนานักเรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นการสร้างการรับรู้ ความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ต่อนโยบายของรัฐในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาใน จชต. โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ โดยในปีการศึกษา 2562 มีนักเรียน ม.6 รุ่นแรกจำนวน 238 คน ในจำนวนมีนักเรียนออกกลางคัน จำนวน 9 คน และสำเร็จการศึกษา จำนวน 229 คน โดยผลจากการติดตามพบว่า
- ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณิตศาสตร์ จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 34.93
- ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านสังคมศาสตร์และการศึกษา จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 6.11
- ศึกษาต่อศาสนา จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 27.52 (จบการศึกษาปี 2562 และคาดว่าจะศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในปีการศึกษา 2563)
- ประกอบอาชีพ/ทำงาน จำนวน 6 คิดเป็นร้อยละ 2.62
- อื่น ๆ จำนวน 66 คน คิดเป็นร้อยละ 28.82
จากข้อมูลการศึกษาต่อข้างต้น มีนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณิตศาสตร์ จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 7.69 จากจำนวนผู้ศึกษาต่อปริญญาตรีในด้านนี้ และด้านสังคมศาสตร์และการศึกษา จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.33 จากจำนวนผู้ศึกษาต่อด้านนี้
(งบประมาณตามแผนบูรณาการยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 33,990,900.00 บาท)
การดำเนินงานโครงการ SMP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีการขยายโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายเพิ่มขึ้นอีก จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ (1) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ตำบลนังสาเรง อำเภอเมือง (2) โรงเรียนคัมภีร์วิทยา ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา และ (3) โรงเรียนประทีปวิทยา ตำบลลิดล อำเภอเมือง ซึ่งทั้งสามโรงเรียนจะได้รับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมนักเรียน ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจในโครงการ และสร้างความร่วมมือให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยการทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MoU) กับเครือข่ายทำงานแบบบูรณาการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (บูรณาการภายในระดับคณะ สำนัก และหลักสูตร) สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา และสำนักงานการศึกษาเอกชนระดับอำเภอ ผู้บริหารโรงเรียน และ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ในฐานะสักขีพยาน เป็นหน่วยติดตามประเมินผลการใช้งบประมาณ
สำหรับเป้าหมายในการดำเนินงานโครงการ SMP ในปี 2561 โครงการมุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ดำเนินงานในลักษณะใช้โครงการเป็นฐาน (Project-based) ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลผลิต (Output) ทั้งในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยมีเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาชีววิทยา สาขาคอมพิวเตอร์ หน่วยงานพัฒนาด้านไอซีทีในโรงเรียน ได้แก่ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานพัฒนาทักษะด้านภาษา ได้แก่ ศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย เข้ามาร่วมดำเนินงานในกิจกรรมที่สำคัญ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสุดท้าย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โครงการ SMP มีคะแนนเฉลี่ย ONET วิชาหลักอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 80 จากจำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และมีนักเรียนสำเร็จการศึกษาแล้วศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ หรือที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ปีที่ 2: ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
(งบประมาณตามแผนบูรณาการยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 8,532,200 บาท)
จากการดำเนินงานโครงการ SMP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นพัฒนาโครงการ SMP ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญ จำนวน 6 โรงเรียน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รับผิดชอบในจังหวัดยะลา ตามนโยบายการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า) โดยการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ โดยเฉพาะการพัฒนานักเรียนเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ทั้งนี้โดย ผ่านการเสนอโครงการของบประมาณตาม "แผนบูรณาการการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้" ซึ่งมีฝ่ายเลขานุการของแผนบูรณาการนี้ คือ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สล.คปต. )
เป้าหมายของการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2559 เน้นการพัฒนาและปรับปรุงห้องปฏิบัติการ จัดหาครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ การปรับปรุงหลักสูตรร่วมกับเครือข่าย การพัฒนาทักษะการสอนปฏิบัติการให้แก่ครูในโครงการ การพัฒนาความพร้อมของนักเรียนระดับชั้น ม. 4 การติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่ รวมทั้งการประชุมปฏิบัติการร่วมกันของมหาวิทยาลัย สำนักงานการศึกษาเอกชน โรงเรียน นักเรียนและผู้ปกครอง เพื่อสรุปผลการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2559 ร่วมกัน ทั้งนี้โดยผลจากการวิจัยประเมินผลโครงการในปี 59 มาปรับปรุงกระบวนการทำงานของโครงการ
สำหรับการดำเนินงานโครงการ SMP โดยคณะกรรมการดำเนินงานฯ มีความเห็นว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จะยังไม่มีการขยายพื้นทีจำนวนโรงเรียนเพิ่มเติม แต่จะเน้นการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน การจัดการห้องปฏิบัติการ การพัฒนาครูผู้สอน การประเมินความสำเร็จของโครงการอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้กระบวนการวิจัยต่อเนื่องจากการวิจัยติดตามประเมินผลโครงการจากปี 2559 โดยใช้ CIPP Model ทั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการขยายโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเพิ่มในปี 2561 อีกจำนวน 3 โรงเรียน เพื่อนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปขยายผลในโรงเรียนรุ่นใหม่ในโครงการ SMP และมีการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ ร่วมกับสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา รวมทั้งขยายผลสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานในโครงการ SMP และนโยบายภาครัฐสู่ประชาชน ได้แก่ ผู้ปกครอง ชุมชน หมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการของภาครัฐแบบมีส่วนร่วม ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาในพื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไป
ปีแรก: ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
(งบประมาณตามแผนบูรณาการยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 30,000,000 บาท)
หลักการและเหตุผล
นโยบายการศึกษาของไทย
เน้นให้ความสำคัญและส่งเสริมการจัดการเรียนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ทั้งนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ เพราะบัณฑิตในสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่เป็นผลผลิตในขั้นสุดท้ายของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่มีบทบาทเป็นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ สร้างโอกาสในการแข่งขันกับนานาชาติในอนาคตได้
เพราะเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการวิจัย คิดค้น ประดิษฐ์ และพัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ
เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งสาขาต่างๆ ที่สำคัญและขาดแคลนอยู่ขณะนี้
ได้แก่ แพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ นักเทคโนโลยีและนักสารสนเทศ
เป็นต้น
ดังนั้น
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 สนใจเข้าเรียนต่อในมัธยมศึกษาตอนปลาย คือ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 ในโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
จึงต้องจัดให้มีโครงการ “การจัดตั้งห้องเรียน Science and Mathematics Program: SMP ในโรงเรียนพื้นที่เป้าหมายจังหวัดยะลา”
โดยเลือกพัฒนากลุ่มเป้าหมายที่เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา
จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่ (1) โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ต.ลำใหม่ อ.เมือง (2) โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ต.บาลอ อ.รามัน (3) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ต.สะเตง อ.เมือง (4) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์ ต.ปะแต อ.ยะหา (5) โรงเรียนสุทธิศาสน์ ต.บ้านแหร อ.ธารโต และ (6) โรงเรียนดำรงวิทยา
ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา
ซึ่งมีความพร้อมด้านนโยบายการบริหารและแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการ SMP ของมหาวิทยาลัยฯ โดยมีเป้าหมายตั้งห้อง SMP โรงเรียนละ 1 ห้อง
รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องละ 40 คนเริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอน
ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ด้วยการสนับสนุน ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานโครงการดังกล่าว
โดยกองอำนวยการร่วมรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า)
และคาดว่านักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการห้องเรียน SMP จะมีโอกาสในการแข่งขันสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หรือในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในท้องถิ่นและในส่วนกลาง ในสาขาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ
80 ของนักเรียนทั้งหมด
และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่จังหวัดยะลาจะให้ความสนใจเรียนและศึกษาต่อในสาขาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
และในสาขาที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น
(งบประมาณตามแผนบูรณาการยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 30,000,000 บาท)
หลักการและเหตุผล
![]() |
คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU ลงพื้นที่โรงเรียนเครือข่ายในโครงการ |
แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ยังคงขาดแคลนบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
ปัญหาสำคัญคือ มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาให้ความสนใจเลือกเรียนในโปรแกรมหรือสาขาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จำนวนน้อย เพียงประมาณร้อยละ
30 ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
(สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย, 2555) ที่เหลืออีกร้อยละประมาณ
70 สนใจเรียนด้านสังคมศาสตร์ การศึกษาและมนุษยศาสตร์ อีกทั้ง
นักเรียนที่สนใจเรียนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ก็ยังขาดความพร้อมและขาดความถนัดเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ไม่สามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศในระดับสูงได้ ทั้งนี้ รวมถึงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ด้วย
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน คือ นักเรียนในพื้นที่เลือกเรียนโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์น้อยมาก
โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในแต่ละจังหวัด ซึ่งสามารถประเมินได้จากสถิติการรับนักศึกษาเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีในสาขาต่างๆ
ของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่ต้องเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่แต่ละปีการศึกษามากกว่า
1 รอบ ทั้งนี้ เพื่อรับสมัครนักศึกษาให้ครบตามแผนการรับนักศึกษาใหม่ในแต่ละสาขาวิชา ซึ่งมีมากกว่า 14 สาขาวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการเกษตร วิทยาศาสตร์การอาหาร สุขศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาการคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ศึกษา (ค.บ.) เป็นต้น
สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในจังหวัดยะลา ถือเป็นพื้นที่ให้บริการด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่ยังขาดความพร้อมสำหรับการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทั้งในด้านงบประมาณ
บุคลากร (ครูสำเร็จการศึกษาตรงตามสาขา) ห้องปฏิบัติ ครุภัณฑ์และวัสดุ ขาดการแนะแนวและสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ที่สำคัญคือ โรงเรียนเองยังขาดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการห้องเรียนไปสู่ความเป็นเลิศในด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
การพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงนับเป็นบทบาทและหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นโดยตรง ที่จะต้องส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่
โดยการให้บริการวิชาการแก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในจังหวัดยะลา
