วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประชุมปฏิบัติเพื่อการกำหนดแผนการดำเนินงานและเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ ปี พ.ศ. 2560

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.30-15.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศโครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  จัดประชุมปฏิบัติการคณะกรรมการดำเนินงานในโครงการ SMP ร่วมกับผู้บริหารโครงการห้องเรียน SMP จากทั้ง 6 โรงเรียนเครือข่าย โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฯ เป็นประธานในการจัดประชุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันกำหนดแผนการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ และการจัดกิจกรรมของโครงการไม่ซ้ำซ้อนกับกิจกรรมปกติของแต่ละโรงเรียน อีกทั้งเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการให้เป็นไปตามเป้าของการเบิกจ่ายงบประมาณ

     สำหรับกิจกรรมที่จะดำเนินงานเร่งด่วนในเดือนธันวาคม 2559 นี้ เพื่อการประชาสัมพันธ์รับนักเรียนใหม่รุ่นที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2560 ซึ่งจะเริ่มรับสมัครในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2560  โดยมีทั้งนักเรียนประเภทโควต้าจากโรงเรียนเดิม และโรงเรียนอื่นๆ รวมทั้งการสอบคัดเลือก โดยมีเป้าหมายยอดนักเรียนใหม่ในโครงการ SMP รุ่นที่ 2 จำนวนประมาณ 260 คน  โปรดติดตามรายละเอียดของการรับสมัครในเว็บไซต์ของโครงการ และเว็บไซต์ของโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 6 โรงเรียน
   นอกจากนั้น ที่ประชุมยังร่วมกันพิจารณาประเด็นการกำหนดเรื่องที่จะจัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่ครูผู้สอนในโครงการ โดยที่ประชุมเสนอให้จัดประชุมปฏิบัติการ 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นเรื่องของทักษะการวิจัยพัฒนาการเรียนรู้หรือวิจัยชั้นเรียน ครั้งนที่ 2 เรื่อง การจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการและการจัดการเรียนรู้ (ต่อยอดจากการอบรมเรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยทีมวิทยากรจาก โรงเรียนดรุณสิกขาลัย มหาวิทยาลัยพระจอมเกล่าธนบุรี)
 

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประชุมปฏิบัติการกรรมการเครือข่าย SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา


ภาพเพิ่มเติม...
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 เวลา 10.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะกรรมการดำเนินงานในโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ฯ หรือโครงการ SMP จัดประชุมปฏิบัติการเพื่อร่วมกันกำหนดแผนงาน กิจกรรมในการดำเนินงานร่วมกัน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560  ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นโครงการต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2559 โดยการบันทึกความร่วมมือ (MoU) ดำเนินงานร่วากันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เครือข่ายทั้ง 6 โรงเรียน และสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา โดยมีผู้แทนจากโครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้บริหาร ผู้สอนในโครงการ SMP จาก 6 โรงเรียน และผู้แทนจากสำนักงานการศึกษาเอกชนประจำอำเภอและจังหวัดยะลา กว่า 60 คน ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดี ประธานที่ปรึกษาโครงการ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ เปิดการประชุม และให้นโยบายในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดยะลา ทั้งนี้ ได้กล่าวชื่นชมผลการดำเนินงานโครงการ SMP ของมหาวิทยาลัยและขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ยินดีเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนโครงการนี้ให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเอง มีหลักสูตรทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้นักเรียนเลือกศึกษาต่อ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีความพร้อมทั้งคณาจารย์ ห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากเพียงพอ
 นอกจากนั้น ในการประชุมครั้งนี้ ยังมีการนำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการ SMP ในปีงบประมาณ 2559 ที่ผ่านมาโดย ดร.สายใจ แก้วอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร และมีการนำเสนอผลการวิจัยประเมินโครงการประจำปี 2559 ที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ผลการดำเนินงานใน
โครงการ SMP ในปีงบประมาณที่ผ่านมา มีผลการวิจัยอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลการประเมินจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปัญหาอุปสรรคสำคัญที่พบ ได้แก่ ความชัดเจนในระยะแรกของการการดำเนินงานโครงการ การปรับปรุงสิ่งก่อสร้างห้องปฏิบัติการของแต่ละโรงเรียน ซึ่งมีขนาดและมาตรฐานที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความล่าช้าในการออกแบบ การกำหนดรายการประกอบแบบ (BoQ) ที่สอดคล้องกับราคากลางหรือราคามาตรฐาน การขาดช่างฝีมือแรงงานในพื้นที่  นอกจากนั้น เรื่องเวลาที่จำกัดสำหรับนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม มีวันหยุดเรียนบ่อย เป็นต้น
     สำหรับข้อเสนอแนะจากที่ประชุม ทางผู้แทนสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ได้ให้ความเห็นว่า โครงการ SMP เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในพื้นที่ เพราะเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาครูผู้สอน และการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หันมาสนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือที่เกี่ยวข้อง  ส่วนทางผู้บริหารโรงเรียน ให้ข้อเสนอแนะว่า ทางสำนักงานการศึกษาเอกชนมีโครงการพัฒนาโรงเรียนในสังกัดอยู่ ควรพิจารณาว่าสามารถทำร่วมกันกับโครงการ SMP ได้หรือไม่ จะได้เป็นการทำงานอย่างบูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะใน 6 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ SMP


วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประชุมปฏิบัติการกรรมการเครือข่าย SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา


ภาพเพิ่มเติม...
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 เวลา 10.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะกรรมการดำเนินงานในโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ฯ หรือโครงการ SMP จัดประชุมปฏิบัติการเพื่อร่วมกันกำหนดแผนงาน กิจกรรมในการดำเนินงานร่วมกัน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560  ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นโครงการต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2559 โดยการบันทึกความร่วมมือ (MoU) ดำเนินงานร่วากันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เครือข่ายทั้ง 6 โรงเรียน และสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา โดยมีผู้แทนจากโครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้บริหาร ผู้สอนในโครงการ SMP จาก 6 โรงเรียน และผู้แทนจากสำนักงานการศึกษาเอกชนประจำอำเภอและจังหวัดยะลา กว่า 60 คน ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดี ประธานที่ปรึกษาโครงการ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ เปิดการประชุม และให้นโยบายในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดยะลา ทั้งนี้ ได้กล่าวชื่นชมผลการดำเนินงานโครงการ SMP ของมหาวิทยาลัยและขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ยินดีเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนโครงการนี้ให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเอง มีหลักสูตรทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้นักเรียนเลือกศึกษาต่อ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีความพร้อมทั้งคณาจารย์ ห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากเพียงพอ
 นอกจากนั้น ในการประชุมครั้งนี้ ยังมีการนำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการ SMP ในปีงบประมาณ 2559 ที่ผ่านมาโดย ดร.สายใจ แก้วอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร และมีการนำเสนอผลการวิจัยประเมินโครงการประจำปี 2559 ที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ผลการดำเนินงานใน
โครงการ SMP ในปีงบประมาณที่ผ่านมา มีผลการวิจัยอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลการประเมินจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปัญหาอุปสรรคสำคัญที่พบ ได้แก่ ความชัดเจนในระยะแรกของการการดำเนินงานโครงการ การปรับปรุงสิ่งก่อสร้างห้องปฏิบัติการของแต่ละโรงเรียน ซึ่งมีขนาดและมาตรฐานที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความล่าช้าในการออกแบบ การกำหนดรายการประกอบแบบ (BoQ) ที่สอดคล้องกับราคากลางหรือราคามาตรฐาน การขาดช่างฝีมือแรงงานในพื้นที่  นอกจากนั้น เรื่องเวลาที่จำกัดสำหรับนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม มีวันหยุดเรียนบ่อย เป็นต้น
     สำหรับข้อเสนอแนะจากที่ประชุม ทางผู้แทนสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ได้ให้ความเห็นว่า โครงการ SMP เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในพื้นที่ เพราะเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาครูผู้สอน และการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หันมาสนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือที่เกี่ยวข้อง  ส่วนทางผู้บริหารโรงเรียน ให้ข้อเสนอแนะว่า ทางสำนักงานการศึกษาเอกชนมีโครงการพัฒนาโรงเรียนในสังกัดอยู่ ควรพิจารณาว่าสามารถทำร่วมกันกับโครงการ SMP ได้หรือไม่ จะได้เป็นการทำงานอย่างบูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะใน 6 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ SMP


วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กิจกรรมประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP ปี 2560


คณะกรรมการดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program: SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อเตรียมจัดทำแผนดำเนินงานและปรับกระบวนการทำงานในโครงการให้มีประสิทธิภาพ สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมาย และลดปัญหาในการดำเนินงาน โดยอาศัยข้อมูลสรุปจากการสัมมนาปิดโครงการปี 2559

    นอกจากนั้น คณะผู้บริหารที่รับผิดชอบโครงการ SMP ยังเชิญผู้แทนจากทุกหลักสูตรที่เกี่ยวข้องของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คอมพิวเตอร์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ SMP เพื่อรวมพลังของคณาจารย์บุคลากร ร่วมกันทำงานแบบบูรณาการอย่างสร้างสรรค์ ช่วยยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โปรแกรมวิทย์-คณิต ใน 6 โรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ คาดว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 การจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน จะดำเนินการอย่่างต่อเนื่อง จนเป็นผลสำเร็จด้วยดี และคาดหวังว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร จะมีนักเรียนในโครงการ SMP ในปีการศึกษา 2561 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 รวมไม่น้อยกว่า 750 คน โดยจะมีนักเรียนสนใจศึกษาต่อในสาขาทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ 







วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ลงพื้นที่โรงเรียนดำรงวิทยา อ.บันนังสตา จ.ยะลา

     วันที่ 2 พฤศจิกายน 2559 ทางคณะเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ในโครงการ SMP ได้ลงพื้นที่จัดห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์โรงเรียนเครือข่าย SMP ณ โรงเรียนดำรงวิทยา 
     จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ พบว่า สภาพการดำเนินการก่อสร้างและปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ อยู่ระหว่างการติดตั้ง ซึ่งทางทีมงานยังไม่สามารถเข้าไปจัดครุภัณฑ์ และวัสดุ-อุปกรณ์ต่างๆ ได้ 

     สำหรับห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ได้มีการจัดโต๊ะ เก้าอี้ อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยตามแบบแผนที่วางไว้ ซึ่งสามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ในระดับหนึ่ง





 

     ในการลงพื้นที่จัดห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือ และอำนวยความสะดวก จากผู้บริหาร คณาจารย์ และนักเรียนในโครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยาเป็นอย่างดี

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จ.ยะลา


          ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2559 ถึง 1 พฤศจิกายน 2559 เจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์และคณะ ได้ลงพื้นที่จัดห้องปฏิบัติการห้องวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียนเครือข่าย SMP ณ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการ และการบริการให้แก่นักเรียนในโครงการ SMP
       






       
       
          โดยเริ่มจาการทำความสะอาดทั้ง 2 ห้อง จัดโต๊ะ เก้าอี้ ให้เป็นไปไปตามแบบที่ได้มีการออกแบบไว้ ซึ่งแบบมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตามสภาพห้องแต่ละห้อง ได้จัดครุภัณฑ์ วัสดุ-อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ และสือคณิตศาสตร์ เข้าตู้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย



          ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ และเด็กนักเรียนในโครงการ SMP ที่อำนวยความสะดวกในการจัดห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์