แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ห้องปฏิบัติวิทยาศาสตร์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ห้องปฏิบัติวิทยาศาสตร์ แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง สมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน


    เมื่อวันที่ 25 เดือนสิงหาคม 2563 เวลา 16.30 - 18.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง สมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีอาจารย์ซารีฟะห์ อาวัง เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาสมบัติของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน

หลักการ
    สารประกอบไฮโดรคาร์บอน หมายถึงสารประกอบอินทรีย์ที่มีเฉพาะธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ ในธรรมชาติพบสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดในแหล่งต่าง ๆ เช่น ยางไม้ ถ่านหิน ปิโตรเลียม เช่น CH4 , C2H6 , C2H4

สมบัติของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนได้ ดังนี้
1) การละลายน้ำ
การละลายของสารในตัวทำละลายเกิดจากอนุภาคของสาร แทรกเข้าไปอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลาย และเกิดแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกัน สารที่มีขั้วจะละลายได้ในตัวทำละลายที่มีขั้ว ส่วนสารที่ไม่มีขั้วจะละลายได้ดีในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายมีขั้วสารที่ละลายในน้ำจึงควรเป็นโมเลกุลมีขั้ว (Polar molecule) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน เช่น เฮกเซน (C6H14) เฮกซีน (C6H12) และเบนซีน (C6H6) เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว (Non polar molecule) มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ จึงไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ที่ไม่มีขั้ว
2) การเผาไหม้
เมื่อพิจารณาการเผาไหม้ ปรากฏว่า เฮกเซนติดไฟให้เปลวไฟสว่างไม่มีควัน เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ส่วนไซโคลเฮกซีนติดไฟง่ายให้เปลวไฟสว่างมีเขม่าและเบนซีนติดไฟได้ง่าย ให้เปลวไฟสว่างมีควันและเขม่ามาก เป็นการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ถ้าพิจารณาอัตราส่วน C : H ในแต่ละสารจะได้
   
                                การละลายน้ำ                                                                  การเผาไหม้