แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ลงพื้นที่ตรวจสอบครุภัณฑ์และพัสดุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ณ โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ

          เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.30 น. คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU นำโดย ผศ.ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้รับผิดชอบโครงการฯ พร้อมด้วยอาจารย์ฐิติรัตน์ นิลวิจิตร อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย อาจารย์อลภา ทองไชย และนายไฮดี แวเด็ง ลงพื้นที่ตรวจสอบครุภัณฑ์และพัสดุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ณ โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เพื่อดำเนินการตรวจสอบพัสดุ ว่าการรับการจ่ายถูกต้องต้องหรือไม่ พัสดุคงเหลือมีตัวอยู่ตรงตามบัญชีหรือทะเบียนหรือไม่ มีพัสดุชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือสูญไปเพราะเหตุใด หรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้ในหน่วยงานของรัฐต่อไป ให้ดำเนินการตรวจสอบพัสดุในวันเปิดทำการวันแรกของปีงบประมาณเป็นต้นไป รวมถึงสภาพการใช้งานห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ทางโครงการ SMP-YRU ต้องเสนอรายงานผลการตรวจสอบพัสดุส่งไปยังมหาวิทยาลัยฯ เพื่อให้ทางมหาวิทลัยดำเนินการขั้นต่อไป

         นอกจากนี้ ทางโรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิได้นำเสนอผลการดำเนินงานของโรงเรียนได้ตามแผนที่กำหนดไว้ ประจำปีการศึกษา 2565 โดยส่งเสริมพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง เน้นการจัดการเรียนการสอน อาทิ ส่งเสริมการเรียนการสอนนอกเวลา (สอนพิเศษ) การจัดการเรียนด้านปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และอีกมากมาย รวมถึงพบปะกับนักเรียนห้องเรียน SMP




วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564

การทดลองปฏิบัติการเคมี ม.4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ  ร่วมทดลองเรียนปฏิบัติการเคมี จำนวน 5 บท ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน ตามโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเวลาเรียนและทำการทดลองไม่เพียงพอในชั้นเรียนปกติ เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพื่อสร้างทักษะปฏิบัติการทดลองจากการเรียนรู้ด้วยสื่อคลิปวีดิทัศน์สาธิตขั้นตอนการทดลองและทำกิจกรรมในสภาพแวดล้อมของบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง ร่วมกับชั้นเรียนปกติ (Face-to-Face) ในห้องปฏิบัติการทดลอง เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี

      สำหรับเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง 5 บทปฏิบัติการ คณะครูผู้สอนในโครงการห้องเรียน SMP-YRU ร่วมกันตอบแบบสำรวจ เห็นว่าเนื้อหาบทปฏิบัติการที่สำคัญในระดับชั้น ม.4 รายวิชาปฏิบัติการเคมี จำนวน 10 บทเรียนที่ควรให้นักเรียนทดลองใน 1 ปีการศึกษา โดยใน 1 ภาคเรียนสำหรับการทดลองครั้งนี้ ได้คัดเลือกมาจำนวน 5 บทเรียนปฏิบัติการดังนี้


 

  • บทปฏิบัติการที่ 1 การทดลองวัดปริมาตรโดยใช้อุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ และการวัดมวลโดยใช้เครื่องชั่ง
  • บทปฏิบัติการที่ 2 การออกแบบและทดลองเปรียบเทียบความแม่นในการวัดปริมาตรน้ำด้วยกระบอกตวงที่มีขนาดต่างกัน
  • บทปฏิบัติการที่ 5 การทดลองการศึกษาเส้นสเปกตรัมของธาตุ
  • บทปฏิบัติการที่ 6 สีของสารประกอบ
  • บทปฏิบัติการที่ 7 การทดลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ
 
 
 
     
คาดว่าผลการวิจัยจะได้ต้นแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในรายวิชาอื่น ๆ เพื่อขยายผลไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ในโครงการ SMP-YRU ซึ่งได้มีการพัฒนาความพร้อมของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ เครื่องมือ วัสดุการทดลองไว้พร้อมแล้ว และที่สำคัญเป็นการสนับสนุนให้ทุกโรงเรียนในโครงการ ได้ใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อย่างคุ้มค่า เปิดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการทดลองได้ด้วยตนเอง 

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ลงพื้นที่โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ เพื่อทดลองบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน วิชาปฏิบัติการเคมี ม.4

      วันนี้ (12 ธ.ค. 63) อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี และทีมนักวิจัยในโครงการ SMP-YRU ลงพื้นที่เพื่อเตรียมการทดลองงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสานรายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ณ โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเวลาเรียนไม่เพียงพอ ผู้เรียนขาดโอกาสในการลงมือปฏิบัติ ขาดโอกาสทดลองในห้องปฏิบัติการ ซึ่งได้มีการจัดเตรียมห้องปฏิบัติ อุปกรณ์และสารเคมีสำหรับการทดลองไว้อย่างครบถ้วน การใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งให้นักเรียนได้เรียนรู้ก่อนทำการทดลอง (Lab) และส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ละคนได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม/ทีม แบ่งงานกันทำ ปฏิบัติตามขั้นตอนการทดลองที่ได้นำเสนอไว้ในบทเรียนเป็นคลิปวิดีโอ พร้อมเนื้อหาประกอบอย่างครบถ้วน 

     ทั้งนี้ ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำเป็นหลัก เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เหล่านี้ จะเป็นการแก้ไขปัญหาข้อจำกัดด้านเวลา และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนด้วยตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิต เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้อีกด้วย 

    เมื่อบทเรียนได้ทดลองและมีการประเมินผลประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล จะได้เผยแพร่ให้แก่โรงเรียนอื่น ๆ อีก 12 โรงเรียน ที่อยู่ในเครือข่่ายโครงการ SMP-YRU  

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563

รายงานตัวนักเรียนใหม่ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ




🔽เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2563 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนสตรึอิสลามวิทยามูลนิธิ นักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ มารายงานตัวนักเรียนใหม่ปีการศึกษา 2563 ทั้งหมด 32 คน

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2563

การปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ

          เมื่อวันที่ มิถุนายน พ.ศ. 2563 ได้ลงพื้นที่โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ เพื่อดูความคืบหน้าการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 



วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563

การปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ

                           


       🔽เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ได้ลงพื้นที่โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ เพื่อดูความคืบหน้าการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยช่างจากบริษัท ออฟฟิเชียล อีควิปเม้น แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้เข้ามาปรับปรุงห้องตามแบบแผนการก่อสร้างและเป็นไปอย่างเรียบร้อย ซึ่งสามารถใช้ห้องปฏิบัติการได้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 

ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ MOU โรงเรียนเครือข่ายโครงการ (SMP)



       🔼เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ MOU โรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP โดยมี นายอีรฟาน สุหลง ผู้จัดการโรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ MOU โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP)