แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การศึกษาเพื่อความมั่น แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การศึกษาเพื่อความมั่น แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

SMP-YRU ได้รับงบสนับสนุนงบประมาณ ปี พ.ศ. 2565 ให้ดำเนินการต่อเนื่อง (โรงเรียนใหม่อีก 3 โรงเรียน และร่วมมือพัฒนากับโรงเรียนเดิมอีก 12 โรงเรียน)

      

       การนำเสนอโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หรือ โครงการ SMP-YRU  ภายใต้แผนบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ : โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ในแนวทางการศึกษาเพื่อความมั่นคง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 (ทางออนไลน์) นับว่าเป็นโอกาสดีทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาของศูนย์สันติวิธี (สสว.) กอ.รมน.ภ.4 สน. ที่ได้รับงบประมาณแผ่นดินสนับสนุนให้พัฒนาห้องเรียน SMP-YRU โรงเรียนใหม่อีกจำนวน 3 โรงเรียน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะได้ดำเนินการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในเครือข่ายในโรงเรียนเดิมอีก 12 โรงเรียน อย่างต่อเนื่องต่อไป รวมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จะมีนักเรียนในโครงการ SMP-YRU ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกัน  จำนวน  15 โรงเรียน มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในปีการศึกษาหน้า และที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วในโครงการนี้กว่า 2,000 คน (ดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559) ผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติในห้องทดลอง (Lab) สร้างทักษะการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เป็นกลยุทธ์การสอนเป็นหลัก สร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 มีโอกาสในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตนเองสนใจ สร้างโอกาสให้แก่เยาวชนในพื้นที่ในการประกอบอาชีพที่มั่นคงในอนาคต เป็นห้องเรียนที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน 




       ขอขอบคุณมหาวิทยาลัย  ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และคณะทำงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการนี้ อย่างต่อเนื่องมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีผลงานวิจัยประเมินความสำเร็จของโครงการที่เป็นรูปธรรม มีนักเรียนในโครงการจบชั้น ม. 6 และศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมากกว่าร้อยละ 40 ที่เหลือศึกษาต่อด้านสังคมศาสตร์ ด้านศาสนา ประกอบอาชีพ และอื่น ๆ 

         ตัวอย่างที่นักเรียนชั้น ม. 6  สอบเข้าศึกษาต่อปริญญาตรีได้ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์  ได้แก่ แพทยศาสตร์ 2 คน แพทย์แผนไทย 3 คน เทคนิคการแพทย์ 4 คน วิศวกรรมศาสตร์ 11 คน พยาบาลศาสตร์ 11 คน สาธารณสุขศาสตร์และอาชีวอนามัย 10 คน เทคนิคยานยนต์ 3 คน วิทยาการคอมพิวเตอร์ 10 คน นอกจากนั้นเป็นสาขา วิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์อุตสาหกรรม เคมีเทคโนโลยีและนวัตกรรม คณิตศาสตร์  วิทยการธุรกิจสุขภาพ วิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและความงาม ทั้งนี้มีนักเรียนสนใจเข้าศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และสาขาอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 54 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2564) 

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

โครงการ SMP-YRU กับความสำเร็จของโครงการ: คำบอกเล่าของนักเรียนในโครงการ

 
         มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (http://www.yru.ac.th) มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ เป็นเครือข่ายการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา สร้างโอกาสทางการศึกษา ปูพื้นฐานสร้างอาชีพในอนาคต โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา โดยมหาวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินงานโครงการ SMP-YRU ภายใต้แผนงานบูรณาการการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2564 ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 ปี โดยดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกับโรงเรียนในเครือข่าย จำนวน 12 โรงเรียน พัฒนาห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนผ่านการพัฒนาในโครงการนี้จาก 12 โรงเรียน รวมจำนวน 1,799 คน และมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำเร็จการศึกษาไปแล้ว 3 รุ่น สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ได้แก่ แพทย์ศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล สาธารณสุขวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์การอาหาร ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์  โดยเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 40 ของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา ม.6 ศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ส่วนที่เหลือศึกษาต่อด้านสังคมศาสตร์ ศาสนา และประกอบอาชีพ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ของโครงการ SMP-YRU นับเป็นที่น่าพึงพอใจ (จากผลการวิจัยติดตามประเมินผลโครงการ)  

    สำหรับในปีการศึกษา 2564 ในท่ามกลางการแพร่ระบาดเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 ทำให้การพัฒนาและส่งเสริมห้องเรียนพิเศษในโครงการ SMP-YRU มีปัญหาและอุปสรรค อย่างไรก็ตาม ด้วยความพร้อมและโอกาสในการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ความพร้อมของสื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาแบบออนไลน์ (http://e-smp.yru.ac.th) ทำให้นักเรียนในโครงการประสบความสำเร็จ ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีได้หลากหลายสาขา ... โดยเฉพาะสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์  จึงเสนอคลิปการกล่าวความรู้สึกของนักเรียนในโครงการบางส่วน เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนรุ่นน้อง ให้มีความพยายามและมุ่งมั่นเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ และสามารถศึกษาต่อปริญญาตรีในสาขาที่ตนเองชอบและถนัดต่อไป

   

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2562

เสนอรายละเอียดและชี้แจงงบประมาณโครงการ SMP ปี 2563

วันที่ 2 ธันวาคม 2562 ณ อาคารรัฐสภาใหม่ คณะผู้บริหารและกองนโยบายและแผน #มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกันนำเสนอรายละเอียดและชี้แจงงบประมาณโครงการพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathemetics Program: SMP) ในโรงเรียนเครือข่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ต่อคณะอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นคณะกรรมการธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563  ผลการชี้แจงรายละเอียดและการเสนองบประมาณ ผ่านไปได้ด้วยดี ยังเหลือในขั้นตอนเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาต่อไป
    โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ยังคงดำเนินการในโครงการห้องเรียน SMP อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในนโยบายภาครัฐ  ลดช่องว่างและสร้างโอกาสทางการศึกษา พัฒนานักเรียนเพื่อให้มีเจตคติและสนใจเรียนศึกษาต่อปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ และที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพและการมีงานทำของนักเรียนในอนาคต โดยเป้าหมายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กิจกรรมพัฒนาในโรงเรียนเครือข่าย SMP ยังคงพัฒนาโรงเรียนเดิม 9 โรงเรียน อย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาโรงเรียนใหม่อีก 3 โรงเรียน รวมทั้งหมด 12 โรงเรียน โดยจะมีนักเรียนในโครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวนทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 1,200 คน และนักเรียนสายวิทยาศาสตร์ห้องอื่น ๆ ที่จะได้รับโอกาส ได้ลงมือปฏิบัติ ได้ทดลองปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์มาตรฐาน และห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ของแต่ละโรงเรียน ทั้งนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายที่อยู่ในโรงเรียนที่อยู่ในโครงการ SMP ประมาณการว่าจะได้รับโอกาสและประโยชน์ ไม่น้อยกว่า 10,000 คน จากโครงการที่สนับสนุน นับเป็นโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาเพื่อความมั่นคงด้วยการกลไกทางการศึกษา สร้างความเข้าใจในนโยบายภาครัฐในพื้นที่ จชต. เกิดเจตคติที่ดีต่อการพัฒนาในพื้นที่ 

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

การลงพื้นที่ 3 โรงเรียนใหม่ในเครือข่ายโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2563


        เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำโดย ดร.ศริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร พร้อมด้วยคณะกรรมโครงการ SMP การลงพื้นที่ 3 โรงเรียนใหม่ในเครือข่ายโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2563 มีดังนี้ โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา โรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และโรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ  ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

        ในการลงพื้นที่โรงเรียนใหม่ในเครือข่ายโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2563 ครั้งนี้ เพื่อกำหนดแผน และแนวทางการพัฒนาปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ให้ได้มาตรฐาน จำนวนห้อง ๒ ห้อง ต่อ 1 โรงเรียน โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มุ่งเน้นพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ พัฒนาครูผู้สอนระบบการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาผู้เรียน มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ส่งเสริมให้นักเรียน ให้มีเจตคติ ทักษะ และสนับสนุนให้นักเรียนศึกษาต่อปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี หรือที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันมีโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP ทั้งหมดจำนวน 12 โรงเรียน แบ่งเป็น

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ปฏิบัติการฟิสิกส์ เรือง การศึกษาคลื่นกล

วันที่ 2 ตุลาคม 2562 เวลา 14.30– 16.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 smp ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การศึกษาคลื่นกล  โดยมี อ.นูรีดา กะลูแป อาจารย์ประจำวิชาฟิสิกส์ เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนปฏิบัติการ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดคลื่นนิ่ง

2.เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจคุณสมบัติของการเกิดคลื่นนำ้

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562

อบรมการทำ Portfolio เสริมสร้าง สมรรถนะสำหรับการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ด้วยแอพพลิเคชั่น CANVA


        วันที่ 1 ตุลาคม 2562 นายธวัชชัย ปราณขำ นักวิชาการศึกษา โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมด้วย นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP นางสาวฮาลีเมาะ เลาะแม นางสาวตัยยีบะห์ สะตาปอ และนางสาวมาซีเตาะห์ ปะดอแม ลงพื้นที่โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ จัดอบรมการทำ Portfolio เสริมสร้าง สมรรถนะสำหรับการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖


        การอบรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานของนักเรียน ในการสมัครเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการทำ Portfolio คือ แอพพลิเคชั่น CANVA (www.canva.com) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้แก้ไขภาพและสามารถออกแบบดีไซน์งานกราฟฟิก โดยใช้เครื่องมือที่มีอยู่ตัวแอพพลิเคชั่น เช่น รูปภาพ ข้อความ สติ๊กเกอร์ แม่แบบ และรูปทรงวัตถุต่างๆ อีกมากมาย สามารถใช้ งานผ่านโทรศัพท์ สมาร์ทโฟน โดยการโหลดแอพพลิเคชั่น และสามารถใช้ งานผ่านคอมพิวเตอร์ PC หรือ notebook โดยการเข้าใช้งานผ่านเว็บไชต์บราวเซอร์ (www.canva.com)

การศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิ ต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี


วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เวลา 14.30 – 16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 smp ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลอง เรื่อง ศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิ ต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี  โดยมี อ.สูไวนะ เบ็ญดาโอะอาจารย์ประจำวิชาเคมี เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วย

วัตถุประสงค์
1.ทดลองศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิ ต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
2.อธิบายผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี