วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เวลา 14.30 – 16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 smp ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลอง เรื่อง ศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิ ต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยมี อ.สูไวนะ เบ็ญดาโอะอาจารย์ประจำวิชาเคมี เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วย
1.ทดลองศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิ ต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
2.อธิบายผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเกิดปฏิกิริยาเคมี หมายถึง การที่สารตั้งต้น (reactant) เปลี่ยนไปเป็นสารใหม่หรือ เรียกว่า สารผลิตภัณฑ์(product) โดยปริมาณหรือความเข้มข้นของสารตั้งต้นจะลดลง แต่ปริมาณหรือความ
เข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้น
➤สารตั้งต้นผสมกันแล้วเกิดเป็นสารผลิตภัณฑ์ขึ้น ซึ่งจัดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ใน
การเปลี่ยนแปลงปริมาณสารมีระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงเร็วช้าต่างกันในการศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณสารที่เปลี่ยนไปกับช่วงเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงนั้นอยู่ในรูปความสัมพันธ์ที่เรียกว่า“อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
➤การวัดปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นหรือสารตั้งต้นที่ลดลง อาจทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับ
ลักษณะและสมบัติของสาร เช่น ชั่งมวลเมื่อสารเป็นของแข็ง วัดปริมาตรเมื่อสารเป็นก๊าซหรือวัด
ความเข้มข้นเมื่อเป็นสารละลาย ส่วนเวลาวัดเป็นวินาที นาที หรือชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปฏิกิริยา
ว่าจะเกิดเร็วช้าเพียงใด
วัสดุอุปกรณ์
1.แคลเซียมคาร์บอเนตแบบผง
2.แคลเซียมคาร์บอเนตแบบเม็ด
3.สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) 0.2 M
4.สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) 0.5 M
ในการทดลองนี้นักเรียนได้ศึกษาผลของความเข้มข้นของสารละลายไฮโดรคลอริก พื้นที่ผิวของแคลเซียมคาร์บอเนตและอุณหภูมิที่แตกต่างกัน
ภาพประกอบการทดลอง
วีดีโอ บรรยากาศการทดลอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น