วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

"พี่สอนน้อง" โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา

"พี่สอนน้อง" โดยนักเรียนในโครงการ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา


              เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2560 นักเรียนในโครงการ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ได้เข้าอาสาเข้าช่วยสอนในรายวิชา ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง การทดสอบกรดและเบส ให้แก่เด็กนักเรียนชั้น ม.1/1 โดยเนื้อหาดังกล่าว เป็นเนื้อหาที่นักเรียน SMP เพิ่งได้เรียนมา ทำให้เด็กได้ประยุกต์ใช้อย่างเต็มที่ นับเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้เด็กได้บูรณาการกับเนื้อหาที่ได้เรียนมานำมาประยุกต์ใช้ จากที่เป็นผู้รับเปลี่ยนมาเป็นผู้ให้ และยังเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เด็กได้จดจำเนื้อหาผ่านการสอนผู้อื่น อีกทั้งเด็กได้ความกล้าแสดงออก และรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แก่โรงเรียน

วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560

แลปปฏิบัติการ เรื่อง ปริมาตรของอากาศในการหายใจออก

วัสดุอุปกรณ์

           1.  ขวดพลาสติกใสความจุ  5,000  ml   
              2.  บีกเกอร์ขนาด  500 ml     
              3.  ปากกาสำหรับทำเครื่องหมาย
              4.  สายยางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  1  cm  ยาว  60  cm
              5.  กะละมังพลาสติกใส  สูง  10  cm


วิธีการทดลอง
            1.  ใช้บีกเกอร์ตวงน้ำใส่ขวดให้เต็ม  โดยทำเครื่องหมายทุกๆ  500  ml    ของน้ำที่เติม
            2.  เติมน้ำให้เต็มขวด  แล้วคว่ำลงในกะละมังที่มีน้ำสูง  5  cm  ดังรูป


             3.  นำปลายข้างหนึ่งของสายยางใส่ไว้ที่ปากขวด  ดังรูป  และให้เพื่อคนหนึ่งคอยจับขวดไว้
             4.  สูดลมหายใจเข้าปอดเต็มที่   แล้วเป่าลมหายใจออกให้มากที่สุดเพียงครั้งเดียวทางปลายสายยางอีกข้างหนึ่ง
             5.  สังเกตผลที่เกิดขึ้น  และวัดปริมาตรของลมหายใจออกที่ไปแทนที่น้ำในขวด
             6.  ทำการทดลองซ้ำตั้งแต่  ข้อ 2-5  อีก 2 ครั้ง   และหาค่าเฉลี่ย


วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา

การใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

ปฏิบัติการเรื่อง โครงสร้่างภายในของใบ

          วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาโครงสร้่างภายในของใบ
2.เพื่อศึกษาไซเล็มและโฟลเอ็มในเส้นใบ

วัสดุอุปกรณ์

1. ใบไม้ชนิดต่างๆ เช่น โหระพา ผักหวาน เข็ม โมก ฟักทอง ตำลึง คะน้า มะกรูด ถั่ว กุหลาบ หางนกยูงไทย ข้าวโพด กล้วย ว่านกาบหอย บัวสาย
2. ใบมีดโกน
3. สีซาฟรานีนหรือน้ำยาอุทัยทิพย์ความเข้มข้น 1%
4. พู่กัน เข็มเขี่ย จานเพาะเชื้อ และหลอดหยด
5. สไลด์และกระจกปิดสไลด์
6. กล้องจุลทรรศน์

วิธีการทดลองเลือก

1. เลือกใบพืชตัวอย่างมาจำนวน 2 ชนิด เป็นตัวแทนของพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอย่างละ 1 ชนิด มาศึกษาโครงสร้างภายใน โดยปฏิบัติดังนี้
- ถ้าเป็นใบที่บาง ม้วนใบไม้ตามความยาวให้แน่นเป็นท่อนกลม ตัดปลายข้างหนึ่งทิ้งไปประมาณ 1/3 ของความยาวทั้งหมด
- ถ้าเป็นใบที่หนาและแข็ง เช่น ใบว่านกาบหอย ให้ตัดแบ่งแผ่นชิ้นเล็กๆ พอจับถือได้ถนัด เช่น ขนาด 1×3 cm
- ถ้าเป็นใบขนาดใหญ่ เช่น ใบกล้วย ตัดแบ่งแผ่นใบเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1×3 cm โดยให้มีเส้นใบอยู่ตรงกลางและขนานกับขอบของชิ้นที่ตัด
2. ใช้ใบมีดโกนคมๆ ตัดตามขวางใบที่ม้วนไว้หรือชิ้นของใบที่ตัดแบ่งไว้ให้ได้ชิ้นบางที่สุดเท่าที่จะบางได้ จำนวนหลายๆ ชิ้น
3. นำส่วนของใบที่ตัดได้หลายๆ ชิ้น ใส่ลงในจานเพาะเชื้อ ที่มีน้ำ เลือกชิ้นที่บางที่สุด 2-3 ชิ้นวางบนหยดน้ำสีบนสไลด์ ปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ ระวังอย่าให้มีฟองอากาศ
4. นำสไลด์ที่เตรียม ได้ไปศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ใช้กำลังขยายต่างๆ









วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ

   ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
      นักเรียนโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้เข้าร่วมกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมของเยาวชน ปี 6  ณ โรงไฟฟ้าบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นนวัตกรรมเกี่ยวข้องกับโครงงานของนักเรียน โดยนักเรียนได้ไปนำเสนอหัวข้อและได้รับเข้าประกวด หัวข้อที่นักเรียนได้ส่งเข้าประกวดคือ การทำแผ่นซับกลิ่นตัวอันไม่พี่งประสงค์ โดยผลิตจากน้ำมันสกัดจากใบฝรั่ง ซึ่งตอนนี้อยู่ในกระบวนการสกัดน้ำมันจากใบฝรั่ง เพื่อที่จะดำเนินขั้นตอนต่อไป ซึ่งได้ใช้บริการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP และอุปกรณ์ที่ใช้ในการสกัดน้ำมันจากใบฝรั่ง โดยใช้กระบวนการสกัดด้วยวิธีการสกัดด้วยชุดกลั่นแบบลำดับส่วนและแบบธรรมดา

วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา



ปฏิบัติการเรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมี
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อให้นักเรียนเข้าใจลักษณะการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้
2.       เพื่อได้ทดลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันได้
วัสดุอุปกรณ์
1.       หลอดทดลองขนาดกลาง                4        หลอด
2.       ที่วางหลอดทดลอง                       1        อัน
3.       หลอดหยด                                1        อัน
4.       ช้อนตักสารเบอร์ 1                      2        อัน
5.       กระบอกตวงขนาด 5 ml                1        กระบอก
สารเคมี
1.       โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเน็ต
2.       กรอดไฮโดรคลอริก
3.       เลด (II) ไนเตรต
4.       โพแทสเซียมไอโอไดด์
5.       น้ำส้มสายชู
6.       ผงฟู
7.       เกล็ดของกรดซิตริก
8.       ด่างทับทิมเจือจาง

วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางในการดำเนินงานโครงการ SMP


        วันที่ 20 ธันวาคม 2560 เวลา 13.00 – 16.30 น. โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางในการดำเนินงานโครงการ SMP ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายจำนวน 9 โรงเรียน ประจำปีงบประมาณ 2561 ณ ห้องประชุมหลู่หุ้ย ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อาจารย์นุชนาถ เต็มดี อาจารย์สาขาคณิตศาสตร์ แจ้งให้ทราบ ถึงทิศทางการดำเนินงานโครงการ SMP นอกจากนี้ยังได้มีการแนะนำผู้บริหาร คณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP แจ้งถึงกำหนดการกิจกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และได้มีการแจ้งถึงการปรับกิจกรรมเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและโรงเรียนในโครงการตามข้อเสนอแนะจากสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ยังได้พูดถึงเรื่องกิจกรรมที่ผ่านของโครงการ SMP และการเสนอมาตรการในการวัดระดับนักเรียนในโครงการ SMP โดยให้มีผลคะแนนอิงเกรด 20% จาก 80% ของเกรดในรายวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ ซึ่งในที่ประชุมเห็นชอบให้ใช้มาตรการ 20:80 ของคะแนน เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นความสำคัญของโครงการ SMP  และได้มีการแบ่งกลุ่มในภาควิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ เพื่อหารือถึงเรื่องกิจกรรมการบริการ วิชาการและการนิเทศ รวมถึงยังได้พูดคุยแลกเปลี่ยน แนวทางการแก้ไขปัญหาของรูปแบบการเรียนการสอนที่ผ่านมา และยังได้ร่วมกันออกแบบกิจกรรมที่จะจัดขึ้นร่วมกันระหว่างโครงการ SMP กับโรงเรียนในเครือข่าย

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ MOU โรงเรียนเครือข่ายโครงการ (SMP)

   

      วันที่ 20 ธันวาคม 2560 เวลา 10.00 - 12.00 น. โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ MOU โรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP จำนวน 3 โรงเรียน ณ ห้องประชุมหลูหุ้ย ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ประธานเปิดพิธีลงนาม นายอารีฟ ดาตู ผู้อำนวยการโรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ นางสาวอิบตีซาม เจะแซ ผู้อำนวยการโรงเรียนประทีปวิทยา นายซัลมาน ผดุง ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนคัมภีร์วิทยา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ MOU โครงการห้องเรียนพิเศษScience Mathematics Program (SMP) นายวิทยาศิลป์ สะอา ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ดร.ลิลลา อดุลยศาสน์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พันเอกฐกร เนียมรินทร์ รองผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธี ร่วมเป็นสักขีพยาน กล่าวรายงานโดย อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ อาจารย์สาขาเคมีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ดร.ศิริชัย นามบุรี และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP เยี่ยมชมการจัดอบรม Basic English for Teachers



        วันที่16 ธันวาคม พ.ศ.2560 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP)มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำทีมโดย ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP เยี่ยมชมและให้กำลังใจคณะทำงานศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา (http://clas.yru.ac.th) ในการจัดอบรม Basic English for Teachers ณ ดี อามาน โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560

นักเรียนในโครงการ SMP เข่าร่วมค่ายประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชิ้นงาน 3 มิติ Printer ณ.มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา

  เมื่อวันที่ 8 - 10 ธันวาคม 2560 นักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เคยมีประสบการณ์การแข่งขันหุ่นยนต์ และคว้ารางวัลในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ มรย.ประกอบด้วย 1. นายอาดือนัน เจะแวดอเลาะ 2. นายฟารฮาน สาเร๊ะ และนายฮัมดัน ตาเยะ ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนโรงเรียน ไปเข้าร่วมค่ายสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชิ้นงาน 3 มิติ Printer ณ.มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา


วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560

แล็ปชีววิทยา เรื่อง การตรวจกรุ๊ปเลือด

วัตถุประสงค์
1.             เพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักการจำแนกหมู่เลือดระบบ ABO
2.             เพื่อศึกษาวิธีการหาหมู่เลือดของตนเอง
 วัสดุและอุปกรณ์
1.             เข็มเจาะเลือด
2.             สำลีและแอลกอฮอล์ 70 %
3.             กระจกสไลด์
4.             เข็มเขี่ย
5.             ปากกาเขียนสไลด์
6.             Anti-A, Anti-B
วิธีการทดลอง  
1.      เตรียมกระจกสไลด์ที่สะอาด 1 แผ่น
2.     ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดที่ปลายนิ้วมือที่จะทำการเจาะเลือด ทิ้งไว้สักครู่แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกดตรงใกล้ปลายนิ้ว เพื่อเค้นเลือดให้ลงไปอยู่ที่ปลายนิ้ว แล้วใช้เข็มเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว แล้วหยดเลือดบนสไลด์ 3 หยดให้ห่างกัน
3.     หยดแอนติบอดี A ที่เลือดหยดหนึ่ง  แอนติบอดี B ที่เลือดอีกหยดหนึ่ง และ แอนติบอดี D ที่เลือดอีกหยดหนึ่ง
4.     ใช้ไม้จิ้มฟัน 3 อัน อันหนึ่งเขี่ยเลือดให้ผสมกับแอนติบอดี A อีกอันหนึ่งเขี่ยเลือดให้ผสมกับแอนติบอดี B อีกอันหนึ่งเขี่ยเลือดให้ผสมกับแอนติบอดี D
5.      สังเกต การเกิดตะกอน บันทึกผล
ภาพบรรยากาศการทำแล็ป






วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560

นักเรียน SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ร่วมโครงการหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น บูรณาการกับรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี




ด้วยทางโรงเรียนดำรงวิทยาได้มีโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ให้กับนักเรียน เพื่อที่จะให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้รับความรู้ทางด้านสายอาชีพที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสร้างอาชีพให้กับนักเรียนในอนาคตได้ ในการนี้ได้จัดให้มีการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในทุกๆ สัปดาห์ของวันพฤหัสบดี โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยาลัยสารพัดช่างยะลา 
ซึ่งมีหลักสูตรที่เปิดจำวนวน 5 หลักสูตรดังนี้
- หลักสูตรช่างเชื่อม
- หลักสูตรคอมพิวเตอร์
- หลักสูตรขนมอบ
- หลักสูตรเย็บผ้า
- หลักสูตรคหกรรม


ซึ่งนักเรียน SMP ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ได้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว ในทุกๆ วันพฤหัสบดี เวลา 08.30-12.00 น. โดยได้บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 

วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560

โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมอบรม Basic English for Teachers แก่ครูในโครงการ


       เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2560 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ร่วมกับ ศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา (clas.yru.ac.th) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมอบรม หัวข้อ Basic English for Teachers สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนในเครือข่าย จาก 9 โรงเรียน จำนวน 49 คน  ณ ศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา ชั้น 7 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และจะอบรมนอกสถานที่ในระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม 2560 ณ ดีอาร์มาน รีสอร์ท อ.เทพา จ.สงขลา โดยวันนี้มี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี อดีรองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ประธานดำเนินงานโครงการ SMP ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดอบรม Basic English for Teachers และกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการอบรมครั้งนี้ โดย  ผศ.ดร.สุกินา อาแล ผู้อำนวยการศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา

วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ผลการดำเนินงานโครงการ SMP โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา

การสอบวัดระดับความรู้นักเรียน SMP ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560

        เมื่อวันที่ 4 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์        (SMP) ได้กำหนดให้มีการสอบวัดระดับความรู้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 5 (รุ่นที่ 1 - 2 ) ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2560 โดยโรงเรียนพัฒนาอิสลาม ใช้อาคารลุตฟีย์  เป็นสนามสอบในการสอบในครั้งนี้ เพื่อประเมินความรู้ในภาคการเรียนที่ 1 โดยขอบเขตเนื้อหาได้ยึดตามหลักสูตร SMP ซึ่งในการสอบในครั้งนี้ มีการสอบจำนวน 6 รายวิชา ดังนี้ เคมี,ฟิสิกส์,ชีววิทยาคณิตศาสตร์ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)


      







ประชุมสภานักเรียนจังหวัดยะลาและบุคลากรโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดยะลา 

     ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีนักเรียนในโครงการ(SMP) เป็นสภานักเรียนและได้มีโอกาสเป็นตัวแทนนำเสนอโครงการเรื่องปลายิ้ม ในบริเวณห่อพักนักเรียนเพื่อพิจรณารับงบประมาณสนับสนุน ณ ห้องประชุมเทศบาลนครยะลา เมื่อ วันที่ 24 พฤษาจิกายน  2560 


กิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม
     
      เมื่อวันที่ 24 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560  ทางโรงเรียนได้กิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรมภายในโรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม วิถีอิสลามในชีวิตประจำวัน และก่อให้เกิดความสามัคคี สัมพันธ์ไมตรีต่อกัน โดยมีกิจกรรมต่างๆ  เช่น การบรรยายธรรมเรื่อง มารยาทในการอยู่ร่วมกัน โดย ดร.อับุดุลเลาะ  อาบูบากาและกิจกรรมภาคสนามอีกมากหมาย






ครูหมวดคณิตในโครงการ SMP เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการโปรแกรมทางคณิตศาสตร์ The Geometer's Sketchpad (GSP)

         เมื่อวันที่ 25 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 นายตอเละ ยูโซ๊ะ และนางสาวมารีแย ลือแมเต๊ะ ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการโปรแกรมทางคณิตศาสตร์ GSP ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ โดยการได้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เพื่อเสริมศักยภาพของครูผู้สอนให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาผู้เรียนในการแข่งขันทางวิชาการ (GSP)












การใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

       ทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้มีการใช้ห้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ในการเรียนการสอนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และมีการใช้ทั้งภาคศาสนาและภาคสามัญ  นอกจากการใช้ห้องแล้ว ยังมีการบริการยืมอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอน  โดยทุกครั้งที่มีการใช้ห้องจะมีครูผู้สอนและนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นผู้ควบคุมอยู่เสมอ เพื่ออำนวยความสะดวก มีปลอดภัยต่อผู้มาใช้ห้องและมีประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนให้มากที่สุด
การใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

1.ปฎิบัตการทดลองวิชาชีวะวิทยาชั้น ม. 4 เรื่องสิ่งมีชีวิตเซลล์เดี่ยว



2.ปฎิบัตการทดลองวิชาฟิสิกส์ชั้น ม. 4 เรื่อง แรงเสียดทาน


3.ปฎิบัตการทดลองวิชาชีวะวิทยาชั้น ม. 5 เรื่อง พืชใบเลี้ยงเดี่ยว  พืชใบเลี้ยงคู่



การใช้ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์

1.กิจกรรมการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง กฎการนับเบื้องต้น




2.กิจกรรมชุมนุมคณิตศาสตร์ เรื่อง SUDOKU