แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โครงงานเป็นฐาน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โครงงานเป็นฐาน แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

แผนวิจัย PLC ประชุมการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รายวิชาเคมี

  


 วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00-15.00 น. คณะกรรมการแผนวิจัย PLC ประชุมยกร่างแผนจัดการเรียนรู้ผ่านทางระบบออนไลน์ โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ พร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินงาน และเจ้าหน้าที่ประจำแผนงานวิจัยฯ PLC ประชุมร่วมกับ ครูผู้สอนทั้ง 12 โรงเรียน  โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 23 คน จาก 12 โรงเรียน โดยจะมีการอบรมแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

1.   การเขียนแผน

1.1    เป็นการเตรียมการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

1.2    สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ + คำอธิบายรายวิชา + กระบวนการเรียนรู้

1.3    คำนึงถึงศักยภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ

1.4     แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

1.5     มีเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน และวิธีวัดผลประเมินผลที่ชัดเจน

1.6     ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสม ตรงตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ

2.   การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

2.1    หลักสูตร

- จัดการเรียนรู้เพื่ออะไร

- จัดการเรียนรู้อย่างไร

- ผู้เรียนสำคัญหรือไม่

- ผลการจัดการเรียนรู้เป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่

2.2 แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย

1.    หัวเรื่อง

2.    สาระสำคัญ

3.    มาตรฐานและตัวชี้วัด

4.    จุดประสงค์การเรียนรู้

5.    สาระการเรียนรู้

6.    กระบวนการเรียนรู้

-    ขั้นนำ

-    ขั้นสอน

-    ขั้นสรุป

7.  สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้

8.  การวัดและประเมินผล

9.  บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้

อย่างไรก็ตามการจัดทำแผนการเรียนรู้นั้นก็ต้องมีความสอดคล้องกับบริบทนักเรียนโรงเรียน และชุมชน เช่นเดียวกัน โดยครูได้แชร์ประสบการณ์การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ในส่วนเนื้อหาสาระของแผนการสอนของโรงเรียนที่มีอยู่แล้ว ซึ่งมีรายละเอียดที่ครบถ้วนพอสมควร ที่จะนำมาต่อยอดแผนการจัดการเรียนรู้ PLC และเครื่องมือส่วนใหญ่ที่ครูได้ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์โควิดจำเป็นต้องเรียนแบบออนไลน์นั้น ได้แก่ google classroom ร่วมกับ google meet และgoogle from เป็นต้น


การจัดทำแผนการเรียนรู้ PLC

                ที่ประชุมผู้ร่วมวิจัย ร่วมกันนำเสนอแผนการสอน PLC ให้ครูเข้าใจในกระบวนการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ โดยมีขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

1.   ชื่อหน่วยการเรียนรู้

2.   บทเรียนในหน่วยการเรียนรู้:

3.   วัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้ของบทเรียน

4.   คำถามหลักสำหรับการตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน

5.   ลักษณะของงานที่มอบหมายให้นักเรียน

6.   สื่อและอุปกรณ์ที่จำเป็น

7.   โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ทั่วไป

                            7.1   ขั้นเตรียมความพร้อม (สร้างการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และตรวจสอบความรู้เดิม
                                    (10 นาที)

7.2    ขั้นแนะนำหัวข้อหลักใน บทเรียน ( สำรวจ ) (15 นาที)

7.3   การแก้ไขปัญหา การรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์ กิจกรรมการวางแผน การลงมือปฏิบัติ และการแปลความ(อธิบาย) (70 นาที)

7.4    การนำไปใช้จริง การบ้าน และการเชื่อมโยงกับสาระวิชาอื่น (5 นาที)

7.5   ขั้นสรุป (ประเมินผลการเรียนรู้ สะท้อนผลการเรียนรู้ และ การสะท้อนถึงความสมเหตุสมผล  (5 นาที)

8. สะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ของครู: ทราบได้อย่างไรว่าแผนการจัดการเรียนรู้นี้สำเร็จผลด้วยดี (ระบุหลักฐาน)

                          




    

********************************************************************

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564

คณะกรรมการแผนวิจัยประชุมเพื่อดำเนินการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยผ่านกระบวนการ PLC รายวิชาเคมี

  




            วันที่ 24 มิถุนายน 2564  แผนงานวิจัยพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการ PLC จัดประชุมเพื่อดำเนินการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยผ่านกระบวนการ PLC รายวิชาเคมี ประชุมร่วมกับ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการ หัวหน้าหมวดรายวิชาเคมี และครูผู้สอนทั้ง 12 โรงเรียน  โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 27 คน จาก 12 โรงเรียน ได้แก่ 
                (1) โรงเรียนดำรงวิทยา 
                (2) โรงเรียนคัมภีร์วิทยา 
                (3) โรงเรียนประทีบวิทยา 
                (4) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ 
                (5) โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา 
                (6) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ 
                (7) โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา 
                (8) โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ 
                (9) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ 
               (10)โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ 
               (11)โรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา 
               (12)โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา 

 ซึ่งการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหาและวางแผนการดำเนินการพัฒนาจัดตั้งชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือ PLC ร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนงานวิจัยและเป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ที่ได้จัดทำร่วมกันไว้แล้วต่อไป 
ซึ่งการประชุมออนไลน์ครั้งนี้ มี อ.ดร. ศฺริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด และอาจาร์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย ผู้ร่วมวิจัย และผู้ช่วยวิจัย PLC เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้













วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2564

แผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จัดทำ MoU เพื่อร่วมกันพัฒนา PLC

  วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารศูนย์บรรณสารสนเทศแผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โดยการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้จากห้องเรียนสาธิต (OPEN CLASS) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร/หัวหน้าแผนงานวิจัย และหัวหน้าโครงการวิจัยย่อย พร้อมด้วยคณะนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัยซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย จำนวน 3 โครงการย่อย จัดกิจกรรมร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ความร่วมมือกับผู้บริหาร/ผู้อำนวยการ/ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU (http://smp-yru.blogspot.com) ในการร่วมจัดดำเนินงานตามแผนการวิจัย โดยมีโรงเรียน SMP-YRU เป็นเครือข่ายและกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้

  
  

            สำหรับโรงเรียนที่ร่วมโครงการวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ในคร้ังนี้ ประกอบด้วย 12 โรงเรียน ได้แก่  1) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ  ต.สะเตง อ.เมือง  2) โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ต.ลำใหม่ อ.เมือง 3) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ต.ปะแต.ยะหา 4) โรงเรียนดำรงวิทยา ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา 5) โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ต.บาลอ อ.รามัน 6) โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา อ.บ้านแหร อ.ธารโต 7) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ต.บันนังสาเรง อ.เมือง  8) โรงเรียนประทีปวิทยา ต.ลิดล อ.เมือง  9) โรงเรียนคัมภีร์วิทยา ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา 10) โรงเรียนสตรีอิสลามมูลนิธิ ต.สะเตง อ.เมือง  11) โรงเรียนดารูลฮูดาวิทยา ต.วังพญา อ.รามัน  12) โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา .บาโงยซิแน อ.ยะหา ซึ่งทั้ง 12 โรงเรียน มีการจัดทำ MoU ในโครงการจัดตั้งห้องเรียน SMP-YRU มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ดั้งนั้น การจัดทำแผนการวิจัยและโครงการวิจัยในครั้งนี้ นับเป็นการต่อยอดและขยายผล เพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยการยกระดับด้วยการวิจัยพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในสามเรื่องหลักผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Coummunities: PLC) ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ด้วย STEM Education การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) และการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning)


การดำเนินงานตามแผนการวิจัยดังกล่าว ประกอบด้วย 3 โครงการวิจัยย่อย ได้แก่ 

1) โครงการวิจัยที่ 1 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  โดยมีอาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมีอาจารย์อลภา ทองไชย  อาจารย์ ดร.วารุณี หะยีมะสาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย

2) โครงการวิจัยที่ 2 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน โดยมี อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมี อาจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด และ อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย และอาจารย์พูรกอนนี สาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย 

3) โครงการวิจัยที่ 3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี เป็นหัวหน้าโครงการ

   ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากแผนงานวิจัยข้างต้น โรงเรียนในโครงการ SMP-YRU จะได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และสร้างเป็นชุมชนหรือสังคมแฟน่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC สามารถนำมาเป็นต้นแบบขยายผลไปยังเนื้อหา รายวิชาอื่น ๆ และโรงเรียนอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งโครงการวิจัยภายใต้แผนการวิจัย ดำเนินการโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมและการพัฒนาไปพร้อมกันระหว่างมหาวิทยาลัย โครงการห้องเรียน SMP-YRU และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่ จชต.  

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564

โครงการ SMP-YRU ต่อยอดลงนาม MoU กับแผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

 ในวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการ แผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โดยการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้จากห้องเรียนสาธิต (OPEN CLASS) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร/หัวหน้าแผนงานวิจัย และหัวหน้าโครงการวิจัยย่อย พร้อมด้วยคณะนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย ให้ดำเนินงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน SMP-YRU เป็นการต่อยอดโครงการด้วยการวิจัย จำนวน 3 โครงการย่อย จัดกิจกรรมร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ความร่วมมือกับผู้บริหาร/ผู้อำนวยการ/ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU

ในการดำเนินการวิจัยใน 3 โครงการวิจัย ตามแผนการวิจัยดังกล่าว ประกอบด้วยด้วยโครงการวิจัย ดังนี้ 

   1) โครงการวิจัยที่ 1 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  โดยมีอาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมีอาจารย์อลภา ทองไชย  อาจารย์ ดร.วารุณี หะยีมะสาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย

2) โครงการวิจัยที่ 2 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน โดยมี อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมี อาจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด และ อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย และอาจารย์พูรกอนนี สาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย 

    3) โครงการวิจัยที่ 3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี เป็นหัวหน้าโครงการ

ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากผลการวิจัยนี้ คาดว่าโรงเรียนในโครงการ SMP-YRU จะได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และสร้างเป็นชุมชนหรือสังคมแฟน่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC สามารถนำมาเป็นต้นแบบขยายผลไปยังเนื้อหา รายวิชาอื่น ๆ และโรงเรียนอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งโครงการวิจัยภายใต้แผนการวิจัย ดำเนินการโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างทีมนักวิจัยและผู้บริหาร ครู ดำเนินการวิจัยและพัฒนาไปพร้อมกันระหว่างมหาวิทยาลัย และโรงเรียนในโครงการห้องเรียน SMP-YRU นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่ จชต. ในจังหวัดยะลา โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษา 


วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โครงการ SMP: การส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้สู่ Thailand 4.0

      การดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (โปรแกรมวิทย์-คณิต) ให้กับโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายการพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษา นับเป็นบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภายใน ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ประกอบด้วย คณาจารย์จากหลักสูตรคณิตศาสตร์  (ค.บ.5 ปี) วิทยาศาสตร์ทั่วไป (ค.บ. 5 ปี) คอมพิวเตอร์ศึกษา (ค.บ.5 ปี) เคมี (วท.บ.4 ปี) ฟิสิกส์ (วท.บ.4 ปี) ชีววิทยา (วท.บ.4 ปี) วิทยาการคอมพิวเตอร์ (วท.บ.4 ปี) เทคโนโลยีสารสนเทศ (วท.บ.4 ปี) และบุคลากรจากศูนย์วิทยาศาสตร์  ร่วมกับการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญ จำนวน 6 โรงเรียน สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา และสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอที่ดูแลโรงเรียนในโครงการ ผนวกกับนโยบาย
ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในการส่งเสริมการยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อวางฐานไปสู่การพัฒนาเป็น "สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้" ในอนาคต ซึ่งจะเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มุ่งเน้นการพัฒนาครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ทั้งระบบมุ่งไปสู่การสร้าง Teacher 4.0 และร่วมกับคณะครุศาสตร์ ผลิตบัณฑิตครูนักปฏิบัติการมืออาชีพ ใช้หอพักเป็นฐาน เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีคุณลักษณะและทักษะเหมาะสมกับบริบทจังหวัดชายแดนใต้ต่อไป โดยมหาวิทยาลัยฯ กำหนดเป็นโครงการยุทธศาสตร์มุ่งเป้า (Flagship Project) ไว้ในแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสู่ความเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560-2569)

   สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา โครงการ SMP มีเป้าหมายหลักในการดำเนินงาน คือ การพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ใน 6 โรงเรียนเครือข่าย ทั้งการปรับปรุงสภาพห้องเรียนให้ใช้การได้อย่างดี เหมาะสำหรับเป็นห้องปฏิบัติการ การจัดหาครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จัดหาสื่อโสตทัศนปกรณ์ หนังสือ และการจัดหาวัสดุ สารเคมีสำหรับการทดลองแต่ละการทดลองตามหลักสูตร ที่สำคัญก็คือ การพัฒนาครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่รับผิดชอบสอนในโครงการ SMP ให้มีทักษะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ใช้ปัญหาในพื้นที่เป็นฐาน จัดทำเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์  นำเสนอโครงงานในกิจกรรมวิชาการ โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นโค้ช (Coach) จับคู่ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา และลงนิเทศก์ในพื้นที่โรงเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพครูในโครงการ SMP ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะครูเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมการวิจัยติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อนำผลวิจัยที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงโครงการ SMP ในปีต่อไปให้มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มากที่สุด