แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ผลงาน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ผลงาน แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2565

โครงการ SMP-YRU นำเสนอผลการดำเนินการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2565 ต่อผู้แทนพิเศษรัฐบาลและผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานเกี่ยวข้อง

วันอังคารที่ 30 สิงหามคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด เป็นผู้แทนคณะกรรมการโครงการ SMP-YRU ร่วมประชุมนำเสนอผลการดำเนินการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2565 ต่อผู้แทนพิเศษรัฐบาล นายการุณ สกุลประดิษฐ์ และผู้ทรงคุณวุฒิจาก สมช. , กอ.รมน.ภ.4 ส่วนหน้า, ศอ.บต. และจากศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศค.จชต.)  โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้นำเสนอผลการพัฒนาห้องเรียน SMP-YRU ในเครือข่ายจำนวน 15 โรงเรียน ที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผลกระทบสร้างโอกาสทางกรศึกษา ลดช่องว่าทางการศึกษา และการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียนระดับชั้น ม.4-ม.6 จำนวนกว่าง 2,500 คน พร้อมกับสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และสมาชิกชุมชนรอบโรงเรียน และโดยเฉพาะในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีกิจกรรมพัฒนาห้องปฏิบัติการ STEAM Education ให้แก่โรงเรียนนำร่องในโรงเรียนเครือข่าย SMP-YRU จำนวน 8 โรงเรียน และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานพื้นที่มัธยมศึกษา (สพม.) อีกจำนวน 4 โรงเรียน ซึ่งขณะนี้ ได้พัฒนาทักษะครูผู้สอนในการใช้เครื่องมือและซอฟต์แวร์ และขณะนี้นักเรียนได้มีโอกาสใช้ห้องปฏิบัติการ STEAM ในปีการศึกษา 2565 นี้ เพื่อพัฒนาโครงงาน/ชิ้นงานจากความพร้อมของห้อง STEAM Lab หรือ Fab Lab ที่ได้รับโอกาสในครั้งนี้ 




    การนำเสนอผลการดำเนินงานครั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิในที่ประชุมกล่าวชื่นชมผลการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีผลผลิตและผลลัพธ์เชิงประจักษ์ เป็นที่ยอมรับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งมีข้อเสนอจากที่ประชุมว่าจะทำอย่างไรให้โครงการ SMP ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความยั่งยืนร่วมกัน โดยการสนับสนุนดำเนินการของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ร่วมกับสำนักงานการศึกษาเอกชนในพื้นที่

เอกสารเพิ่มเติม: รายงานผลการดําเนินงานตามโครงการห้องเรียน SMP-YRU ปี 2562-2565

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2564

ผู้บริหารโครงการ SMP-YRU เสนอผลดำเนินงานต่ออนุกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการทหารและความมั่นคง วุฒิสภา

   วันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2564 เวลา 09.00-12.00 น. อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกับกองนโยบายและแผน เสนอรายงานผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และแผนดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่ออนุกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการทหารและความมั่นคง วุฒิสภา  ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  

    ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของมหาวิทยาลัยภายใต้โครงการสร้างภูมิคุ้มกันในพื้นที่ จชต. ตามแผนบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีกิจกรรมสำคัญ 2 กิจกรรม ได้แก่ 

กิจกรรมที่ 1  การปรับปรุงห้องปฏิบัติการในโรงเรียนเดิมรุ่นแรก 
             ตามที่ในปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณเงินอุดหนุน เฉพาะหมวดสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ สนับสนุนการพัฒนาห้องเรียนพิเศษ SMP จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่  (1) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ตำบลสะเตง อำเภอเมือง (2) โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง  (3) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ตำบลบะแต อำเภอยะหา (4) โรงเรียนดำรงวิทยา ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา (5) โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน และ (6) โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต ซึ่งใช้ประโยชน์มานานกว่า 5 ปี จึงเน้นการปรับปรุงให้ห้องปฏิบัติการให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ ใน 6 โรงเรียนเดิม ในรุ่นแรกที่เข้าร่วมโครงการเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ซึ่งครุภัณฑ์และอุปกรณ์การเรียนปฏิบัติการเสื่อมสภาพ ชำรุด ต้องซ่อมแซม ปรับปรุง และจัดหาเพิ่มเติม ทั้งนี้ ให้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนรุ่นแรกที่เข้าร่วมโครงการ สามารถพัฒนาศักยภาพของนักเรียนชั้น ม.4 - ม.6 รวมทั้งนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน สร้างโอกาสการศึกษาต่อปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีต่อไปในอนาคต เพื่อเป็นกำลังสำคัญของ Thailand 4.0


    กิจกรรมที่ 2 ปรับปรุงและพัฒนาห้องเรียน STEAM  (Science, Technology, Engineer, Art, Mathematics) 

          เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายพัฒนา ห้องปฏิบัติการประดิษฐ์กรรม (Fabrication Laboratory) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า FabLab  ดำเนินการโดย คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (http://science.yru.ac.th) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการศาสตร์ในด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะ และคณิตศาสตร์ ในโรงเรียน SMP-YRU และในสังกัด สพม. เพื่อ ปลูกฝัง เสริมสร้างแนวคิด เจตคติที่ดีต่อการศึกษาด้าน STEAM และการประกอบอาชีพในอนาคตด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นการป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่นักเรียนในพื้นที่ จชต. ด้วยการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา เน้นการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในโรงเรียนพื้นที่เสริมสร้างความมั่นคงดังกล่าว ทั้งโรงเรียนเดิมในโครงการ SMP-YRU (8 โรงเรียน) และโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาของมหาวิทยาลัย (4 โรงเรียน) รวม 12 โรงเรียน  ได้แก่ 

1) โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ (สพม.)
2) โรงเรียนอุดมศาสน์วิทยา  (สช.)
3) โรงเรียนเบตงวีระราษฎร์ประสาน (สพม.) 
4) โรงเรียนสตรียะลา (สพม.)
5) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ (SMP-YRU)
6) โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิยะลา (SMP-YRU)
7) โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา (SMP-YRU) 
8) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ (SMP-YRU)
9) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ (SMP-YRU)
10) โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา (SMP-YRU)
11) โรงเรียนดำรงวิทยา (SMP-YRU)
12) โรงเรียนคัมภีร์วิทยา (SMP-YRU)

   ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานในโครงการ SMP-YRU ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จะส่งผลให้นักเรียนระดับชั้น ม.4-ม.6 ในโรงเรียน SMP-YRU จากทั้ง 12 โรงเรียน ได้รับโอกาสทางการศึกษา ลดช่องว่างทางการศึกษา โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี จำนวนไม่น้อยกว่า 2,000 คน ผู้ปกครอง ผู้บริหารโรงเรียน ครู ของโรงเรียน ประชาชนในพื้นที่ตั้งของโรงเรียน เกิดการรับรู้ เกิดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของโครงการ SMP-YRU แบบบูรณาการ เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เยาวชน โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป


วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560

แสดงความยินดีกกับนักเรียนในโครงการ SMP

แสดงความยินดีกับนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ 
Science Mathematics Program (SMP) 
ที่สอบผ่านการคัดเลือกค่ายพรีโอลิมปิกวิชาการ ปีที่ 2 ประจำปีงบประมาณ  2560 
      
        ด้วยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ร่วมกับองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา สตูล และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 จัดค่ายพรีโอลิมปิกวิชาการ สำหรับนักเรียนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใน 4 สาขาวิชา คือ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยาและฟิสิกส์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและปลูกฝังทัศนคติด้านวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน และพัฒนาทักษะชีวิต การทำงานเป็นทีม และมิตรภาพระหว่างนักเรียน โดยคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นวิทยากรให้ความรู้
        โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในเครือข่ายพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดยะลา ที่สอบผ่านการคัดเลือกค่ายพรีโอลิมปิกวิชาการ ปีที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2560 จำนวน 23 คน และสำรองจำนวน 10 คน โดยมีดังนี้ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ, โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์, โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา, โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์บาลอ และโรงเรียนดำรงวิทยา 
รายชื่อนักเรียนที่สอบผ่านการคัดเลือกวิชาคณิตศาสตร์ 
รายชื่อนักเรียนที่สอบผ่านการคัดเลือกวิชาชีววิทยา

รายชื่อนักเรียนที่สอบผ่านการคัดเลือกวิชาฟิสิกส์
รายชื่อนักเรียนที่สอบผ่านการคัดเลือกวิชาเคมี