แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปรับปรุงห้องปฏิบัติการ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปรับปรุงห้องปฏิบัติการ แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

คณะกรรมการโครงการ SMP-YRU ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการปรับปรุงห้องปฏิบัติการห้องวิทยาศาสตร์โรงเรียนเครือข่าย 3 โรงเรียน

         วันที่ 12 พฤษภาาคม 2565 ทางคณะกรรมการโครงการ SMP-YRU นำโดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและผู้รับผิดโครงการ SMP-YRU พร้อมด้วยคณะกรรมการคุมงานและตรวจรับการจ้างห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (เจ้าหน้าที่ช่างออกแบบ วิศวกรโยธา วิศวกรไฟฟ้า และผู้รับเหมาจาก บริษัท ออฟฟิเซียล อีควิปเม้นท์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด) ลงพื้นที่โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 3 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนเจริญศาสน์วิทยา (ปอเนาะกาสังบน) ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ โรงเรียนผดุงศิลวิทยา ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา และโรงเรียนพัฒนาวิทยากร (ปอเนาะบาบอลี) ตำบลจ๊ะกว๊ะ อำเภอรามัน เพื่อตรวจรับงานก่อสร้างและปรับปรุงห้องปฏิบัติการ งวดที่ 2 เพื่อเร่งรัดให้สามารถใช้งานได้ทันในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 นี้ คาดว่าจะเป็นห้องปฏิบัติการที่สามารถสนับสนุนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ได้มาตรฐานระดับหนึ่ง และเป็นห้องปฏิบัติการที่ใช้สอนทักษะการทดลองทางวิทยาศาสตร์ การพัฒนาโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ หรือโครงการด้านคณิตศาสตร์ต่อไป ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการติดตั้งและจัดครุภัณฑ์ประจำห้อง ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ ตู้เก็บเครื่องมืออุปกรณ์ Projector และกระดานไวท์บอร์ดขนาดมาตรฐาน รวมทั้งการปรับปรุงเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ในแต่ละห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ทางโครงการ SMP-YRU ขอขอบคุณผู้บริหาร คุณครูที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้การต้อนรับ สนับสนุน และอำนวยความสะดวกให้กับโครงการเป็นอย่างดี ขอบคุณครับ 








วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564

ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนเครือข่าย

           วันที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 08.00 -16.30 น. โดยมี ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและผู้รับผิดชอบโครงการ SMP-YRU พร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินงาน เจ้าหน้าที่ช่างออกแบบ วิศวกรโยธา วิศวกรไฟฟ้า และผู้รับเหมาจาก บริษัท ออฟฟิเซียล อีควิปเม้นท์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนเครือข่าย งวดที่ 1 จำนวน 4 โรงเรียน ดังนี้ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ตำบลปะแต อำเภอยะหา และโรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน ซึ่งทางโครงการ SMP-YRU ได้มีการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โต๊ะ เก้าอี้ งานระบบไฟ และงานระบบน้ำ เป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ถ่ายทำวิดีโอการทดลองบทปฏิบัติการเคมี ม.4 ภาคเรียนที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลอร์นิ่ง

          เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.30 - 16.30 น.  ด้วยโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย ได้ดำเนินการถ่ายทำวิดีโอการทดลองปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมสารละลายบริสุทธิ ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ SMP YRU อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยบทปฏิบัติการนี้ได้เชิญนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเครือข่ายร่วมกันพัฒนาการสื่อการเรียนเรียนการสอน ในครั้งนี้ด้วย เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ถ่ายทำวิดีโอการทดลองบทปฏิบัติการเคมี ม.4 ภาคเรียนที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลอร์นิ่ง

          เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.30 - 16.30 น.  ด้วยโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย ได้ดำเนินการถ่ายทำวิดีโอการทดลองปฏิบัติการ เรื่อง การทดลองหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ SMP YRU อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยบทปฏิบัติการนี้ได้เชิญคุณครูจากโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนร่วมกันพัฒนาการสื่อการเรียนเรียนการสอน ในครั้งนี้ด้วย 

          เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี


วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ถ่ายทำวิดีโอการทดลองบทปฏิบัติการเคมี ม.4 ภาคเรียนที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลอร์นิ่ง

         ด้วยโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเวลาเรียนและทำการทดลองไม่เพียงพอในชั้นเรียนปกติ เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพื่อสร้างทักษะปฏิบัติการทดลองจากการเรียนรู้ด้วยสื่อคลิปวีดิทัศน์สาธิตขั้นตอนการทดลองและทำกิจกรรมในสภาพแวดล้อมของบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง ร่วมกับชั้นเรียนปกติ (Face-to-Face) ในห้องปฏิบัติการทดลอง เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี


          โดยบทปฏิบัติการนี้ได้เชิญคุณครูจากโรงเรียนเครือข่ายร่วมกันพัฒนาการสื่อการเรียนเรียนการสอน เรื่อง การทดลองปฏิกิริยาเคมีระหว่างโซเดียมฟอสเฟตกับแบเรียมคลอไรด์ ในครั้งนี้ด้วย