วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมีเรื่อง การทดลองศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและจำนวนโมลของแก๊ส


           วันที่ 31 สิงหาคม 2563 เวลา 15.00 – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวกอรีเย๊าะ มะนาฮา ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมีเรื่อง การทดลองศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและจำนวนโมลของแก๊ส ให้กับนักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

โครงการให้ความรู้เรื่องกฎหมายและการขับขี่อย่างปลอดภัยในสถานศึกษา

       

        วันที่ 27 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมลุตฟีย์ ชั้น 2 อาคารลุตฟีย์ โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ได้มีการจัดโครงการให้ความรู้เรื่องกฎหมายและการขับขี่อย่างปลอดภัยในสถานศึกษา จัดโดยงานป้องกันและบรรเทาสาธารรภัย องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ ซึ่งมีวิทยากรจากบริษัทฮอนด้ายะลาให้ความรู้

บทปฏิบัติการ เรื่องลูกตุ้มอย่างง่าย

       วันที่ 27 สิงหาคม  2563 เวลา 10.25-11.45 น ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง ลูกตุ้มอย่างง่าย โดยมีอาจารย์อสุรินทร์  มะเด็ง เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาฟิสิกส์ และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง สมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน


    เมื่อวันที่ 25 เดือนสิงหาคม 2563 เวลา 16.30 - 18.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง สมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีอาจารย์ซารีฟะห์ อาวัง เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาสมบัติของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน

หลักการ
    สารประกอบไฮโดรคาร์บอน หมายถึงสารประกอบอินทรีย์ที่มีเฉพาะธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ ในธรรมชาติพบสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดในแหล่งต่าง ๆ เช่น ยางไม้ ถ่านหิน ปิโตรเลียม เช่น CH4 , C2H6 , C2H4

สมบัติของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนได้ ดังนี้
1) การละลายน้ำ
การละลายของสารในตัวทำละลายเกิดจากอนุภาคของสาร แทรกเข้าไปอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลาย และเกิดแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกัน สารที่มีขั้วจะละลายได้ในตัวทำละลายที่มีขั้ว ส่วนสารที่ไม่มีขั้วจะละลายได้ดีในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายมีขั้วสารที่ละลายในน้ำจึงควรเป็นโมเลกุลมีขั้ว (Polar molecule) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน เช่น เฮกเซน (C6H14) เฮกซีน (C6H12) และเบนซีน (C6H6) เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว (Non polar molecule) มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ จึงไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ที่ไม่มีขั้ว
2) การเผาไหม้
เมื่อพิจารณาการเผาไหม้ ปรากฏว่า เฮกเซนติดไฟให้เปลวไฟสว่างไม่มีควัน เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ส่วนไซโคลเฮกซีนติดไฟง่ายให้เปลวไฟสว่างมีเขม่าและเบนซีนติดไฟได้ง่าย ให้เปลวไฟสว่างมีควันและเขม่ามาก เป็นการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ถ้าพิจารณาอัตราส่วน C : H ในแต่ละสารจะได้
   
                                การละลายน้ำ                                                                  การเผาไหม้

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง การกลั่นแบบธรรมดา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนดำรงวิทยา


            เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 เวลา 13.40 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง การกลั่นแบบธรรมดา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์


          การกลั่น (Distilation) คือ กระบวนการแยกสารละลายที่เป็นของเหลวหรือทำสารให้บริสุทธิ์ (Purification) จากสารละลายผสม โดยการให้ความร้อนที่อุณหภูมิต่าง ๆ กัน เพื่อทำให้สารละลายหรือตัวทำลายหนึ่งระเหยกลายเป็นไอ จากนั้นไอจะเกิดการเคลื่อนที่ผ่านเครื่องควบแน่น (Condenser) ที่อุณหภูมิต่ำ จึงเกิดการควบแน่นกลับเป็นของเหลวอีกครั้งในภาชนะอื่น การกลั่น เป็นกระบวนการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตน้ำมัน (Gasoline) และน้ำมันเชื้อเพลิง (Kerosene), การผลิตน้ำกลั่น, การแยกตัวทำละลายอินทรีย์ ฯลฯ

กิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ SMP โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ปีการศึกษา 2563


         
         วันที่ 23 สิงหาคม 2563 เวลา 10.30 - 12.00 น.โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา จัดกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ SMP-YRU ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ประจำปีการศึกษา 2563 ณ อาคารลุตฟีย์ ชั้น 4 ห้องปฏิบัติวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โดยมีอาจารย์ ตอเละ ยูโซ๊ะ ต้อนรับนักเรียนใหม่ ในโครงการ SMP-YRU จำนวน 36 คน พร้อมมอบกระเป๋าเป็นที่ระลึกจากโครงการ SMP-YRU  เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ด้วย
      
        ซึ่งในการจัดกิจกรรมปฐมนิเทศครั้งนี้  สร้างความเข้าใจในการเข้าร่วมโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ SMP และรวมไปถึงการปฏิบัติตัวระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมที่โครงการจัด
จากเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียน

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการ เรื่อง ความเข้มข้นของน้ำตาลในน้ำสับปะรดมีผลต่อการสลายน้ำตาลของยีสต์

         ➽วันที่ 24  สิงหาคม 2563 เวลา 14.45 - 16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการห้องเรียนพิเศษSMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาชีววิทยาเรื่อง ความเข้มข้นของน้ำตาลในน้ำสับปะรดมีผลต่อการสลายน้ำตาลของยีสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี่ 4/1 (SMP) โดยมีอาจารย์อามานี วอลีมาแย เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีววิทยา

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง การตกผลึก ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนดำรงวิทยา



        วันที่ 20 สิงหาคม 2563 เวลา 13.00 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง การตกผลึก ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์

การตกผลึก คือ ปรากฏการณ์ที่ของแข็งที่เป็นตัวละลายแยกออกจากสารละลายอิ่มตัว เมื่อสารละลายอิ่มตัวมีอุณหภูมิลดลง ถ้าสารละลายอิ่มตัวเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว จะเกิดผลึกที่มีขนาดเล็ก แต่ถ้าสารละลายอิ่มตัวเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ จะเกิดผลึกที่มีขนาดใหญ่ ผลึกที่สมบูรณ์ของสารต่างชนิดกันจะมีรูปทรงที่แตกต่างกัน

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ลงพื้นที่ติดตามตรวจงานพัฒนาและปรับปรุงห้องเรียนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

 

วันที่ 6 - 7 สิงหาคม 2563 ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และคณะกรรมโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP)  อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นายเฮลมี่ แวนามะ ช่างเขียนแบบ นายฮาริซ ลาเต๊ะ ช่างเขียนแบบ นายซาฟาริ อุจามิ วิศวกรโยธา  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ลงพื้นที่ติดตามตรวจงานพัฒนาและปรับปรุงห้องเรียนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา 

        โครงการ SMP ได้จัดสรรงบประมาณประจำปี 2563 เพื่อพัฒนาและปรับปรุงห้องเรียนวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์โรงเรียนเครือข่าย โครงการ SMP จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการสำหรับจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะและมีความสนใจ ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นักเรียนสามมารถนำความไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และการนำความรู้ไปใช้ขั้นสุดท้ายในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่มีบทบาทเป็นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ เป็นผู้ที่มีศักยภาพในการวิจัย คิดค้น ประดิษฐ์ และพัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เสริมกำลังบุคลากรที่สำคัญและขาดแคลนในการพํฒนาประเทศ ได้แก่ แพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ นักเทคโนโลยีและนักสารสนเทศ เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การประกวดแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์


        วันที่ 8 - 9 สิงหาคม 2563 ณ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธี การประกวดแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ประเภท รวบรวมข้อมูล และประเภท ประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP  การประกวดแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ใช้ทักษะการนำเสนอโครงงานอย่างมืออาชีพ รวมถึงการอยู่รวมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนใต้

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563

กิจกรรมประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา


        วันที่ 4 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 - 15.00 น. โรงเรียนคัมภีร์วิทยา จัดกิจกรรมประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ (ภายใน) ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science Mathematics Program Yala Rajabhat University : SMP YRU) ณ ห้องคณิตศาสตร์ โดยมีนายซัลมาน ผดุง ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน กล่าวเปิดพิธี และได้มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ในโครงการ SMP-YRU เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจกระบวนการการทำโครงงาน