วันที่ 20 สิงหาคม 2563 เวลา 13.00
– 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ
ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง
การตกผลึก ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์
การตกผลึก คือ ปรากฏการณ์ที่ของแข็งที่เป็นตัวละลายแยกออกจากสารละลายอิ่มตัว
เมื่อสารละลายอิ่มตัวมีอุณหภูมิลดลง ถ้าสารละลายอิ่มตัวเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว
จะเกิดผลึกที่มีขนาดเล็ก แต่ถ้าสารละลายอิ่มตัวเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ
จะเกิดผลึกที่มีขนาดใหญ่ ผลึกที่สมบูรณ์ของสารต่างชนิดกันจะมีรูปทรงที่แตกต่างกัน
วิธีตกผลึกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
คือ การตกผลึกในสารละลายด้วยตัวทำละลายที่เหมาะสม ตัวทำละลายที่ใช้ในการตกผลึก ควรมีสมบัติดังนี้
- ละลายสารที่ต้องการตกผลึกได้ดีในขณะร้อน
- จุดเดือดของตัวทำละลายไม่สูงมาก
- ต้องมีจุดเดือดต่ำกว่าจุดเดือดของสารที่ต้องการตกผลึก
- ควรให้ผลึกที่มีรูปร่างดี
- ติดไฟได้ยาก
- มีราคาถูก
- จุดเดือดของตัวทำละลายไม่สูงมาก
- ต้องมีจุดเดือดต่ำกว่าจุดเดือดของสารที่ต้องการตกผลึก
- ควรให้ผลึกที่มีรูปร่างดี
- ติดไฟได้ยาก
- มีราคาถูก
จุดประสงค์ในการทดลอง
เพื่อแยกสารส้มออกจากสารละลายสารส้มอิ่มตัว
โดยวิธีการตกผลึก
วัสดุอุปกรณ์
- บีกเกอร์ขนาด 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร
- โกร่งบดสาร
- ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม
- แท่งแก้วคนสาร
- ปากคีบปลายแหลม
- ด้าย
- ไม้
- สารส้ม
- น้ำ
ขั้นตอนในการตกผลึก
1. เลือกตัวทำละลายที่เหมาะสม
2. บดสารที่ต้องการตกผลึกให้ละเอียด ใส่ในภาชนะที่มีตัวทำละลายอยู่เล็กน้อย
3. อุ่นสารให้มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นช้าๆ พร้อมกับเติมตัวทำละลายลงไปจนมีปริมาณพอสมควร ทำให้สารละลายที่ได้เป็นสารละลายอิ่มตัว แล้วอุ่นสารละลายต่อไปจนอุณหภูมิใกล้เคียงกับจุดเดือดของตัวทำละลาย เพื่อให้ผลึกที่บดละเอียดละลายหมด
4. กรองในขณะที่สารละลายยังร้อน
5. ปล่อยให้สารละลายที่ได้จากการกรองเย็นลงช้า ๆ อย่าให้ถูกกระทบกระเทือนหรือเคลื่อนไหว เพื่อให้ได้รูปผลึกที่สวยงาม
6. ผลึกที่ตกครั้งแรกอาจไม่บริสุทธิ์เพียงพอ ต้องตกผลึกใหม่อีกครั้งเพื่อให้มีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น
2. บดสารที่ต้องการตกผลึกให้ละเอียด ใส่ในภาชนะที่มีตัวทำละลายอยู่เล็กน้อย
3. อุ่นสารให้มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นช้าๆ พร้อมกับเติมตัวทำละลายลงไปจนมีปริมาณพอสมควร ทำให้สารละลายที่ได้เป็นสารละลายอิ่มตัว แล้วอุ่นสารละลายต่อไปจนอุณหภูมิใกล้เคียงกับจุดเดือดของตัวทำละลาย เพื่อให้ผลึกที่บดละเอียดละลายหมด
4. กรองในขณะที่สารละลายยังร้อน
5. ปล่อยให้สารละลายที่ได้จากการกรองเย็นลงช้า ๆ อย่าให้ถูกกระทบกระเทือนหรือเคลื่อนไหว เพื่อให้ได้รูปผลึกที่สวยงาม
6. ผลึกที่ตกครั้งแรกอาจไม่บริสุทธิ์เพียงพอ ต้องตกผลึกใหม่อีกครั้งเพื่อให้มีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น
ประโยชน์ของการตกผลึกในชีวิตประจำวัน
-
การทำนาเกลือ
- การทำน้ำตาลทราย
- การทำน้ำตาลทราย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น