วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการ เรื่อง ความเข้มข้นของน้ำตาลในน้ำสับปะรดมีผลต่อการสลายน้ำตาลของยีสต์

         ➽วันที่ 24  สิงหาคม 2563 เวลา 14.45 - 16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการห้องเรียนพิเศษSMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาชีววิทยาเรื่อง ความเข้มข้นของน้ำตาลในน้ำสับปะรดมีผลต่อการสลายน้ำตาลของยีสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี่ 4/1 (SMP) โดยมีอาจารย์อามานี วอลีมาแย เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีววิทยา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาว่าการที่เราหมักยีสต์ในน้ำสับปะรดในสภาวะที่ไม่มีก๊าซออกซิเจน  
2. เพื่อรู้และเข้าใจการสลายอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนของยีสต์

ยีสต์ หรือ ส่าเหล้า (อังกฤษ: yeast) คือ รากลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปร่างกลม รี สามเหลี่ยม รูปร่างแบบมะนาว ฝรั่ง เป็นต้น ส่วนใหญ่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อ พบทั่วไปในธรรมชาติในดิน ในน้ำ ในส่วนต่างๆ ของพืช ยีสต์บางชนิดพบอยู่กับแมลง และในกระเพาะของสัตว์บางชนิด แต่แหล่งที่พบยีสต์อยู่บ่อยๆ คือแหล่งที่มีน้ำตาลความเข้มข้นสูง เช่น น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน ยีสต์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มักจะปนลงไปในอาหาร เป็นเหตุให้อาหารเน่าเสียได้ ยีสต์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส (eukaryotic micro-organisms) จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกเห็ด รา (Fungi) มีทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษต่ออาหาร มีการนำยีสต์มาใช้ประโยชน์นานมาแล้ว โดยเฉพาะการผลิตอาหารที่มีแอลกอฮอล์ จากคุณสมบัติที่มีขนาดเล็กมาก สามารถเพาะเลี้ยงให้เกิดได้ในเวลาอันรวดเร็ว และวิธีการไม่ยุ่งยาก ทำให้ยีสต์เริ่มมีบทบาทที่สำคัญในวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงอาหารธรรมชาติที่สำคัญอีกทีหนึ่ง เช่น ไรแดง โรติเฟอร์ และอาร์ทีเมียยีสต์สามารถสลายสารอาหารได้ทั้งในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจนในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนยีสต์จะเจริญเติบโตได้ดีกว่าเพราะจะนำออกซิเจนไปสลายสารอาหารให้ได้พลังงานมากกว่า 
http://www.bgmarvels.com/private_folder/marvel0005.jpg

การหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจนในเซลล์ยีสต์ในสภาวะที่ไม่มีแก๊สออกซิเจนหรือแก๊สออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้  NADHและ FADH2 ถ่ายทอดอิเล็กตรอนให้กับตัวรับอิเล็กตรอนต่างๆที่ฝังตัวอยู่ในเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรียได้ เนื่องจากขาดแก๊สออกซิเจนซึ่งเป็นตัวรับอิเล็กตรอนในขั้นตอนสุดท้ายจึงไม่สามารถสร้างATPได้และมีการสะสมNADHและFADH2มากขึ้นจึงทำให้ขาดแคลน NADและ FAD มีผลให้ปฏิกิริยาไกลโคลิซีส  วัฏจักรเครบส์ และการถ่ายทอดอิเล็กตรอนดำเนินต่อไปไม่ได้และยังทำให้เซลล์ขาดATPเซลล์จึงมีกระบวนการผันกลับให้NADHกลายเป็น NADเพื่อให้กระบวนการไกลโคลิซีสไม่หยุดชะงักและสามารถสร้างATPต่อไปได้กระบวนการนี้เรียกว่า  กระบวนการหมัก (Fermentation) 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น