วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง การกลั่นแบบธรรมดา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนดำรงวิทยา


            เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 เวลา 13.40 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง การกลั่นแบบธรรมดา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์


          การกลั่น (Distilation) คือ กระบวนการแยกสารละลายที่เป็นของเหลวหรือทำสารให้บริสุทธิ์ (Purification) จากสารละลายผสม โดยการให้ความร้อนที่อุณหภูมิต่าง ๆ กัน เพื่อทำให้สารละลายหรือตัวทำลายหนึ่งระเหยกลายเป็นไอ จากนั้นไอจะเกิดการเคลื่อนที่ผ่านเครื่องควบแน่น (Condenser) ที่อุณหภูมิต่ำ จึงเกิดการควบแน่นกลับเป็นของเหลวอีกครั้งในภาชนะอื่น การกลั่น เป็นกระบวนการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตน้ำมัน (Gasoline) และน้ำมันเชื้อเพลิง (Kerosene), การผลิตน้ำกลั่น, การแยกตัวทำละลายอินทรีย์ ฯลฯ




จุดประสงค์
เพื่อแยกน้ำออกจากสารละลายเกลือแกงโดยวิธีการกลั่นแบบธรรมดา
วัสดุอุปกรณ์
1.       หลอดทดลองขนาดใหญ่และขนาดกลาง อย่างละ 1 หลอด
2.      บีกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3.     สายยางเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร ยาว 50 เซนติเมตร
4.      ขาตั้งและที่จับหลอดทดลอง
5.     ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม
6.     เทอร์โมมิเตอร์
7.      จุกยางเบอร์ 5
8.     น้ำเย็น
9.     สารละลายโซเดียมคลอไรด์เข้มข้นร้อยละ 10 โดยมวลต่อปริมาตร
วิธีการทดลอง
1.       ใส่สารละลายโซเดียมคลอไรด์ปริมาตร 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในหลอด
ทดลองขนาดใหญ่ ปิดด้วยจุกยางที่ต่อสายยางไปยังหลอดทดลองขนาดกลางที่แช่ในน้ำเย็น
2.      ต้มสารละลายในหลอดทดลองขนาดใหญ่จนเกือบแห้ง สังเกตและบันทึกผลการ
เปลี่ยนแปลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น