แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กิจกรรมพัฒนาครูผู้สอน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กิจกรรมพัฒนาครูผู้สอน แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

อบรมพัฒนาการผลิตสื่อการสอนทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) สำหรับครู ณ สวทช.

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.00 - 17.00 น. อาจารย์ คุณครู และนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเครือข่าย โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) จังหวัดยะลา ได้แก่ โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ โรงเรียนดำรงวิทยาและโรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา เข้าร่วมอบรมการผลิตสื่อการสอนทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) สำหรับครู โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาrครูผู้สอนในโรงเรียนเครือข่าย ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สำหรับการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนานักเรียนสู่ประเทศไทย 4.0 โดยมี นางสาวสุปราณี สิทธิไพโรจน์สกุล นักวิชาการอาวุโส และทีมงาน ฝ่ายวิชาการหลักสูตร และสื่อการสอน สวทช. เป็นวิทยากรอบรม โดยมีเนื้อหาการอบรมดังนี้
     1. ประดิษฐ์สื่อการสอนโดยใช้การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
     2. การออกแบบ FUTURE FARM Smart and Small ( thailand  4.0 )
        - การสร้างฟาร์ม จัดสรรพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ออกแบบวางระบต่อวงจรไฟฟ้า เลือกแสง สี และเสียง มาใช้งานเพื่อสร้างรายได้ให้กับฟาร์ม 
    3. กิจกรรมจากลมเป็นไฟ (ฟ้า) : สร้างกังหันลมที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงพอให้หลอดไฟแอลอีดีส่องสว่างได้

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562

อบรมพัฒนาทักษะความเป็นครูสำหรับครูในโรงเรียนประทีปวิทยา


[สไลด์ประกอบการบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้]
วันที่ 28 ตุลาคม 2562 ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) โรงเรียนประทีปวิทยา นางสาวอิบตีซาน เจะแซ ผู้อำนวยการโรงเรียนประทีปวิทยา จัดอบรมพัฒนาทักษะความเป็นครูสำหรับครูในโรงเรียนประทีปวิทยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพความเป็นครูให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในการอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง การพัฒนาทักษะความเป็นครู

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562

นำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับครู


        กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะกระบวนการโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับครู วันที่ 18 เมษายน 2562 ครูประจำโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP ทั้ง 9 โรงเรียนเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นที่ปรึกษาโครงงานให้กับนักเรียน และนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับครู โดยใช้องค์ความรู้ “STEM” 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) ในการพัฒนากระบวนการและนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไข้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562

ค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะกระบวนการโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับครู


        ระหว่างวันที่ 17 – 20 เมษายน 2562 ณ หาดแก้วรีสอร์ท อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา อาจารย์นุชนาถ เต็มดี อาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานในพิธีเปิด ค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะกระบวนการโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับครู จัดโดยโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) สำหรับครูและนักวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP จำนวน 9 โรงเรียน (1) โรงเรียนดำรงวิทยา (2) โรงเรียนคัมภีร์วิทยา (3) โรงเรียนประทีบวิทยา (4) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ (5) โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา (6) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ (7) โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา (8) โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ (9) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 44 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพครูเกี่ยวกับการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ในการอบรมครั้งนี้ได้ใช้หลักการ “STEM” 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) นำองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การอบรมประกอบด้วย กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ “STEM” และ กิจกรรม workshop ดังต่อไปนี้

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

กิจกรรมพัฒนาทักษะการผลิตสื่อคณิตศาสตร์เพื่อเสริมศักยภาพการเรียนการสอน


        

       
        เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2562 อาจารย์ปฏิพัทธ์ ชุมเกศ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมด้วยนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการผลิตสื่อคณิตศาสตร์เพื่อเสริมศักยภาพการเรียนการสอนให้กับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ
        สำหรับกิจกรรมพัฒนาทักษะการผลิตสื่อคณิตศาสตร์เพื่อเสริมศักยภาพการเรียนการสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์การคิดวิเคราะห์คำนวณของนักเรียนและเป็นกิจกรรมตัวอย่างซึ่งจะเป็นแนวทางให้กับครูผู้สอนไปประยุกต์ใช้จริงในการเรียนการสอน โดยรูปแบบกิจกรรมเป็นการนำเนื้อหาในสาขาวิชาคณิตศาสตร์มาถ่ายทอดผ่านการเล่นเกมและกิจกรรมนันทนาการต่างๆ

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการเคมี เรื่องการไทเทรตหาจุดยุติของปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่




        เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2561 เวลา 14.30 - 16.00น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี  เรื่องการไทเทรตหาจุดยุติของปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่ ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยมีอาจารย์รุสนี สาแม เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะด้านการจัดการแข่งขันเอแม็ท

     
        
        ระหว่างวันที่ 1 - 2 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุมกานเฉ่า ชั้น 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดยะลา จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะด้านการจัดการแข่งขันเอแม็ท ให้แก่นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์และครูประจำโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการจัดการแข่งขันเอแม็ท ส่งเสริมครูและนักเรียน ด้านการแข่งขันเอแม็ทในงานวิชาการต่างๆ การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายปิยะวัฒน์ รักราวี ครูประจำโรงเรียนกันตังพิทยากร เป็นวิทยากร ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านการจัดการแข่งขันเอแม็ท

        เอแม็ท เป็นเกมกีฬาพัฒนาสมองการคิดคำนวณเป็นเกมต่อสมการทางคณิตศาสตร์ ทักษะของการเล่นคือ การต่อตัวเลขตามหลักการคำนวณคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการบวก ลบ คูณหาร ลงบนช่องตารางให้เกิดผลดีที่สุด เมื่อจบการแข่งขันผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ คะแนนจะเกิดจากค่าประจำตัวเบี้ยแต่ละตัวในการลงเล่นแต่ละครั้งรวมกับช่องตารางต่างๆ ที่มีค่าแตกต่างกันไป ผู้เล่นอาจจะเล่นแบบฝ่ายละ 1 คน หรือจับคู่เป็นทีมแข่งกันก็ได้

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการ คำนวณ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


        ระหว่างวันที่ 11 - 12 สิงหาคม 2561 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดยะลา จากโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 9 โรงเรียน กำหนดกจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการ คำนวณ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้แก่ครูในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP  ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 (ห้อง 06 - 201) อาคาร 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเห็นแนวทางการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะ การคิดเชิงคำนวณให้สอดคล้องกับผู้เรียน รวมถึงการเขียนโปรแกรม ที่เหมาะสม และการเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้เชิญวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านคอมพิวเตอร์ ได้แก่ อาจารย์อิมรอน แวมง, อาจารย์อิสมาแอ ล่าเตะเกะและสลัยมาน เภอโส๊ะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ พร้อมนักศึกษาช่วยงาน

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2561

อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ

         วันที่ 4 สิงหาคม 2561 เวลา 09.00 น.  โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดยะลา จากโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 9 โรงเรียน กำหนดกจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการ  คำนวณ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้แก่ครูในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ระหว่างวันที่ 4 - 5, 11 - 12 สิงหาคม 2561 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 (ห้อง 06 - 201) อาคาร 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเห็นแนวทางการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะ การคิดเชิงคำนวณให้สอดคล้องกับผู้เรียน รวมถึงการเขียนโปรแกรม ที่เหมาะสม และการเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีอาจารย์ ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รักษาราชการแทน รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมกล่าวต้อนรับและให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ในวันนี้ กล่าวรายงานโดย อาจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี และได้เชิญวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านคอมพิวเตอร์ ได้แก่ อาจารย์อิมรอน แวมง, อาจารย์อิสมาแอ ล่าเตะเกะและสลัยมาน เภอโส๊ะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ พร้อมนักศึกษาช่วยงาน

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ค่ายวิทยาศาสตร์เสริมสร้างเจตคติ ทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ (รุ่นที่ 2)

 

     
        ระหว่างวันที่ 1 - 6 กรกฎาคม 2561 อาจารย์ เจ้าหน้าที่โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ครูผู้สอน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการ SMP จาก โรงเรียนดำรงวิทยา โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา และโรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ จำนวน 118 คน เข้าร่วมกิจกรรม ค่ายวิทยาศาสตร์เสริมสร้างเจตคติ ทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ (รุ่นที่ 2) เพื่อจัดกิจกรรมนอกหลักสูตรเสริมสร้างเจตคติที่ดีและมีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียน อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่รับผิดชอบสอนห้องเรียน SMP ที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ให้มีความรู้และทักษะขั้นสูงเกี่ยวกับเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561

อบรมเชิงปฏิบัติการใช้วัสดุ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับครูมัธยมศึกษาตอนปลาย โครงการ SMP 29 มี.ค. 2561


        วันที่ 29 มีนาคม 2561 ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เยี่ยมให้กำลังใจคณะทีมงานจัดอบรมและครูผู้สอน ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP สาขาวิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ที่ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการใช้วัสดุ อุปการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับครูมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 27-29 มีนาคม 2561ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
        ในการนี้โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาหวังอย่างยิ่งว่าครูผุ้สอนจะนำความรู้ทักษะที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP จำนวน 9 โรงเรียน โดยมีสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาค่อย เป็นพี่เลี้ยงมอบความรู้และถ่ายทอดทักษะประสบการณ์สนับสนุนให้กับคุณครูผู้สอนและโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP แนะแนวทางขั้นตอนในการจัดแล็บ-การเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุค Thailand 4.0 ในพื้นที่ชายแดนใต้” ซึ่งในโครงการ SMP ได้กำหนดให้มีกิจกรรมพัฒนาครูผู้สอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไปพร้อมๆกัน เพื่อให้เห็นภาพลักษณ์ของการเรียนการสอนและนักเรียนมีพัฒนาการเรียนรู้คิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต นักเรียนมีความสนใจ ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และก้าวขึ้นสู่สถาบันอุดมศึกษาอย่างมีคุณภาพ มีอาชีพเลี้ยงปากท้องตนเองและครอบครัวได้

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561

อบรมเชิงปฏิบัติการใช้วัสดุ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับครูมัธยมศึกษาตอนปลาย โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP 28 มี.ค. 2561

     
        
       วันที่ 28 มีนาคม 2561 โครงการSMP จัดอบรมเชิงปฏิบัติการใช้วัสดุ อุปการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับครูมัธยมศึกษาตอนปลาย ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นวันที่ 2 ของการอบรม ให้กับครูในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP เพื่อนำความรู้และทักษะในการจัดแล็บทดลองไปจัดแล็บทดลองการเรียนการสอนให้กับนักเรียน เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

อบรมเชิงปฏิบัติการใช้วัสดุ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับครูมัธยมศึกษาตอนปลาย โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP

       

        วันที่ 27 มีนาคม 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการใช้วัสดุ อุปการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับครูมัธยมศึกษาตอนปลาย โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP กล่าวรายงานโดย อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ดร.ศิริชัย นามบุรี และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP เยี่ยมชมการจัดอบรม Basic English for Teachers



        วันที่16 ธันวาคม พ.ศ.2560 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP)มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำทีมโดย ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP เยี่ยมชมและให้กำลังใจคณะทำงานศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา (http://clas.yru.ac.th) ในการจัดอบรม Basic English for Teachers ณ ดี อามาน โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560

โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมอบรม Basic English for Teachers แก่ครูในโครงการ


       เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2560 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ร่วมกับ ศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา (clas.yru.ac.th) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมอบรม หัวข้อ Basic English for Teachers สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนในเครือข่าย จาก 9 โรงเรียน จำนวน 49 คน  ณ ศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา ชั้น 7 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และจะอบรมนอกสถานที่ในระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม 2560 ณ ดีอาร์มาน รีสอร์ท อ.เทพา จ.สงขลา โดยวันนี้มี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี อดีรองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ประธานดำเนินงานโครงการ SMP ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดอบรม Basic English for Teachers และกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการอบรมครั้งนี้ โดย  ผศ.ดร.สุกินา อาแล ผู้อำนวยการศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำโครงงานให้แก่ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในโครงการ SMP

พิธีเปิด โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี
รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
       
          ระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๖ เมษายน ๒๕๖๐ โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับครูในโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดยะลา ในโครงการห้องเรียนเรียนาพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โครงการ SMP   อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดอบรมเชิงปฏิบัติการฯ กล่าวรายงานโดย อาจารย์นุชนาถ เต็มดี ประธานหลักสูตรคณิตศาสตร์และสถิติ เป็นผู้รับผิดชอบการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ 
       
          ทางโครงการห้องเรียนเรียนพิเศษ SMP ได้เชิญวิทยากรภายนอกที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ใน เรื่องการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์ คือ อาจารย์ฝ้าตีม๊ะ หนูเอียด, อาจารย์อารัตสะ จันทร์คง และอาจารย์สุนธีราภรณ์ ชัยฤกษ์ เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ สำหรับการอบรมในครั้งนี้เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์โดยมีโรงเรียนที่เข้าร่วมดังนี้ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์บาลอ โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา โรงเรียนสมบูณร์ศาสน์ โรงเรียนดำรงวิทยา และโรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมศักยภาพครูผู้สอน และเป็นที่ปรึกษาให้แก่นักเรียนในการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์
       
          รายละเอียดการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์ มีหัวข้อดังนี้
๑. บรรยายความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานการทำโครงงานคณิตศาสตร์
๒. บรรยายความรู้การเขียนรายงานโครงงานคณิตศาสตร์
๓.แบ่งกลุ่มระดมความคิดรอบปัญหาการทำโครงงานคณิตศาสตร์และนำเสนออภิปรายผลการระดมความคิดการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์
๔.แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการเขียนรายงาานโครงงานคณิตศาสตร์และนำเสนออภิปรายผลการเขียนรายงานโครงงานคณิตศาสตร์

       

 

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

ตัวอย่างการสอนแบบบูรณาการ : เสริมลดเวลาเรียนและเพิ่มเวลารู้จากการอบรมปฏิบัติการ 2-4 กันยายน 2559

แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการอบรมปฏิบัติ เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยการปฏิบัติ   วันที่ 2 -4 ก.ย.59  โดยคณะวิทยากรจากโรงเรียนดรุณสิกขาลัย ซึ่งนำทีมโดย ผศ.พรรณี ในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล่าธนบุรี ได้นำเสนอตัวอย่างการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ หลายๆ กิจกรรม ทำให้ครูผู้สอน นักวิทยาศาสตร์ในโครงการ SMP ได้เปิดโลกทรรศน์ ปรับกรอบแนวคิด และลงมือปฏิบัติจริงในการสอนแบบบูรณาการผ่านกิจกรรมหรือเรื่องราวต่างๆ ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีลักษณะกระตุ้นและท้าทายผู้เรียน เรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสาระวิชาที่เกี่ยวข้องไปพร้อมๆ กัน โดยอิงจากประสบการณในชีวิตจริง

  • กิจกรรมการทำขนมบัวลอย บูรณาการสาระการเรียนรู้ (2 ก.ย. 59)
 
 

 การออกแบบกิจกรรมการสอนโดยประยุกต์นำเอากิจกรรม "การทำขนมบัวลอย" มาใช้เป็นกิจกรรมหลัก  เน้นกระบวนการกลุ่ม เสนอเป็นตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการหลายสาระพร้อมๆ กัน โดยสามารถขั้นตอน ดังนี้


  1. กำหนดให้ผู้เรียน แบ่งกลุ่ม 5-7 คน เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน 
  2. ผู้สอนชี้แจงกิจกรรมที่นักเรียนจะต้องทำ โดยให้แต่ละกลุ่มคิดสูตร "การทำขนมบัวลอย" จำนวน 3 สูตร จากวัสดุต่างๆ ที่เตรียมไว้ให้ โดยให้แต่ละกลุ่มพิจารณาจากโดยอาจใช้ประสบการณ์เดิม หรือค้นหาความรู้เกี่ยวกับสูตรขนมบัวลอย จากนั้นให้เขียนสูตรลงในกระดาษ พร้อมขั้นตอนการปรุงหรือทำขนมบัวลอด
  3. จากนั้นให้ใช้เทคนิคการนำเสนอแบบ Visual Taking Note นำเสนอ ขั้นตอนหรือวิธีการปรุงขนมบัวลอย โดยใช้ภาพและตัวเลขในการสื่อความหมาย ข้อห้ามคือ ใช้ภาพและตัวเลขเท่านั้นในการนำเสนอวาดไว้ในกระดาษ Flip Chart
  4. ขั้นตอนต่อมาให้สมาชิกกลุ่มอื่นๆ ลองอ่านหรือนำเสนอ ขั้นตอนหรือวิธีการปรุงขนมบัวลอย โดยใช้ภาพและตัวเลขในการสื่อความหมาย 
  5. ให้นำขนมบัวลอยไปต้มตามขั้นตอนจริง (สร้างความสนุกสนานให้กับผู้เรียน) และลองชิม
  6. จากนั้นให้ผู้อบรมวิเคราะห์และสรุปว่า กิจกรรมการทำขนมบัวลอย มีสาระการเรียนรู้วิชาใด เรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง (การนำเสนอของกลุ่ม มีสาระวิชา เช่น เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา) เพื่อให้เห็นแนวทางว่า ผู้สอนสามารถกำหนดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนร่วมกันเรียนรู้ โดยบูรณาการสาระวิชาลงในกิจกรรมที่ผู้สอนได้ออกแบบร่วมกันไว้แล้วอย่างดี สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่ต้องการในแต่ละสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร
  • กิจกรรมออกแบบเรือที่มีความคิดสร้างสรรค์
  1. กำหนดให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-7 คน
  2. แต่ละกลุ่มร่วมกันออกแบบเรือโดยใช้จินตนาการ, ประโยชน์ใช้สอย, หลักการทางวิชาการ โดยออกแบบร่างไว้ในกระดาษ (ร่างที่ 1)  โดยให้สามารถทำงานได้จริง
  3. นำแบบที่ได้ออกแบบไว้ในกระดาษ วาดในกระดาษ Flip Chart ของกลุ่ม เพื่อให้เป็นแบบร่างที่ 2 โดยคงกรอบความคิดร่างที่ 1 ไว้ให้มากที่สุด
    สรุปผลการอบรมปฏิบัติการ สิ่งที่ได้จากการอบรมครั้งนี้  ที่สำคัญคือ การเปลี่ยนกรอบความคิดของครูผู้สอนในโครงการ SMP ประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลายๆ สาระการเรียนรู้ (หลายวิชา) ผ่านกิจกรรมและกระบวนการกลุ่ม สร้างทักษะการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอน ที่ต้องร่วมกันออกแบบการสอน (จัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการ) ร่วมกัน ซึ่งนับเป็นหน้าที่หลักและสำคัญที่สุดของครู ที่สำคัญคือการที่จะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการได้นั้น ต้องคำนึงถึงหลักสูตร วิธีการบริหารหลักสูตร และนโยบายของผู้บริหารโรงเรียน ที่จะต้องเข้าใจกรอบความคิดในเรื่องของ "การสอนแบบบูรณาการ"  ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ได้ และจะเกิดประโยชน์กับนักเรียนอย่างแท้จริง






วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครู เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์สำหรับครูมัธยมศึกษา



        ระหว่างวันที่ 20 - 22 มิถุนายม 2559 โครงการ SMP จัด อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครู เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์สำหรับครูมัธยมศึกษา ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ประธานดำเนินงานโครงการ SMP เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม

      วัตถุประสงค์ในการจัดอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนทางด้านวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 6 โรงเรียน โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร และศูนย์วิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มาให้ความรู้ในการอบรมครั้งนี้ 

โดยรายละเอียดการอบรมมีดังนี้
วันที่ 20 มิถุนายน 2559 
        ปฏิบัติการเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการเคมี
        ปฏิบัติการเรื่อง การดูแลรักษา ทำความสะอาดวัสดุ อุปกรณ์เครื่องแก้ว
        ปฏิบัติการเรื่อง การทดสอบคาร์โบไฮเดรต
        ปฏิบัติการเรื่อง การวิเคราะห์โปรตีนเชิงปริมาณ
       โดย ดร.นิสาพร มูหะมัด และอาจารย์สุธีรา ศรีสุข อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ 21 มิถุนายน 2559
         ปฏิบัติการเรื่อง เลขนัยสำคัญและการวัด
         ปฏิบัติการเรื่อง กราฟและสมการ
         ปฏิบัติการเรื่อง ความเสียดทาน
         ปฏิบัติการเรื่อง ลูกตุ้มนาฬิกาอย่าง่าย
        โดย น.ส.นัสรีนา เจ๊ะมะ และนายฮูเซ็ง ขายดานา นักวิทยาศาสตร์ประจำศูนย์วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ 22 มิถุนายน 2559
          ปฏิบัติการเรื่อง กล้องจุลทรรศน์และการใช้กล้องจุลทรรศน์
          ปฏิบัติการเรื่อง ฝึกการทำสไลด์สด (เซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดขาว)
          ปฏิบัติการเรื่อง ฝึกการทำสไลด์สด (อับสปอร์ของเฟิร์นและเรณูของพืชดอก)
          ปฏิบัติการเรื่อง ฝึกการทำสไลด์สด (ยัสต์ รา)
         โดย น.ส.อำพร ท่าดะ และน.ส.ลักขณา รักขพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ประจำศูนย์วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

          ซึ่งการอบรมทั้ง 3 วัน ได้รับความร่วมมือจากคุณครูที่เข้าอบรมทุกท่านเป็นอย่างดี ทำให้การอบรมเชิงการปฏิบัติการในครั้งนี้สามารถดำเนินไปอย่างราบรื่น และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้