ระหว่างวันที่ 1 - 6 กรกฎาคม 2561 อาจารย์ เจ้าหน้าที่โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ครูผู้สอน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการ SMP จาก โรงเรียนดำรงวิทยา โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา และโรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ จำนวน 118 คน เข้าร่วมกิจกรรม ค่ายวิทยาศาสตร์เสริมสร้างเจตคติ ทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ (รุ่นที่ 2) เพื่อจัดกิจกรรมนอกหลักสูตรเสริมสร้างเจตคติที่ดีและมีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียน อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่รับผิดชอบสอนห้องเรียน SMP ที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ให้มีความรู้และทักษะขั้นสูงเกี่ยวกับเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2561
เวลา 08.30 – 10.00 น. นักเรียนในโครงการ SMP ร่วมกิจกรรมเรื่อง “เรียนรู้เทคโนโลยีมิวอาย”โดย ทีมงานนักวิจัย หน่วยวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ ( SSDRU ) ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
เวลา 13.00 – 17.30 น. นักเรียนในโครงการ SMP กิจกรรมเรื่อง “มายากลนักเคมี”โดย คุณกรกนก จงสูงเนิน นักวิชาการ ฝ่ายวิชาการและกิจกรรมพัฒนาเยาวชนวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
เวลา 19.00 – 21.30 น. นักเรียนในโครงการ SMP ร่วมกิจกรรม “รวมใจชาวค่าย” เป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ฝึกการคิดออกแบบการทำงานเป็นทีม
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2561
เวลา 09.00 – 10.00 น. นักเรียนในโครงการ SMP ร่วมฟังบรรยายเรื่อง “เส้นทางนักวิทย์ฯ ชีวิตสุด WOW” โดย ดร.พนิดา พรหมพินิจ นักวิจัย ห้องปฏิบัติการโครงสร้างนาโนไฮบริดและนาโนคอมพอสิท หน่วยวิจัยเกษตรนาโนและสิ่งแวดล้อมศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
เวลา 09.00 – 10.00 น. นักเรียนในโครงการ SMP ร่วมฟังบรรยายเรื่อง “เส้นทางนักวิทย์ฯ ชีวิตสุด WOW” โดย ดร.พนิดา พรหมพินิจ นักวิจัย ห้องปฏิบัติการโครงสร้างนาโนไฮบริดและนาโนคอมพอสิท หน่วยวิจัยเกษตรนาโนและสิ่งแวดล้อมศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
เวลา 13.30 – 16.30 น. เจ้าหน้าที่ และครูผู้สอน โครงการ SMP ร่วมกิจกรรม “สเต็มเซลล์ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า ”
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561
เวลา 07.30 – 12.30 น. นักเรียนในโครงการ SMP ร่วมกิจกรรม “ตามรอยพ่อ” โดย ผศ.ดร.พันธุ์วงค์ คุณธนะวัฒน์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
แรงบันดาลใจจากประสบการณ์ตรง สร้างนักวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ จชต.ครับ
ตอบลบ