แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ รายงานผลการดำเนินงาน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ รายงานผลการดำเนินงาน แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

การประชุมคณะกรรมการสรุปและรายงานผลดำเนินงานโครงการ SMP-YRU ประจำปีการศึกษา 2565 ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย

           
            เมื่อวันที่ 30 เดือนพฤาภาคม 2566 เวลา 09.00-16.30 น. ทางโครงการ SMP-YRU ได้กำหนดจัด "การประชุมคณะกรรมการสรุปและรายงานผลดำเนินงานโครงการ SMP-YRU ประจำปีการศึกษา 2565 ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย" ณ ห้องประชุมนังกา ชั้น 3 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสรุปและรายงานผลฯ พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและมวลชนสัมพันธ์ ดำเนินการสานต่อโครงการ SMP-YRU เพื่อบรรลุวัตุประสงค์ตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัยฯ พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ลิลลา อดุลยศาสน์ รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการและคุณภาพบัณฑิต คณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ รวมถึงผู้บริหาร คุณครู นักเรียน และผู้ปกครอง จากโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 15 โรงเรียน โดยมีวัตถประสงค์เพื่อให้โครงการ SMP-YRU รายงานผลการดำเนินงาน ปัญหา ข้อเสนอแนะ การระดมความคิด และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้บริหาร หัวหน้าโครงการฯ และตัวแทนคณะครูจากโรงเรียนเครือข่าย เพื่อนำแนวทางมาปรับใช้ในการดำเนินโครงการฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริการวิชาการและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาครูและนักเรียนในโครงเรียนเครือข่าย รวมทั้งการเตรียมแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อไป







            โครงการ SMP-YRU จะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ สามารถกระตุ้นให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่สำเร็จจากโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 15 โรงเรียน ให้ความสนใจสมัครเข้าศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์หรือในสาขาที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น ทั้งที่ สนใจเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่มีศักยภาพและความพร้อมในการให้บริการมีหลักสูตรให้เลือกเรียนหลากหลายหรืออาจสนใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้หรือมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั่วประเทศ ทั้งนี้โครงการ SMP-YRU จะดำเนินงานต่อเนื่องโดยความร่วมมือของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียน ที่สำคัญคือผู้ปกครอง รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในส่วนหน้า ภาค 4 ส่วนหน้า จนกระทั่งเห็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2561-2565 ซึ่งเป็นนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในโครงการจำนวนประมาณ 1,440 คน

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2565

โครงการห้องเรียน SMP-YRU ร่วมงานสรุปผลการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2565

          ระหว่างวันนี้ 21-23 กันยายน 2565 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ประธานกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU พร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินงานฯ เจ้าหน้าที่ และตัวนักเรียนจากโรงเรียนเครือข่ายได้เข้าร่วมงานสรุปผลการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2565 ในหัวข้อ "การขับเคลื่อนการศึกษา พัฒนาชายแดนภาคใต้" ในการสรุปผลการจัดการศึกษาฯ ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายสุทิน  แก้วพนา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานในวันที่ 23 กันยายน 2565  จัดขึ้น ณ โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว ปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ซึ่งโดยศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้รับความร่วมมือบูรณาการการทำงานจากหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน

          สำหรับการรายงานผลการดำเนินงานโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program: SMP) และโครงการค่ายเสริมสร้างการเรียนรู้อาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามศาสตร์พระราชา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2565 ดำเนินงานโดยเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยนาราธิวาสราชนครินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ร่วมกับ ศูนย์สันติวิธี (ศสว.) กองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายใน กอทัพภาคที่ 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภ.4 สน.) และสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาสและสงขลา ภายใต้แนวทางการศึกษาเพื่อความมั่นคง แผนบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ โดยผู้แทนนำเสนอ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP และโครงการค่ายเสริมสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น การพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ พร้อมสรรหาครุภัณฑ์ วัสดุ การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การพัฒนาและส่งเสริมทักษะกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน ทัศนศึกษา รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจและการรับรู้เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานที่ส่งผลต่อการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผลกระทบ (ความรู้สึกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) จากตัวแทนนักเรียนจาก 4 หน่วยงานในเครือข่ายโครงการ SMP ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน 


      

บูธนิทรรศการจากตัวแทนโรงเรียนเครือข่าย SMP-YRU (โรงเรียนคัมภีร์วิทยาและโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา) และหน่วยงานอื่น ๆ





วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU เข้าร่วมการประชุมติดตามการขับเคลื่อนงานโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

         วันที่ 25 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00 12.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสาพร  มูหะมัด คณะกรรมการดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program Yala Rajabhat University: SMP-YRU) ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในเขตพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นเครือข่ายการพัฒนาโดยใช้แนวทางการศึกษาเพื่อความมั่นคง ได้เข้าร่วมประชุมติดตามการขับเคลื่อนงานโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจัดโดยศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference System) ด้วยโดยแกรม Zoom Meeting ในการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายการุณ สกุลประดิษฐุ์ กรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดประชุมในนี้

          สำหรับการรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงาน "โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้" หรือโครงการ SMP-YRU โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีกิจกรรมหลักดำเนินการคือ กิจกรรมการปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และการจัดสรรหาครุภัณฑ์ อุปกรณ์ วัสดุสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์  จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ 1 โรงเรียนเจริญศาสน์วิทยา (ปอเนาะกาสังบน) ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา  2 โรงเรียนผดุงศิลวิทยา ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา  และ 3 โรงเรียนพัฒนาวิทยากร (ปอเนาะบาบอลี) ต.จ๊ะกว๊ะ อ.รามัน จังหวัดยะลา ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และจัดหา ติดตั้งครุภัณฑ์เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคม 2565 นี้ ในส่วนของผลการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมาย และห้องปฏิบัติการเสร็จทันใช้ก่อนการเปิดใช้ในการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 นี้อย่างแน่นอน โครงการ SMP-YRU ยังได้เสนอให้พิจารณาขยายผลของโครงการต้นแบบ SMP-YRU ให้เป็นโครงการยุทธศาสตร์สำคัญตามพันธกิจของหน่วยงานรับผิดชอบการจัดการศึกษาในพื้นที่ในระดับมัธยมศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นที่ปรึกษาหรือร่วมรับผิดชอบการดำเนินงานโครงการเชิงบูรณาการในพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ จชต. และใช้การพัฒนาด้วยการศึกษา สนับสนุนการแก้ปัญหาในพื้นที่เพื่อสันติสุขต่อไป

          นอกจากนั้น โครงการ SMP-YRU ยังส่งเสริมกิจกรรมให้กับนักเรียน บุคลากรการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อาทิ กิจกรรมรอบรมพัฒนาศักยภาพของนักเรียนด้านเทคโนโลยี กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพครู้สอนการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เป็นต้น โดยมุ่งเน้นร่วมกันพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย  SMP-YRU ร่วมกันทั้ง 15 โรงเรียน โดยในปีการศึกษา 2565 จะมีนักเรียนระดับชั้น ม.3 และ ม.4-6 ได้รับโอกาส ลดช่องว่างทางการศึกษา โดยเน้นลงมือปฏิบัติการในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ และการฝึกฝนให้มีทักษะและความสนใจในการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565

โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2565

      ระหว่างวันที่ 21-22 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประธานกรรมการกำกับการดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program) ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในเขตพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นเครือข่ายการพัฒนาโดยใช้แนวทางการศึกษาเพื่อความมั่นคง ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานผลตามตัวชี้วัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งจัดโดยศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศค.จชต. https://moe-south.org)  ณ โรงแรม บี.พี. แกรนด์ทาวเวอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายวาทิต มีสนุ่น ผู้อำนวยการศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมในวันที่ 21 เมษายน 2565  และนายภิญญา รัตนวรชาติ รองผู้อำนวยการศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เกียรติเป็นวิทยากร และประธานในพิธีปิดการประชุมปฏิบัติการ ในวันที่ 22 เมษายน 2565

      สำหรับการรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงาน "โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้" หรือโครงการ SMP-YRU โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีกิจกรรมหลักดำเนินการคือ กิจกรรมการปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และ กิจกรรมการจัดหาครุภัณฑ์ อุปกรณ์ วัสดุสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, และปี ที่ 4-6  ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และจัดหา ติดตั้งครุภัณฑ์เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคม 2565 นี้ มีผลการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมาย และห้องปฏิบัติการเสร็จทันใช้ก่อนการเปิดใช้ในการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 นี้อย่างแน่นอน  นอกจากนั้น โครงการ SMP-YRU ยังได้เสนอให้พิจารณาขยายผลของโครงการต้นแบบ SMP-YRU ให้เป็นโครงการยุทธศาสตร์สำคัญตามพันธกิจของหน่วยงานรับผิดชอบการจัดการศึกษาในพื้นที่ในระดับมัธยมศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นที่ปรึกษาหรือร่วมรับผิดชอบการดำเนินงานโครงการเชิงบูรณาการในพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ จชต. และใช้การพัฒนาด้วยการศึกษา สนับสนุนการแก้ปัญหาในพื้นที่เพื่อสันติสุขต่อไป

นายวาทิต มีสนุ่น ผู้อำนวย ศค.จชต. เป็นประธานในพิธีเปิด

นายภิญญา รัตนวรชาติ รอง ศค.จชต. ให้เกียรติเป็นวิทยกร และเป็นประธานในพิธีปิด

     สำหรับการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีเป้าหมายพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายใหม่เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียนเจริญศาสน์วิทยา (ปอเนาะกาสังบน) ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา  2) โรงเรียนผดุงศิลวิทยา ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา  และ 3) โรงเรียนพัฒนาวิทยากร (ปอเนาะบาบอลี) ต.จ๊ะกว๊ะ อ.รามัน จังหวัดยละา พร้อมทั้ง ยังคงมีความร่วมมืออย่างเข้มแข็งกับโรงเรียนในเครือข่ายเดิมอีก 12 โรงเรียน โดยมุ่งเน้นร่วมกันพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย  SMP-YRU ร่วมกันทั้ง 15 โรงเรียน โดยในปีการศึกษา 2565 จะมีนักเรียนระดับชั้น ม.3 และ ม.4-6 ได้รับโอกาส ลดช่องว่างทางการศึกษา โดยเน้นลงมือปฏิบัติการในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ และการฝึกฝนให้มีทักษะและความสนใจในการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี จำนวนเกือบ 1,500 คน โดยจะมีการร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง จัดทำเป็นบันทึกความเข้าใจ (MoU) ในการพัฒนาร่วมกันในระยะ 3 ปี ในอนาคตต่อไป