แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2565

โครงการห้องเรียน SMP-YRU ร่วมงานสรุปผลการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2565

          ระหว่างวันนี้ 21-23 กันยายน 2565 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ประธานกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU พร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินงานฯ เจ้าหน้าที่ และตัวนักเรียนจากโรงเรียนเครือข่ายได้เข้าร่วมงานสรุปผลการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2565 ในหัวข้อ "การขับเคลื่อนการศึกษา พัฒนาชายแดนภาคใต้" ในการสรุปผลการจัดการศึกษาฯ ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายสุทิน  แก้วพนา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานในวันที่ 23 กันยายน 2565  จัดขึ้น ณ โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว ปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ซึ่งโดยศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้รับความร่วมมือบูรณาการการทำงานจากหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน

          สำหรับการรายงานผลการดำเนินงานโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program: SMP) และโครงการค่ายเสริมสร้างการเรียนรู้อาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามศาสตร์พระราชา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2565 ดำเนินงานโดยเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยนาราธิวาสราชนครินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ร่วมกับ ศูนย์สันติวิธี (ศสว.) กองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายใน กอทัพภาคที่ 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภ.4 สน.) และสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาสและสงขลา ภายใต้แนวทางการศึกษาเพื่อความมั่นคง แผนบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ โดยผู้แทนนำเสนอ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP และโครงการค่ายเสริมสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น การพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ พร้อมสรรหาครุภัณฑ์ วัสดุ การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การพัฒนาและส่งเสริมทักษะกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน ทัศนศึกษา รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจและการรับรู้เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานที่ส่งผลต่อการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผลกระทบ (ความรู้สึกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) จากตัวแทนนักเรียนจาก 4 หน่วยงานในเครือข่ายโครงการ SMP ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน 


      

บูธนิทรรศการจากตัวแทนโรงเรียนเครือข่าย SMP-YRU (โรงเรียนคัมภีร์วิทยาและโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา) และหน่วยงานอื่น ๆ





วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ขอเชิญโรงเรียน SMP-YRU เข้าร่วมกิจกรรมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2565 ณ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

   มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ขอเชิญโรงเรียน SMP-YRU และเครือข่าย เข้าร่วมกิจกรรมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2565  ณ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดังรายละเอียด


วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565

โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2565

      ระหว่างวันที่ 21-22 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประธานกรรมการกำกับการดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program) ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในเขตพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นเครือข่ายการพัฒนาโดยใช้แนวทางการศึกษาเพื่อความมั่นคง ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานผลตามตัวชี้วัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งจัดโดยศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศค.จชต. https://moe-south.org)  ณ โรงแรม บี.พี. แกรนด์ทาวเวอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายวาทิต มีสนุ่น ผู้อำนวยการศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมในวันที่ 21 เมษายน 2565  และนายภิญญา รัตนวรชาติ รองผู้อำนวยการศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เกียรติเป็นวิทยากร และประธานในพิธีปิดการประชุมปฏิบัติการ ในวันที่ 22 เมษายน 2565

      สำหรับการรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงาน "โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้" หรือโครงการ SMP-YRU โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีกิจกรรมหลักดำเนินการคือ กิจกรรมการปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และ กิจกรรมการจัดหาครุภัณฑ์ อุปกรณ์ วัสดุสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, และปี ที่ 4-6  ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และจัดหา ติดตั้งครุภัณฑ์เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคม 2565 นี้ มีผลการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมาย และห้องปฏิบัติการเสร็จทันใช้ก่อนการเปิดใช้ในการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 นี้อย่างแน่นอน  นอกจากนั้น โครงการ SMP-YRU ยังได้เสนอให้พิจารณาขยายผลของโครงการต้นแบบ SMP-YRU ให้เป็นโครงการยุทธศาสตร์สำคัญตามพันธกิจของหน่วยงานรับผิดชอบการจัดการศึกษาในพื้นที่ในระดับมัธยมศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นที่ปรึกษาหรือร่วมรับผิดชอบการดำเนินงานโครงการเชิงบูรณาการในพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ จชต. และใช้การพัฒนาด้วยการศึกษา สนับสนุนการแก้ปัญหาในพื้นที่เพื่อสันติสุขต่อไป

นายวาทิต มีสนุ่น ผู้อำนวย ศค.จชต. เป็นประธานในพิธีเปิด

นายภิญญา รัตนวรชาติ รอง ศค.จชต. ให้เกียรติเป็นวิทยกร และเป็นประธานในพิธีปิด

     สำหรับการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีเป้าหมายพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายใหม่เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียนเจริญศาสน์วิทยา (ปอเนาะกาสังบน) ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา  2) โรงเรียนผดุงศิลวิทยา ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา  และ 3) โรงเรียนพัฒนาวิทยากร (ปอเนาะบาบอลี) ต.จ๊ะกว๊ะ อ.รามัน จังหวัดยละา พร้อมทั้ง ยังคงมีความร่วมมืออย่างเข้มแข็งกับโรงเรียนในเครือข่ายเดิมอีก 12 โรงเรียน โดยมุ่งเน้นร่วมกันพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย  SMP-YRU ร่วมกันทั้ง 15 โรงเรียน โดยในปีการศึกษา 2565 จะมีนักเรียนระดับชั้น ม.3 และ ม.4-6 ได้รับโอกาส ลดช่องว่างทางการศึกษา โดยเน้นลงมือปฏิบัติการในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ และการฝึกฝนให้มีทักษะและความสนใจในการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี จำนวนเกือบ 1,500 คน โดยจะมีการร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง จัดทำเป็นบันทึกความเข้าใจ (MoU) ในการพัฒนาร่วมกันในระยะ 3 ปี ในอนาคตต่อไป  


วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2564

กิจกรรมเปิดห้องเรียนสาธิต PLC-SMP-YRU e-Learning รายวิชาเคมี ระดับชั้น ม.4


 วันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2564 เวลา 09.00-11.00 น. แผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โครงการวิจัยย่อยที่ 3 การจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (SMP-YRU)  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้วิจัยโดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี หัวหน้าแผนงานวิจัยและเป็นหัวหน้าโครงการ SMP-YRU จัดกิจกรรมเปิด 

     ห้องเรียนสาธิตจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง โดยใช้แผนจัดการเรียนรู้วิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย ซึ่งเกิดจากการพัฒนาร่วมกันของสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูเคมี ประกอบด้วยผู้บริหาร ครู นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย ที่สนใจการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนด้วยรูปแบบอีเลิร์นนิ่ง สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 ในปัจจุบัน และสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งให้แก่ครูผู้สอนในการพัฒนาตนเองให้เหมาะกับบริบทสไตล์การเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งเป็นคนในยุค Gen Z ที่เกิดมาพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีออนไลน์

       การจัดกิจกรรมเปิดห้องเรียนหรือชั้นเรียนสาธิตครั้งนี้ จัดกิจกรรมสาธิตการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์ตามรูปแบบจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง ได้แก่ การจัดการชั้นเรียนผ่าน Google Classroom ร่วมกับ Google Meet และยังมีแอพลิเคชั่นสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร การทำแบบทดสอบ การทำแบบฝึกหัดด้วยเกม โดยมี ครูสตารีย๊ะ มะลี จากโรงเรียนประทีปวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนในเครือข่าย SMP-YRU และมีกลุ่มทดลองเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 35 คน เรียนผ่านชั้นเรียน Google Classroom  

หลังจากจัดกิจกรรมสาธิตการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งเสร็จสิ้นแล้ว ได้จัดให้มีกิจกรรมการสะท้อนผลจากการสังเกตการณ์การจัดการเรียนรู้จากครูผู้สอน ผู้บริหาร ครูในชุมชน PLC-SMP-YRU eLearning ผู้เชี่ยวชาญ ผู้นิเทศก์ ในประเด็นความประทับใจ ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแผนจัดการเรียนรู้ และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ซึ่งผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์จะได้เผยแพร่เพื่อแลกเปลี่ยนในโอกาสต่อไป 

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มรย. รับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ปีการศึกษา 2564 ประเภทโควต้า

      คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ปีการศึกษา 2564 ประเภทโควต้า ระหว่างวันที่ 2 ธันวาคม 2563 - 15 มกราคม 2564 ขอเชิญผู้สนใจสมัครสามารถดาวน์โหลดใบสมัครและแนบหลักฐานทางการศึกษา ส่งทางไปรษณีย์มาที่ สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อ.เมือง จ.ยะลา 95000 ภายในวันที่ 10 มกราคม 2564  [ใบสมัครประเภทโควต้า]

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563

SMP จิตอาสาร่วมต้านโควิค 19

 
       เมื่อวันที่ 2 - 9 เมษายน 2563 เจ้าหน้าที่โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้ร่วมจิตอาสาผลิตหน้ากาก Face Shield ไปแจกพี่ทหารด่านรามัน  และร่วมจิตอาสากับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเพื่อนำไปบริจาคให้กับ couple ประชาชน บุคคลากรด้านการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการในที่สุ่มเสี่ยง ในเขตสามจังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 20,000 ชิ้น ซึ่งคณะวิทยาการจัดการ ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยฯ เพื่อเป็น Center ในการผลิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยบุคลากรมหาวิทยาลัยฯ กำลังดำเนินการช่วยเหลือโรงพยาบาลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ อีกทั้งได้จัดทำแจลแอลกอฮอล์ จำนวน 800 ลิตร หน้ากากอนามัยผ้าจำนวน 20,000 ชิ้น หน้ากากพลาสติก จำนวน 20,000 ชิ้น และกล่องป้องกัน covid 19 จำนวน 400 รูป ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยฯ กำลังรวบรวมสมทบทุนปันน้ำใจในการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ค่ายวิทยาศาสตร์เสริมสร้างเจตคติ ทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ (รุ่นที่ 1)


              ระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ 25ุ63 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมค่ายวิทยาศาสตร์เสริมสร้างเจตคติ ทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ ณ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยมีคณะอาจารย์ คุณครู และนักวิทยาสาสตร์ประจำโรงเรียน เข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วย รุ่นที่ 1 มีโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ บาลอ และโรงเรียนประทีบวิทยา จำนวนทั้งหมด 126 คน โดยลักษณะกิจกรรมที่จัดเกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตรและ ด้าน STEM มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกิจกรรมนอกหลักสูตรเสริมสร้างเจตคติที่ดีและมีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียน อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่รับผิดชอบสอนห้องเรียน SMP ที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ให้มีความรู้และทักษะขั้นสูงเกี่ยวกับเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

นำเสนอโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563


วันที่ 17 กันยายน 2563 ณ ห้องประชุมโรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ  อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program: SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมประชุมเพื่อนำเสนอรายละเอียดโครงการเพื่อเสนอของบประมาณประจำปี พ.ศ. 2563 เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของโครงการ SMP ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5  (เริ่มโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559)  โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ  ผู้แทนจาก กอ.รมน.ภ.4 ส่วนหน้า และคณะทำงานจากสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สล.คปต.) เพื่อกลั่นกรองข้อมูลเตรียมนำเสนองบประมาณโครงการต่อคณะกรรมการกรรมาธิการต่อไป ซี่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 นี้ โครงการ SMP ยังคงสนับสนุนการพัฒนานักเรียน อาจารย์ บุคลากร ผู้บริหาร ชุมชน ผู้ปกครอง (โรงเรียนเดิม 9 โรงเรียน และมีเป้าหมายพัฒนาโรงเรียนใหม่อีก 3 โรงเรียน) รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายบูรณาการการทำงานร่วมกันในพื้นที่
    ในปี พ.ศ. 2563 มีเป้าหมายเพื่อใช้การศึกษาเป็นกลไกในการพัฒนาด้านความมั่นคง สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เพื่อตอบสนองกำลังคงในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเน้นการใช้กระบวนการวิจัยในการติดตามประเมินผลการพัฒนาในโครงการอย่างต่อเนื่อง
   สำหรับผลการดำเนินงานสำคัญที่ผ่านมา ในปีการศึกษา 2562 มีนักเรียน ม.6 รุ่นแรกจาก 6 โรงเรียนในโครงการ สำเร็จการศึกษา 238 คน และเข้าศึกษาต่อปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ รวม วิทยาศาสตร์ประยุกต์ จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 28.99  ซึ่งตามเป้าหมายในโครงการ ต้องการสร้างเจตคตินักเรียนในโครงการให้สนใจศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และที่เกี่ยวข้องเพื่อตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ในอนาคต  ในจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา ยังมีความต้องการเรียนต่อด้านศาสนาให้จบหลักสูตร อีกจำนวน 68 คน ในจำนวนนี้ คาดว่าจะมีผู้ศึกษาต่อปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์และที่เกี่ยข้องเพิ่มขึ้น ซึ่งโครงการจะติดตามต่อไป


ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ติดตามได้ที่  https://smp-yru.blogspot.com/p/blog-page_7.html

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการ คำนวณ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


        ระหว่างวันที่ 11 - 12 สิงหาคม 2561 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดยะลา จากโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 9 โรงเรียน กำหนดกจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการ คำนวณ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้แก่ครูในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP  ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 (ห้อง 06 - 201) อาคาร 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเห็นแนวทางการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะ การคิดเชิงคำนวณให้สอดคล้องกับผู้เรียน รวมถึงการเขียนโปรแกรม ที่เหมาะสม และการเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้เชิญวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านคอมพิวเตอร์ ได้แก่ อาจารย์อิมรอน แวมง, อาจารย์อิสมาแอ ล่าเตะเกะและสลัยมาน เภอโส๊ะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ พร้อมนักศึกษาช่วยงาน

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เยี่ยมชมนิทรรศการแสดงผลงานของนักเรียนโครงการ SMP

   
        วันที่ 17 สิงหาคม 2561 ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เยี่ยมชมนิทรรศการแสดงผลงานของนักเรียนในเครือข่ายโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมาย พื้นที่จังหวัดยะลา จำนวน 9 โรงเรียนได้แก่ โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา โรงเรียนดำรงวิทยา โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา และโรงเรียนประทีปวิทยา ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานนักเรียน ในงาน มรย.วิชาการ 61 เปิดโลกนวัตกรรม เพื่อพัฒนาท้องถิ่นชายแดนใต้ และงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2561 ตั้งแต่วันที่ 15 - 19 สิงหาคม 2561 จัดขึ้นโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา , คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร , และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพด้วยกระบวนการทางการศึกษา การบูรณาการศาสตร์สากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ชี้นำ และตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นด้วยกระบวนการทางการศึกษา กระบวนการพัฒนาองค์ความรู้ ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ส่งเสริมสืบสานศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น และของชาติ เสริมสร้างคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ เพื่อเป็นพลังปัญญาของแผ่นดิน เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และเป็นมหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

มรย.วิชาการ 61 เปิดโลกนวัตกรรม เพื่อพัฒนาท้องถิ่นชายแดนใต้ และงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2561


          มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดงาน มรย.วิชาการ 61 เปิดโลกนวัตกรรม เพื่อพัฒนาท้องถิ่นชายแดนใต้ และคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2561 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 - 19 สิงหาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

        ในการนี้โรงเรียนในเครือข่ายโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมาย พื้นที่จังหวัดยะลา จำนวน 9 โรงเรียนได้แก่ โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา โรงเรียนดำรงวิทยา โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา และโรงเรียนประทีปวิทยา ได้ร่วมจัดนิทรรศการแสดงนำเสนอผลงานของนักเรียนโครงการ SMP ในงานครั้งนี้ด้วย

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561

อบรมเชิงปฏิบัติการ “เสริมทักษะ 4.0 ผ่านเว็บไซต์ Blogger ในการเรียนรู้” รุ่นที่


ระหว่างวันที่ 10 - 11 สิงหาคม 2561 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เสริมทักษะ 4.0 ผ่านเว็บไซต์ Blogger ในการเรียนรู้” รุ่นที่ 4 ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา และโรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา วันที่ 11 สิงหาคม 2561 ได้รับเกียรติจากอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธีเปิดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เสริมทักษะ 4.0 ผ่านเว็บไซต์ Blogger ในการเรียนรู้” รุ่นที่ 4 และให้โอวาทพูดคุยกับผู้เข้าร่วมอบรมถึงความสำคัญของเทคโนโลยีในยุค thailand 4.0 ที่มีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวัน และในด้านที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษา เช่น การใช้ Blogger เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการเก็บประวัติส่วนตัวในแต่ละด้านเพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกกษาต่อไป

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561

อบรมเชิงปฏิบัติการ “เสริมทักษะ 4.0 ผ่านเว็บไซต์ Blogger ในการเรียนรู้” รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2




        ระหว่างวันที่ 4 - 5 สิงหาคม 2561 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เสริมทักษะ 4.0 ผ่านเว็บไซต์ Blogger ในการเรียนรู้” รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา และโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านคอมพิวเตอร์ นายแวอัสรี แวมายิ เจ้าหน้าที่เทคนิคคอมพิวเตอร์อุทยานการเรียนรู้ ยะลา และนายธวัชชัย ปราณขำ นักวิชาการศึกษา โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นวิทยากรในการอบรม และพร้อมด้วยผู้ช่วยวิทยากร นักศึกษาสาขาคอมคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา การอบรมในครั้งนี้สร้างเด็กยุคไทยแลนด์ 4.0 สร้างเด็กและเยาวชนไทยให้มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะในการประยุกต์ให้เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างความคิดของเด็กและเยาวชนไปสู่ที่ยากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จของการยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติ การพัฒนาเด็กต้องพัฒนาทั้งด้านความรู้ และทักษะการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การเรียนรู้จากปัญหาจริงที่เกิดขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ติตตามนิเทศการดำเนินงานของโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP)



        เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561 อาจารย์ปฏิพัทธ์ ชุมเกศ อาจารย์ภัทรพิชชา แก้วศรีขาว อาจารย์ประจำสาขาคณิตศาสตร์ อาจารย์ ดร.ดาริกา จาเอาะ อาจารย์ประจำสาขาฟิสิกส์ นายฮูเซ็ง ชายดานา นักวิทยาศาสตร์ประจำสาขาฟิสิกส์ อาจารย์จารุ นิคม อาจารย์ประจำสาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ลงพื้นที่ติตตามการดำเนินงานของโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ณ โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา และโรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ พบปะผู้บริหาร ร่วมพุดคุยถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนรับฟังข้อเสนอแนะจาก นางสาวซากีย๊ะ อาบู ผู้อำนวยการโรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา นายมาหามะรอลี อาบูบากา ผู้อำนวยการโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์ และคณะครูผู้สอนประจำโรงเรียน จากนั้นได้นิเทศสังเกตการเรียนการสอน และพบปะพูดคุยกับนักเรียนในโครงการ SMP

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ติตตามนิเทศการเรียนการสอน พบปะผู้บริหาร เยี่ยมนักเรียนในโครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา และโรงเรียนดำรงวิทยา



        วันที่ 23 กรกฎาคม 2561 คณะกรรมการติดตามประเมินผล โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา นำทีมโดยอาจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด ประธานกรรมการ ฝ่ายบริหารจัดการโครงการและติดตามประเมินผล คณะกรรมการ อาจารย์ภัทรพิชชา แก้วศรีขาว อาจารย์ปฏิพัทธ์ ชุมเกศ  อาจารย์ประจำสาขาคณิตศาสตร์ อาจารย์ฮูเซ็ง ชายนาดา อาจารย์ ดร.ดาริกา จาเอาะ อาจารย์ประจำสาขาฟิสิกส์ อาจารย์ ดร.มนทกานต์ พิมเสน อาจารย์ประจำสาขาชีววิทยา และเจ้าหน้าที่ โครงการ SMP  เวลา 09.00 – 12.00 น. ลงพื้นที่ติตตามนิเทศการเรียนการสอน พบปะผู้บริหาร และเยี่ยมนักเรียนในโครงการ SMP ณ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นายซัลมาน ผดุง ผู้รับใบอนุญาต นายมูยาฮิด ผดุง ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และเวลา 13.00 – 15.30 น. ติตตามนิเทศการเรียนการสอนฯ ณ โรงเรียนดำรงวิทยา  มูหะมัดอาบีดีน บาระตายะ ผู้อำนวยการ มะรูดิง เจ๊ะมิง ผู้จัดการ
        ในการติตตามนิเทศโรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP คณะกรรมการติดตามประเมินผล มีประเด็นนิเทศดังต่อไปนี้ นิเทศด้านสภาพแวดล้อมโครงการ SMP ในโรงเรียน (Context) ได้มีการพบปะกับผู้บริหาร ครูผู้ พูดคุยแลกเปลี่ยนถึงปัญหาและอุปสรรค ข้อเสนอแนะ เรียนรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองและชุมชนเกี่ยวกับโครงการ SMP จากผู้บริหาร และสังเกตการเรียนการสอนของนักเรียนในโครงการ SMP นิเทศด้านปัจจัยนำเข้า (Input) เรื่องความพร้อมของครูผู้สอนและผู้รับผิดชอบห้องเรียนโครงการ SMP รวมถึงความพร้อมของ วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ ห้องปฏิบัติการว่ามีความพร้อมในการใช้งานหรือไม่ และได้มีการสนับสนุนงบประมาณหรือทรัพยากรอื่นๆเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่โครงการ SMP สนับสนุนหรือไม่  นิเทศด้านกระบวนการ (Process) มีกิจกรรมพัฒนาส่งเสริมผู้เรียนและครูผู้สอนเพิ่มเติมจากเดิมหรือไม่ และได้มีการสังเกตการจัดระบบบริหารจัดการของห้องเรียน SMP ว่ามีคุณภาพหรือไม่ นิเทศด้านผลผลิต (Product) นักเรียนมีเจตคติ ความรู้ ความเข้าใจ สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ SMP ครูผู้สอนมีความรู้และทักษะการสอน การปฏิบัติการโดยเน้นให้นักเรียนลงมือทำ และผลลัพธ์ของการดำเนินงานโครงการ SMP ในภาพรวมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ SMP หรือไม่

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ค่ายวิทยาศาสตร์เสริมสร้างเจตคติ ทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ (รุ่นที่ 1)


        ระหว่างวันที่ 23 - 28 มิถุนายน 2561 ณ (สวทช.) บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เจ้าหน้าที่โครงการฯ ครูผู้สอน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP)โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ บาลอ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา และโรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์  เข้าร่วมกิจกรรม ค่ายวิทยาศาสตร์เสริมสร้างเจตคติ ทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ (รุ่นที่ 1) เพื่อจัดกิจกรรมนอกหลักสูตรเสริมสร้างเจตคติที่ดีและมีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่รับผิดชอบสอนห้องเรียน SMP ที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ให้มีความรู้และทักษะขั้นสูงเกี่ยวกับเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การประชุมปฏิบัติการติดตามนิเทศโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2561 ครั้งที่ 1/2561


วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลา 13.30 น. ถึง 15.30 น โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดการประชุมปฏิบัติการติดตามนิเทศโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2561 ครั้งที่ 1/2561 ให้กับผู้บริหารโรงเรียน ผู้รับใบอนุญาต หัวหน้าวิชาการ ครูแนะแนว ครูผู้สอนวิชา ฟิสิกส์ , เคมี , ชีววิทยา , คณิตศาสตร์ โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุมหลูหุ้ย ชั้น 6 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศูนย์บรรณสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีระเบียบวาระและสรุปในการประชุมดังนี้

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ค่ายเสริมทักษะเชิงปฏิบัติการวิทย์ - คณิต PAT วันที่ 9 พฤษภาคม 2561


        ภาพกิจกรรมค่ายวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตามที่โครงการห้องเรียนพิเศษ S M P มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้จัดค่ายเสริมทักษะเชิงปฏิบัติการวิทย์ - คณิต PAT ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ S M P จำนวน 6 โรงเรียน การติวในวันนี้ได้รับเกียรติจากท่านวิทยากร อาจารย์อุบล ตันสม อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชา  เคมี อาจารย์สาธินี วารีศรี อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขา วิชา คณิตศาสตร์ และ อาจารย์พูรกอนนี สาและ อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชา จุลชีววิทยา มาให้ความรู้นักเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียนในการสอบที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ ให้ชินกับรูปแบบของการสอบ ตลอดจนสร้างความเข้าใจให้นักเรียน ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการสอบเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาซึ่งเป็นการสอบที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะทางในรายวิชาต่างๆที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์