วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การศึกษาองค์ประกอบของเซลล์พืชจากสาหร่ายหางกระรอกภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

   เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 เวลา 14.00 – 14.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 33 คน ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองรายวิชาชีววิทยา เรื่อง การศึกษาองค์ประกอบของเซลล์พืชจากสาหร่ายหางกระรอก โดยมี อ.ซอปียะห์ มะบูมิ่ง เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วย
ภาพที่ 1 สาหร่ายหางกระรอก
วัตถุประสงค์การทดลอง
1.บอกส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชได้
2. สามารถเตรียมสไลด์สด เพื่อศึกษาองค์ประกอบของเซลล์ได้

    เซลล์ (Cell) เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ยกเว้นสิ่งที่ไม่มีโครงสร้างเป็นเซลล์ คือ ไวรัส (Virus) กับไวรอยด์ (Viroid) เนื่องจากไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) และโพรโทพลาสซึม (Protoplasm) โดยพบว่าสิ่งมีชีวิตหลายชนิด มีร่างกายที่เป็นโครงสร้างซับซ้อน และประกอบด้วยหลายเซลล์ เซลล์แต่ละเซลล์มีโครงสร้างและทำหน้าที่เป็นหน่วยของชีวิต แต่ละชนิดก็จะทำหน้าที่แตกต่างกันไป เซลล์ของ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด มีขนาดแตกต่างกันมาก ตั้งแต่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ไปจนกระทั่งเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยการทดลองนี้จะเป็นการศึกษาองค์ประกอบต่างๆของเซลล์พืชจากสาหร่ายหางกระรอก


ภาพที่ 2 สาหร่ายหางกระรอกภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่กำลังขยายต่างๆ
 ซ้าย: กำลังขยาย  4x    กลาง: กำลังขยาย 10x   ขวา:   กำลังขยาย   40x
จากภาพที่ปรากฏภายใต้กล้องจุลทรรศ์แบบใช้แสงที่กำลังขยายต่างๆ นักเรียนสามารถสังเกตุคลอโรพลาส/เม็ดสีเขียว บรรจุคลอโรฟิลล์จำนวนมาก กระจายอยู่ในไซโตพลาสซึม และบอกตำแหน่ง หน้าที่ พร้อมทั้งวาดรูปส่วนประกอบต่างๆของเซลล์พืชได้ เช่น คลอโรพลาส นิวเคลียส เยื่อหุ้มเซลล์ และผนังเซลล์ เป็นต้น 

ภาพประกอบการทดลอง







   จากการทดลองในครั้งนี้ทำให้นักเรียนเข้าใจถึงส่วนประกอบต่างๆของเซลล์พืช หน้าที่และประโยชน์ของออร์แกแนลล์ต่างๆ ที่พบในเซลล์พืช รวมถึงสามารถพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ และวางแผนตามหลักกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย



1 ความคิดเห็น: