วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ศึกษาการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร


ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13.40 – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้มีการเรียนการสอนปฏิบัติการเรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โดยมีนางสาวมาเรียม สาแลแม เป็นครูผู้สอนปฏิบัติการในครั้งนี้

การเกิดปฏิกิริยาเคมี
          ถ้าสังเกตรอบๆตัวเรา จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงใด เป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมี มีข้อสังเกตในการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือจะต้องมีสารใหม่เกิดขึ้นเสมอ สารใหม่ที่เกิดขึ้นจะต้องมีสมบัติเปลี่ยนไปจากสารเดิม เช่น การเผาไหม้ของวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิง การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร การสึกกร่อนของอาคารบ้านเรือน การบูดเน่าของอาหาร เป็นต้น
ปฏิริยาเคมีคืออะไร
          ปฏิกิริยาเคมีหมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสารแล้วส่งผลให้ได้สารใหม่ที่มีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม โดยในการเกิดปฏิกิริยาเคมี จะต้องเกิดจากสารตั้งต้น (reactant)    ทำปฏิกิริยากัน แล้วเกิดเป็นสารใหม่ เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)

อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง
          แผ่นแมกนีเซียมริบบอน
          สารละลายเลดไนเตรด                    0.1 โมล/dm3
          สารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์        0.1 โมล/dm3
          สารละลายกรดไฮโดรคลอริก             2   โมล/dm3
          สารละลายกรดไฮโดรคลอริก             3   โมล/dm3
          สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์          2   โมล/dm3
          สารละลายด่างทับทิมเจือจาง
          หลอดทดลองขนาดกลางพร้อมชั้นวาง
          กระบอกตวง

วิธีการทดลอง
เติมสารละลายเลดไนเตรด 0.1 โมล/dm3 จำนวน 5 cm3 ลงในหลอดทดลอง แล้วเติม
สารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ 0.1 โมล/dm3 จำนวน 5 cm3 เขย่าให้เข้ากัน สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พร้อมบันทึกผล
         ใส่สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 2 โมล/dm3 ลงในหลอดทดลองจำนวน 5 cm3 จากนั้น
จึงหย่อนแมกนีเซียมลงไปในหลอด สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พร้อมบันทึกผล
         เติมสารสารละลายกรดไฮโดรคลอริก 2 โมล/dm3 จำนวน 5 cm3 ลงในหลอดที่บรรจุ
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2 โมล/dm3 จำนวน 5 cm3 เขย่าให้เข้ากัน แล้วใช้มือจับบริเวณก้นหลอดทดลองตรงบริเวณที่มีสารละลาย สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พร้อมบันทึกผล
เติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริก 3 โมล/dm3 จำนวน 5 cm3 ลงในหลอดทดลองที่บรรจุสารละลายด่างทับทิมเจือจาง จำนวน 5 cm3 สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ตารางบันทึกผลการทดลอง
การทดลองที่
สารเคมี
ผลที่สังเกตได้
1
Pb(NO3)2 + KI
เกิดเป็นตะกอนสีเหลือง
2
HCl + Mg
เกิดเป็นฟอง (หลังจากหย่อนแผ่นแมกนีเซียมลงไป)
3
HCl + NaOH
เกิดเป็นตะกอนสีขาว
4
HCl + KMnO4
เกิดเป็นตะกอนสีม่วง




วิดีโอประกอบการทดลอง
ศึกษาการเกิดปฏิกิริยาเมื่อหย่อนแมกนีเซียมลงไปในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น