วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง กายวิภาคและระบบทางเดินอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง โรงเรียนดำรงวิทยา

         วันที่ 31 มกราคม 2564 เวลา 14.20 - 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP - YRU โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวมารีแย กาเดร์ ครูผู้สอนรายวิชาชีววิทยา ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง กายวิภาคของสัตว์มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง และระบบทางเดินอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนปฏิบัติการ

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการเรื่อง ทดสอบความเป็นกรด-เบส และหาค่า pH ด้วยสารละลายยูนิเวอร์เซลอินดิเคเตอร์

      


             เมื่อวันที่ 28 เดือนมกราคม 2564 เวลา 08.00 - 09.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนพัฒอิสลามวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง ทดสอบความเป็นกรด-เบส และหาค่า pH ด้วยสารละลายยูนิเวอร์เซลอินดิเคเตอร์ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีอาจารย์รุสนี  สาแม เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการทดลอง เรื่อง ถุงมือทนไฟ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์


วันที่ 28 มกราคม 2564 เวลา 10.00 - 11.30 น. ณ ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 ครุผู้สอน นางสาวสุณีย์ ตอแลมา นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียน ได้ทำการทดลองเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ถุงมือทนไฟ เป็นองค์ประกอบของการติดไฟแล้วเห็นเป็นเปลวไฟ คือ เชื้อเพลิง (Fuel) กับความร้อน (Heat) และตัวออกซิไดซ์ (Oxidizing agent) นั่นก็คือออกซิเจน (Oxygen) ซึ่งในอากาศมีประมาณ 21% เมื่อวัสดุใดก็ตามได้รับความร้อนถึงจุดวาบไฟ (Flash point) ซึ่งเป็นอุณหภูมิต่ำสุดที่สารนั้นลุกติดไฟได้ และเมื่ออุณหภูมิของสารนั้นสูงกว่าจุดวาบไฟประมาณ 10–20℃ ก็ถึงจุดไหม้ไฟ (Fire point) เนื่องจากแอลกอฮอล์ Ethanol เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีขั้วเช่นเดียวกับน้ำสารละลายจะซึมเข้าไปในถุงมือเมื่อจุดไฟก็จะติด

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการทดลองการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ระหว่างโลหะกับไอออนของโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา


            วันที่ 26 มกราคม 2564 เวลา 08.45– 10.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่องการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ระหว่างโลหะกับไอออนของโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2564

ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP YRU


         เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 เวลา 14.00 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมกลาดี ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ (อาคาร 20) โดยมีอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหารเป็นประธานในการประชุมในครั้งนี้ พร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินงาน และเจ้าหน้าที่ประจำโครงการ SMP YRU จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP YRU ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีรายละเอียด ดังนี้

    แนวทางการดำเนินงานโครงการ SMP YRU 

            - ติดตามการปรับปรุงซ่อมแซมห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 โรงเรียน

            - การลงพื้นที่ติดตามนิเทศผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผนของโรงเรียนเครือข่าย พร้อมแผนพัฒนาครูและนักเรียนในโครงการ SMP YRU

            - รายงานผลการวิจัย โครงการ SMP YRU เพื่อส่งเข้าประกวดประเภทรางวัลบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (ประเภทสัมฤทธิ์ผลประชาชนมีส่วนร่วม)

            - การทดลองใช้บทเรียน E-learning (บทปฏิบัติการเคมี ม.4)

            - การขยายผลและการพัฒนาเว็บไซต์ให้แก่โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 12 โรงเรียน

            - โครงการวิจัยพัฒนาบทเรียน จำนวน 3 โครงการ

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564

นักเรียนในโครงการ SMP-YRU ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา ทัศนศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา

         วันที่ 22 มกราคม 2564 เวลา 09.00 – 12.30 น. คณะครูและเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP-YRU) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา ได้เข้าทัศนศึกษาดูงานพร้อมศึกษาแนวทางในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในด้านการเกษตร ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา อำเภอธารโต จังหวัดยะลา โดยการทัศนศึกษาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายศุกร์ เก็บไว้ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา ได้กล่าวต้อนรับพร้อมให้กำลังใจและข้อคิดในการใช้ชีวิต พร้อมด้วยนักวิชาการและบุคลากรของศูนย์วิจัยฯ เป็นวิทยากรในการให้ความรู้นำเสนอข้อมูล พร้อมได้แนะแนวและให้แนวทางในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในอนาคตต่อไป

ปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง การสั่นพ้อง

             เมื่อวันที่ 21 มกราคม  2564 เวลา 14.45-16.05 น ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การสั่นพ้อง โดยมีอาจารย์อสุรินทร์  มะเด็ง เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาฟิสิกส์ และมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรีย

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564

บทปฏิบัติการเคมี เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ

                                             
                                

        เมื่อวันที่ 19 เดือนมกราคม 2564 เวลา 12.00 - 13.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีอาจารย์ซารีฟะห์ อาวัง เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการเรื่อง การแยกสารมีสีด้วยวิธีโครมาโทกราฟี โดยใช้ตัวทำละลายน้ำ เอทานอล และสารละลายโซเดียมคลอไรด์

             เมื่อวันที่ 19 เดือนมกราคม 2564 เวลา 10.40 - 12.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง การแยกสารมีสีด้วยวิธีโครมาโทกราฟี โดยใช้ตัวทำละลายน้ำ เอทานอล  และสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีอาจารย์อาแอเสาะ  มะตารี เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

ความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

        วันที่ 19 มกราคม 2563 เวลา 08.45– 10.15 น. ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวนูรีดา เจ๊ะเงาะ ครูผู้สอนรายวิชาคณิตศาสตร์ได้ทำการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โดยให้นักเรียนจัดรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง เป็นรูปแบบเกมส์ เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้และเกิดความสนุกสนานในบทเรียนมากยิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564

กิจกรรมแนะแนวประชาสัมพันธ์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ประจำปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา

 


        เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ทางโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยาจัดกิจกรรมแนะแนวประชาสัมพันธ์โครงการ แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเป็นทางเลือกในการศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ปฏิบัติการเคมีเรื่อง การทดลองสมบัติกรด – เบสของสารละลายเกลือ โรงเรียนดำรงวิทยา

         

          วันที่ 18 มกราคม 2564 เวลา 15.00 – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวกอรีเย๊าะ มะนาฮา ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองสมบัติกรด – เบสของสารละลายเกลือ ให้แก่นักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้เตรียมและอำนวยความสะดวกในการเรียนปฏิบัติการในครั้งนี้

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564

บริการวิชาการและการทำปฏิบัติการด้านจุลชีววิทยา

         

       
       เมื่อวันที่ 17 เดือน มกราคม พ.ศ. 2564  เวลา 09.30 - 16.00 น  ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำโดยอาจารย์นุรอัยนี หะยียูโซะ และ อาจารย์ ดร.สุธิมา ปรีเปรม และอาจารย์ ดร.หัสลินดา บินมะแอ พร้อมด้วยตัวแทนนักศึกษาสาขาจุลชีววิทยาได้ลงพื้นที่บริการวิชาการหลักสูตรจุลชีววิทยาและสอนการทำปฏิบัติการทางด้านจุลชีววิทยาให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 (SMP) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ

ปฏิบัติการเรื่อง การแยกสารโดยวิธีการกรองและการสกัดด้วยตัวทำละลายโดยใช้เอทานอลและน้ำ


         เมื่อวันที่ 17 เดือนมกราคม 2564 เวลา 10.40 - 12.20  น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง การแยกสารโดยวิธีการกรองและการสกัดด้วยตัวทำละลายโดยใช้เอทานอลและน้ำ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีอาจารย์อาแอเสาะ มะตารี  เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564

การทดลองปฏิบัติการเคมี ม.4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ  ร่วมทดลองเรียนปฏิบัติการเคมี จำนวน 5 บท ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน ตามโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเวลาเรียนและทำการทดลองไม่เพียงพอในชั้นเรียนปกติ เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพื่อสร้างทักษะปฏิบัติการทดลองจากการเรียนรู้ด้วยสื่อคลิปวีดิทัศน์สาธิตขั้นตอนการทดลองและทำกิจกรรมในสภาพแวดล้อมของบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง ร่วมกับชั้นเรียนปกติ (Face-to-Face) ในห้องปฏิบัติการทดลอง เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี

      สำหรับเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง 5 บทปฏิบัติการ คณะครูผู้สอนในโครงการห้องเรียน SMP-YRU ร่วมกันตอบแบบสำรวจ เห็นว่าเนื้อหาบทปฏิบัติการที่สำคัญในระดับชั้น ม.4 รายวิชาปฏิบัติการเคมี จำนวน 10 บทเรียนที่ควรให้นักเรียนทดลองใน 1 ปีการศึกษา โดยใน 1 ภาคเรียนสำหรับการทดลองครั้งนี้ ได้คัดเลือกมาจำนวน 5 บทเรียนปฏิบัติการดังนี้


 

  • บทปฏิบัติการที่ 1 การทดลองวัดปริมาตรโดยใช้อุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ และการวัดมวลโดยใช้เครื่องชั่ง
  • บทปฏิบัติการที่ 2 การออกแบบและทดลองเปรียบเทียบความแม่นในการวัดปริมาตรน้ำด้วยกระบอกตวงที่มีขนาดต่างกัน
  • บทปฏิบัติการที่ 5 การทดลองการศึกษาเส้นสเปกตรัมของธาตุ
  • บทปฏิบัติการที่ 6 สีของสารประกอบ
  • บทปฏิบัติการที่ 7 การทดลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ
 
 
 
     
คาดว่าผลการวิจัยจะได้ต้นแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในรายวิชาอื่น ๆ เพื่อขยายผลไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ในโครงการ SMP-YRU ซึ่งได้มีการพัฒนาความพร้อมของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ เครื่องมือ วัสดุการทดลองไว้พร้อมแล้ว และที่สำคัญเป็นการสนับสนุนให้ทุกโรงเรียนในโครงการ ได้ใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อย่างคุ้มค่า เปิดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการทดลองได้ด้วยตนเอง 

นักเรียนในโครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา เข้าร่วมโครงการ “Education for Change” การศึกษานำมาสู่การเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 27

        ระหว่างวันที่ 8 – 10 มกราคม 2564 ตัวแทนนักเรียนในโครงการ SMP - YRU โรงเรียนดำรงวิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 - 6 จำนวน 14 คน ได้เข้าร่วม โครงการ “Education for Change” การศึกษานำมาสู่การเปลี่ยนแปลง “EC Camp รุ่นที่ 27” เพื่อพัฒนาเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างสันติสุข เปิดประตูสู่อารยธรรม ณ สำนักงานศึกษาธิการภาค 7 จังหวัดยะลา

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2564

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาร่วมพิธีเปิดห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โครงการ SMP-YRU

    มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (Yala Rajabhat University: YRU) "มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี  รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ประธานดำเนินงานในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program, Yala Rajabhat University: SMP-YRU) เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยร่วมงานและให้เกียรติเป็นประธานเปิดห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง และห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง ณ โรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ตั้งอยู่ที่ ต.วังพญา อ.รามัน จ.ยะลา โดยมีนายมูหะมัดนาเซร์   โซ๊ะซูบ๊ะ เป็นผู้อำนวยการ     

     สำหรับการเปิดห้องปฏิบัติการของโรงเรียนดารุล
ฮูดาห์วิทยา เป็นกิจกรรมหนึ่งในการพัฒนาโรงเรียนในโครงการ SMP-YRU ในทุกมิติ ทั้งการพัฒนาห้องปฏิบัติการ การจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือทดลอง การพัฒนาเจตคติและทักษะครูสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การพัฒนาความเข้มแข็งด้านวิชาการ ด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ทักษะไอที ทักษะในศตวรรษที่ 21 และเจตคติที่ดีต่อสถาบันหลักให้แก่นักเรียนระดับชั้น ม.4-6 รวมถึงการสร้างกิจกรรมสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ทั้งนี้ เป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันของเครือข่ายในพื้นที่ผ่านการทำ MoU ทั้งโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ศูนย์สันติวิธี กอ.มรม.ภาค 4 ส่วนหน้า ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นหน่วยบูรณาการหลักในการดำเนินงานโครงการนี้   

 สำหรับโรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา นับเป็นโรงเรียนลำดับที่ 12 ตามเป้าหมายการพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญจำนวน 19 โรงเรียน มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามแนวทางการศึกษาเพื่อความมั่นคง โดยใช้งบประมาณแผนบูรณาการการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ มหาวิทายาลัยราชภัฏยะลาได้ดำเนินงานโครงการ SMP-YRU มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน  มีเป้าหมายยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้น ม.4 - ม.6 และยังสนุบสนุนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในระดับชั้นอื่น ๆ ของโรงเรียนอีกด้วย ทั้งนี้ เน้นการเรียนรู้โดยการทดลอง ให้นักเรียนได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (Lab) ให้มากที่สุด โดยใช้โจทย์ปัญหาในพื้นที่ทำโครงงาน โครงการ SMP-YRU นับเป็นการสร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ จชต. ที่สำคัญอีกโครงการหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 

    ส่วนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีนักเรียนผ่านการพัฒนาในโครงการ SMP-YRU ระดับชั้น ม.4-ม.6 แล้ว กว่า 1,500 คน สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 ไปแล้วจำนวน 2 รุ่น สามารถสอบเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและที่เกี่ยวข้องกว่าร้อยละ 40 จากผู้ศึกษาต่อทั้งหมด ในจำนวนนี้ มีนักเรียนสอบเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ วิศกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และเกี่ยวข้องจำนวนมาก นับเป็นความสำเร็จของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ ในบทบาท "สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น" ในพันธกิจบริการวิชาการอย่างยั่งยืนและมีผลกระทบเชิงพื้นที่ในวงกว้าง เป็นกิจกรรมสำคัญส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา จชต. แบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนต่อไป 

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการฟิสิกส์เรื่อง การทดลองการวัดความยาวคลื่นเสียง ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดำรงวิทยา

         เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 เวลา 13.00 – 13.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวนิฮามูนี นิกาจิ ครูผู้สอนรายวิชาฟิสิกส์ ได้จัดการเรียนการสอนปฏิบัติการฟิสิกส์เรื่อง การสั่นพ้องของอากาศในหลอดเรโซแนนซ์ (Resonance Frequency) ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

ปฏิบัติการทดลองการเปลี่ยนแปลง pH ของน้ำและสารละลายผสมระหว่างกรดแอซีติกและโซเดียมแอซีเตต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

         วันที่ 12 มกราคม 2564 เวลา 08.45– 10.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่องการเปลี่ยนแปลง pH ของน้ำและสารละลายผสมระหว่างกรดแอซีติกและโซเดียมแอซีเตต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564

ห้องเรียนอีเลิร์นนิ่ง http://e-smp.yru.ac.th สำหรับเรียนรู้ในสถานการณ์ COVID-19

 

เว็บไซต์ http://e-smp.yru.ac.th

          โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หรือ SMP-YRU มีการพัฒนาร่วมกับเครือข่ายโรงเรียนในโครงการทั้ง 12 โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 จนถึงปัจจุบัน  ในโครงการดังกล่าวมีการพัฒนานักเรียนในระดับชั้น ม.4 - ม.6 ในทุกมิติ ตั้งแต่การพัฒนาปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ การจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุการทดลอง การพัฒนานักเรียนทั้งด้านวิชาการและทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 หรือ Soft Skill การพัฒนาทักษะการทำโครงงาน การจัดค่ายพัฒนาด้านไอที  ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และค่ายปรับพื้นฐาน ค่ายสอนเสริมเพื่อความเป็นเลิศ รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายผู้บริหาร ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันในทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 

      สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (http://www.yru.ac.th) ได้รับงบประมาณดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะให้นักเรียนหลายกิจกรรม แต่ด้วยการระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19  จึงไม่สามารถดำเนินงานตามปกติได้  โครงการ SMP-YRU จึงดำเนินการในรูปแบบออนไลน์เป็นหลัก เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาด้านวิชาการ จึงพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เพื่อสอนเสริม เพิ่มความรู้พื้นฐานให้แก่นักเรียนในรายวิชาภาาาอังกฤา ภาษาไทย ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้แบบออนไล์ในรูปแบบระบบอีเลิร์นนิ่ง โดยเผยแพร่ไว้ที่เว็บไซต์ http://e-smp.yru.ac.th ซึ่งขณะนี้ดำเนินการเรียบร้อย 

ปฏิบัติการเคมี เรื่องการทดลองสมบัติกรด - เบสของสารละลายเกลือ

             วันที่ 6 มกราคม 2564 เวลา 10.25-11.25 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การทดลองสมบัติกรด - เบสของสารละลายเกลือ  โดยมีอาจารย์คอลิบ หะยีมูหิ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำเคมี และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ


จุดประสงค์การทดลอง
1. ทดลองเพื่อศึกษาสมบัติกรด - เบสของสารละลายเกลือ
2. ระบุสมบัติกรด - เบสของสารละลายเกลือจากอินดิเคเตอร์
3. ระบุชนิดของไอออนที่ส่งผลต่อสมบัติกรด – เบสของสารละลาย

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการทดลองหาความเข้มข้นของสารละลายจากการไทเทรตกรด - เบส โดยใช้อินดิเคเตอร์ บอกจุดยุติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

        วันที่ 5 มกราคม 2563 เวลา 08.45– 10.15 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองหาความเข้มข้นของสารละลายจากการไทเทรตกรด - เบส โดยใช้อินดิเคเตอร์ บอกจุดยุติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564

โครงการศิษย์เก่าเพื่อน้อง โรงเรียนคัมภีร์วิทยา


            วันที่ 31 ธันวาคม 2563 เวลา 08.00– 12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา ได้จัดโครงการศิษย์เก่าเพื่อน้อง ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่ทางโรงเรียนได้มีโอกาสจัดกิจกรรมดีดีให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นโครงการแนะแนวที่มีพี่ที่เป็นศิษย์เก่ามาร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างไร เข้าเรียนมหาวิทยาลัยในรูปแบบไหน ทำไมถึงเลือกสาขาวิชานั้น ให้น้อง ๆได้ฟัง เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกคณะ/วิชาเอก/มหาวิทยาลัยที่ตนเองสนใจ  รวมถึงการใช้ชีวิต/วิถีชีวิต ค่าใช้จ่าย ระบบการเรียนการสอน และอื่น ๆ