วันที่ 26 มกราคม 2564 เวลา 08.45– 10.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่องการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ระหว่างโลหะกับไอออนของโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1
จุดประสงค์การทดลอง
1. ทดลองการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์
2. อธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนอิเล็กตรอนของปฏิกิริยารีดอกซ์ระหว่างโลหะกับไอออนของโลหะ
การทดลอง
เครื่องมืออุปกรณ์
1.บีกเกอร์ ขนาด 50 mL 1 ใบ
2. กระบอกตวง ขนาด 25 mL 1 อัน
3.แท่งแก้วคน 1 อัน
4. กระดาษทราย ขนาด 3 cm X 3 cm 1 ชิ้น
สารเคมี
1. สารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต (CuSO4) 0.10 mol/L
1. ทดลองการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์
2. อธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนอิเล็กตรอนของปฏิกิริยารีดอกซ์ระหว่างโลหะกับไอออนของโลหะ
การทดลอง
เครื่องมืออุปกรณ์
1.บีกเกอร์ ขนาด 50 mL 1 ใบ
2. กระบอกตวง ขนาด 25 mL 1 อัน
3.แท่งแก้วคน 1 อัน
4. กระดาษทราย ขนาด 3 cm X 3 cm 1 ชิ้น
สารเคมี
1. สารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต (CuSO4) 0.10 mol/L
2. แผ่นโลหะสังกะสี (Zn) ขนาด 2 cm X 5 cm
วิธีการทดลอง
1.ขัดแผ่นโลหะ Zn ด้วยกระดาษทราย
2. ใส่ CuSO4 0.10 mol/L ปริมาตร 25 mL ลงในบีกเกอร์ สังเกตสีของสารละลาย
วิธีการทดลอง
1.ขัดแผ่นโลหะ Zn ด้วยกระดาษทราย
2. ใส่ CuSO4 0.10 mol/L ปริมาตร 25 mL ลงในบีกเกอร์ สังเกตสีของสารละลาย
3. จุ่มแผ่นโลหะ Zn ลงในบีกเกอร์ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
4. ตั้งไว้ 1 – 2 นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งที่สารละลายและแผ่นโลหะให้ใช้แท่งแก้วคนเขี่ยออก และสังเกตแผ่นโลหะอีกครั้ง
4. ตั้งไว้ 1 – 2 นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งที่สารละลายและแผ่นโลหะให้ใช้แท่งแก้วคนเขี่ยออก และสังเกตแผ่นโลหะอีกครั้ง
เมื่อจุ่มแผ่นโลหะ Zn ลงใน CuSO4 ที่มีสีฟ้า ซึ่งเป็นสีของ Cu2+ ในน้ำปรากฏว่ามีของแข็งสีน้ำตาลแดงเกาะที่แผ่นโลหะ Zn เมื่อทำให้ของแข็งสีน้ำตาลแดงหลุดออก จะพบว่าผิวของแผ่น โลหะ Zn กร่อนและบางลง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นการถ่ายโอนอิเล็กตรอนของโลหะ Zn ให้กับ Cu2+ เกิดเป็น Zn2+ และโลหะ Cu เมื่อแผ่นโลหะ Zn จุ่มอยู่ในสารละลายนานขึ้น จะสังเกตเห็นโลหะ Cu ซึ่งมีสีน้ำตาลแดงบนผิวของแผ่นโลหะ Znพร้อมๆ กับสารละลายสีฟ้าที่จางลงได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งแสดงว่าปริมาณของ Cu2+ ในสารละลายลดลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น