วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการทดลอง เรื่อง ถุงมือทนไฟ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์


วันที่ 28 มกราคม 2564 เวลา 10.00 - 11.30 น. ณ ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 ครุผู้สอน นางสาวสุณีย์ ตอแลมา นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียน ได้ทำการทดลองเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ถุงมือทนไฟ เป็นองค์ประกอบของการติดไฟแล้วเห็นเป็นเปลวไฟ คือ เชื้อเพลิง (Fuel) กับความร้อน (Heat) และตัวออกซิไดซ์ (Oxidizing agent) นั่นก็คือออกซิเจน (Oxygen) ซึ่งในอากาศมีประมาณ 21% เมื่อวัสดุใดก็ตามได้รับความร้อนถึงจุดวาบไฟ (Flash point) ซึ่งเป็นอุณหภูมิต่ำสุดที่สารนั้นลุกติดไฟได้ และเมื่ออุณหภูมิของสารนั้นสูงกว่าจุดวาบไฟประมาณ 10–20℃ ก็ถึงจุดไหม้ไฟ (Fire point) เนื่องจากแอลกอฮอล์ Ethanol เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีขั้วเช่นเดียวกับน้ำสารละลายจะซึมเข้าไปในถุงมือเมื่อจุดไฟก็จะติด

อุปกรณ์และสารเคมี
1.ถุงมือผ้า
2.ไฟแช็ก
3.กะละมัง
4.นำ้
5.เกลือ
6.แอลกอฮอล์ ( Ethanol )
           

ผลการทดลอง

 การที่ไฟติดไหม้ถุงมือ เนื่องจากนำถุงมือแช่ในน้ำผสมเกลือเล็กน้อยแล้วฉีดพ่นด้วยแอลกอฮอล์ที่มีความดันไอที่สูงกว่าน้ำจะอยู่ที่ผิวด้านนอกของถุงมือ เมื่อจุดไฟตัวที่ติดไฟคือแอลกอฮอล์ โดยอุณหภูมิที่แอลกอฮอล์ติดไฟนั้นไม่สูงพอที่น้ำจะระเหยได้หมด ดังนั้นทำให้ถุงมือไม่ไหม้ การที่เติมเกลือทำให้เห็นเปลวไฟชัดเจนขึ้น ไม่มีผลต่อการทนไฟ
                
              

จากการทดลองในครั้งนี้นักเรียนตื่นเต้นและให้ความสนใจมาก กล้าที่จะลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง มีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์และเพิ่มทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ การทดลองในครั้งนี้ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากเกี่ยวข้องกับเปลวไฟ ต้องมีอาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น