วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการฟิสิกส์เรื่อง การทดลองการวัดความยาวคลื่นเสียง ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดำรงวิทยา

         เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 เวลา 13.00 – 13.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวนิฮามูนี นิกาจิ ครูผู้สอนรายวิชาฟิสิกส์ ได้จัดการเรียนการสอนปฏิบัติการฟิสิกส์เรื่อง การสั่นพ้องของอากาศในหลอดเรโซแนนซ์ (Resonance Frequency) ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

          จุดประสงค์ในการทดลอง

ศึกษาวิธีการวัดความยาวคลื่นเสียงในอากาศโดยอาศัยปรากฏการณ์การสั่นพ้องของเสียง

อุปกรณ์ในการทดลอง

1. ชุดเครื่องกำเนิดสัญญาณเสียง                  4. ลำโพง

2. หลอดสั่นพ้อง                                     5. เทอร์มอมิเตอร์

3. สายไฟ

การสั่นพ้องของอากาศในหลอดเรโซแนนซ์ (Resonance Frequency)

          เสียงที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากปรากฏการณ์การสั่นพ้องของเสียงหรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Sound Resonance : เนื่องจากเสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิด และการเคลื่อนที่ของเสียงเป็นการเคลื่อนที่แบบคลื่น ขณะที่เสียงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง อนุภาคของตัวกลางจะสั่นด้วยความถี่เดียวกับความถี่ของแหล่งกำเนิด เช่น ถ้าเราส่งคลื่นเสียงจากลำโพงเข้าไปทางปากหลอด            เรโซแนนซ์ อนุภาคของอากาศในหลอดเรโซแนนซ์จะถูกบังคับให้สั่นด้วยความถี่ของเสียงจากลำโพง ถ้าปรับความถี่ของคลื่นเสียงให้มีค่าเท่ากับความถี่ธรรมชาติของอนุภาคของอากาศภายในหลอดเรโซแนนซ์อนุภาคของอากาศจะสั่นแรงที่สุด ทำให้เกิดเสียงออกจากปากหลอดเรโซแนนซ์ดังที่สุด ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เรียกว่า "การสั่นพ้องของเสียง"

         รูปกราฟการกระจัดและกราฟความดันที่เปลี่ยนแปลงของอากาศเมื่อเกิดการสั่นพ้องในท่อปลายปิดหนึ่งด้าน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น