วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การหาจุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลาย

  วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562  เวลา 10.00 - 11.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา มีการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาเคมี เรื่อง การหาจุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลาย ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 SMP โดยมี อ.สูไวนะ เบ็นดาโอะ เป็นผู้สอน
วัตถุประสงค์การทดลอง
1. ทดลองหาจุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลาย
2.บอกความแตกต่างระหว่างจุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลายได้

วัสดุอุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้
1.กลีเซอรอลในเอทานอล           4.แนพทาลีน              7.ตะเกียงแอลกอฮอล์   10. แท่งแก้วคนสาร
2.เอทานอล                               5.หลอดคาปิลลารี       8.ขาตั้งพร้อมที่จับ        11. ด้าย
3.กรดเบนโซอิก                         6.หลอดทดลอง          9.เทอร์โมมิเตอร์           12.บีกเกอร์


การหาจุดเดือด ( Boiling Point ) การที่สารไม่บริสุทธิ์ หรือ สารละลายจุดเดือดไม่คงที่ เกิดจากอัตราส่วนระหว่างจำนวนโมเลกุลของตัวถูกละลาย และ ตัวทำละลาย เปลี่ยนแปลงไปโมเลกุลที่มีจุดเดือดต่ำจะระเหยไปเร็วกว่าทำให้สารที่มีจุดเดือดสูงใน อัตราส่วนที่ มากกว่าจึงเป็นผลให้จุดเดือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ
การหาจุดหลอมเหลว ( Melting Point ) จะสามารถทดสอบกับสารที่บริสุทธิ์ และสารที่ไม่บริสุทธิ์ได้ โดย
- สารบริสุทธิ์จะมีจุดหลอมเหลวคงที่ และ มีอุณหภูมิช่วงการหลอมเหลวแคบ
- สารไม่บริสุทธิ์จะมีจุดหลอมเหลวไม่คงที่ และ มีอุณหภูมิในช่วงการหลอมเหลวกว้างซึ่งอุณหภูมิฃ่วงการหลอม หมายถึง อุณหภูมิที่สาร เริ่มต้นหลอมจนกระทั่งสารนั้นหลอมหมดโดยในอุณหภูมิช่วงการหลอม ถ้าแคบต้องไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส
วีดีโอ แสดงจุดเดือดของเอทานอล
ภาพประกอบการทดลอง


 ในการทดลองนักเรียนสมารถอภิปรายได้ว่าเอทานอล มีจุดเดือดอยู่ในช่วง 76 -78 องศาเซลเซียส ซึ่งตำ่กว่าสารละลายกลีเซอรอลในเอทานอลที่มีจุดเดือด 80 องศาเซลเซียส ส่วนจุดหลอมเหลวของแนพทาลีนมีค่าเท่ากับ  81  องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าสารละลายเบนโซอิกในแนพทาลีน ที่มีจุดหลอมเหลว 77 องศาเซลเซียส โดยสามารถสรุปได้ว่า จุดเดือดของสารบริสุทธิ์มีค่าตำ่กว่าจุดเดือดของสารละลายที่มีสารบริสุทธิ์นั้นเป็นตัวทำละลาย และจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์มีค่าสูงกว่าสารละลายที่มีสารบริสุทธิ์นั้นเป็นตัวทำละลาย  จากที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติในครั้งนี้ ทำให้ทราบและเข้าใจในเรื่องจุดเดือดและจุดหลอมเหลวมากขึ้น ได้เพิ่มทักษะการทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังทราบวิธีการหาความบริสุทธิ์ของสารต่างๆได้อีกด้วย

1 ความคิดเห็น: