วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีระหว่างโซเดียมฟอสเฟตกับแบเรียมคลอไรด์

 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562  เวลา 08.00 - 09.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา มีการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีระหว่างโซเดียมฟอสเฟตกับแบเรียมคลอไรด์ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 SMP โดยมี อ.สูไวนะ เบ็ญดาโอะ เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เตรียมแล็บปฏิบัติการ
วัตถุประสงค์การทดลอง
1.ปฏิกิริยาเคมีระหว่างโซเดียมฟอสเฟตกับแบเรียมคลอไรด์เพื่อศึกษาการทำปฏิกิริยาพอดีกันของสาร
2.หาอัตราส่วนโดยโมลของโซเดียมฟอสเฟตต่อแบเรียมคลอไรด์ที่ทำปฏิกิริยาพอดีกัน

ปฏิกิริยาเคมี  คือ กระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสาร ใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ซึ่งสารผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติทางเคมีที่เปลี่ยนไปจากเดิม
สำหรับการทดลองนี้  เป็นการศึกษาปฏิกิริยาเคมีระหว่างโซเดียมฟอสเฟต (Na3PO4กับแบเรียมคลอไรด์(BaCl2)
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
  1. สารละลายโซเดียมฟอสเฟต (Na3PO4) 0.2 M     6.หลอดหยด
  2. สารละลายแบเรียมคลอไรด์(BaCl2) 0.2 M           7.ที่ตังหลอดทดลอง
  3. หลอดทดลอง                                                      8.แผ่นใส่
  4. บีกเกอร์                                                               9.ไม้บรรทัด
  5. หลอดฉีดยา                                                        10.กระดาษกราฟ
ภาพประกอบการทดลอง
การทดลองสารละลายโซเดียมฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับสารละลายแบเรียมคลอไรด์ได้ตะกอนสีขาวของแบเรียมฟอสเฟต และสารละลายใสไม่มีสีของโซเดียมคลอไรด์ ดังปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น

(Ba3PO4)2 + BaCl2      →        Ba3 (PO4)2 + NaCl2

ากการทดลองพบว่าความสูงของตะกอนเริ่มคงทีตั้งแต่หลอดที่ 3 แสดงว่าสารละลายโซเดียมฟอสเฟตทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายแบเรียมคลอไรด์ที่ปริมาตร 1 มล และ 1.5 มล. ตามลำดับและได้อัตราส่วนโดยโมลของโซเดียมฟอสเฟตต่อแบเรียมคลอไรด์ที่ทำปฏิกิกิริยาพอดีเท่ากับ 2:3
ภาพประกอบการทดลอง
โดยการทดลองอาจมีความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการเตรียมสารละลาย การวัดปริมาณของสารละลาย และการวัดความสูงของตะกอน แต่อย่างไรก็ตามการทำปฏิบัติการในครั้งนี้ เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์และใช้กระบวนการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีครูผู้สอนเป็นที่ปรึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น