วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทอลองหาจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลาย

          ✱วันที่ 21 กุมภาพันธ์  2562 เวลา 11.05 - 12.25 น  ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) เรื่อง การทอลองหาจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลาย  โดยมีอาจารย์ วนิดา เหาะแอ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ

จุดประสงค์การทดลอง
         1. ทดลองหาจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลาย
         2. บอกความแตกต่างระหว่างจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์กับสารละลายที่มีสารบริสุทธิ์นั้นเป็นตัวทำละลาย





         จุดหลอมเหลว (Melting  point)  คืออุณหภูมิที่สถานะของแข็ง (solid  phase) และสถานะของเหลว (liquid phase) ของสารประกอบชนิดหนึ่งอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลได้โดยที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง หมายความว่า ถ้าให้ความร้อนแก่สารในขณะที่อยู่ในสถานะของแข็งปนของเหลว อุณหภูมิของสารนั้นจะไม่สูงขึ้นจนกว่าของแข็งจะหลอมเหลวหมด หรือถ้าทำให้สารขณะที่อยู่ในสถานะของแข็งปนของเหลวเย็นลง อุณหภูมิของสารนั้นจะไม่ลดลงจนกว่าของเหลวจะแข็งตัวหมด ดังนั้นจุดหลอมเหลวและจุดแข็งตัวของสารจะเป็นค่าเดียวกัน
           จุดหลอมเหลวของของผสม  สารบริสุทธิ์จะมีจุดเหลอมเหลวที่คงที่และมีช่วงอุณหภูมิของการหลอมเหลว (melting  range) ที่แคบมาก ประมาณ 0.5 - 1.0 ถ้ามีสิ่งเจือปน (impurity) ผสมอยู่ด้วย จุดหลอมเหลวจะตำ่ลงและมีช่วงอุณหภูมิของการหลอมเหลวกว้างขึ้น








จากที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติในครั้งนี้ ทำให้ทราบและเข้าใจในเรื่องจุดหลอมเหลวมากขึ้น ได้เพิ่มทักษะการทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังทราบวิธีการหาความบริสุทธิ์ของสารต่างๆได้อีกด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น