เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์
2561 เวลา 15.00 – 16.30 น.
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ได้มีจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง การถ่ายโอนอิเล็กตรอนในเซลล์กัลวานิก นักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 โดยมีอาจารย์กอรีเย๊าะ
มะนาฮา เป็นอาจารย์ผู้สอน และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลบปฏิบัติการ
วัตถุประสงค์
1. ทำการทดลองเพื่อศึกษาการถ่ายโอนอิเล็กตรอนในแซลล์กัลวานิกได้
2. บอกทิศทางการถ่ายโอนอิเล็กตรอนในเซลล์กัลวานิกได้
3. บอกได้ว่าครึ่งเซลล์ใดเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันหรือรีดักชัน
4. บอกหน้าที่ของสะพานเกลือได้
หลักการ
เซลล์กัลป์วานิก ได้กล่าวถึงปฏิกิริยารีดอกซ์ที่เกิดขึ้นเมื่อนำแผ่นสังกะสีจุ่มลงในสารละลายของทองแดง
หรือตัวรีดิวซ์จุ่มลงในตัวออกซิไดซ์โดยตรงแล้วในบทนำ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทำให้เกิดพลังงานในรูปของความร้อน
แต่ถ้าแยกตัวรีดิวซ์ออกจากตัวออกซิไดซ์ แล้วเชื่อมต่อวงจรภายนอกและสะพานเกลือ( salt bridge)อิเล็กตรอนก็จะถูกถ่ายโอนผ่านตัวกลางภายนอกจากขั้วไฟฟ้าที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันไปยังขั้วไฟฟ้าที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน
จึงทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้ เซลล์ไฟฟ้าที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีนี้เรียกว่า
เซลล์กัลวานิกหรือเซลล์โวลตาอิก (galvanic cell or voltaic cell)ดังภาพ
จากรูปเซลล์กัลวานิกประกอบด้วยสองครึ่งเซลล์
โดยแต่ละครึ่งเซลล์จะประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าที่จุ่มลงไปในสารละลาย แท่งสังกะสีและแท่งทองแดงในเซลล์เป็นขั้วไฟฟ้าซึ่งเรียกว่า อิเล็กโทรด ( electrode ) ขั้วที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เรียกว่า ขั้วแอโนด ( anode ) และขั้วที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน
เรียกว่า ขั้วแคโทด (cathode)
ระหว่างที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันขึ้นที่ขั้วแอโนด
Zn จะค่อย ๆ
กร่อนแล้วเกิดเป็น Zn2+
ละลายลงมาในสารละลายที่มี Zn2+ และ SO42- ส่วนที่ขั้วแคโทด Cu2+
จากสารละลายเกิดปฏิกิริยารีดักชันกลายเป็นอะตอมของทองแดงเกาะอยู่ที่ผิวของขั้วไฟฟ้า
เมื่อปฏิกิริยาดำเนินไปจะพบว่าในครึ่งเซลล์ออกซิเดชันสารละลายจะมีประจุบวก (Zn2+) มากกว่าประจุลบ (SO42-) และในครึ่งเซลล์รีดักชันสารละลายจะมีประจุลบ
(SO42-) มากกว่าประจุบวก
(Cu2+) จึงเกิดความไม่สมดุลทางไฟฟ้าขึ้นปัญหานี้สามารถที่จะแก้ไขได้โดยการใช้สะพานเกลือ
(salt bridge) เชื่อมต่อระหว่างสองครึ่งเซลล์ซึ่งสะพานเกลือทำจากหลอดแก้วรูปตัวยู
ภายในบรรจุอิเล็กโตรไลต์ที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสารในเซลล์และมีไอออนบวก
ไอออนลบเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้เคียงกัน หรือทำจากกระดาษกรองชุปอิเล็กโตรไลต์
โดยสะพานเกลือทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างครึ่งเซลล์ทั้งสอง
และเป็นสิ่งที่ป้องกันการเกิดการสะสมของประจุโดยไอออนบวกจากสะพานเกลือจะเคลื่อนที่ไปยังครึ่งเซลล์ที่มีประจุลบมาก
ในทางตรงกันข้ามไอออนลบก็จะเคลื่อนที่ไปยังครึ่งเซลล์ที่มีประจุมาก
จึงทำให้ปฏิกิริยาดำเนินต่อไปได้ในเวลาที่มากขึ้น
และเนื่องจากครึ่งเซลล์ทั้งสองเชื่อมต่อกับวงจรภายนอก
ครึ่งเซลล์ที่มีศักย์รีดักชันสูงกว่าจะเกิดรีดักชัน และครึ่งเซลล์ที่มีศักย์รีดักชันต่ำกว่าจะ(ถูกบังคับให้)เกิดออกซิเดชัน
ความต่างศักย์ระหว่างอิเล็กโทรดนี้ เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้า (electromotive force: emf) และมีหน่วยเป็น โวลต์ (volt)
จากดูผลการทดลองแล้ว
นักเรียนจะเห็นว่าไอออนแต่ละชนิดรับอิเล็กตรอนได้ไม่เท่ากัน
ไอออนที่รับอิเล็กตรอนได้ดี จะเป็นตัวออกซิไดส์ที่ดี คอปเปอร์ทูไอออนรับ อิเล็กตรอนได้ดีกว่าซิงค์ไอออน
จึงเป็นตัวออกซิไดส์ที่ดีกว่า และโลหะแต่ละชนิดให้อิเล็กตรอนได้ไม่เท่ากัน
โลหะที่ให้อิเล็กตรอนได้ดี จะเป็นตัวรีดิวซ์ที่ดี สังกะสีให้ อิเล็กตรอนได้ดีกว่าทองแดง
จึงเป็นตัวรีดิวซ์ที่ดีกว่า จากผลการทดลองสรุปได้ว่า
ความสามารถในการรับอิเล็กตรอนเป็นดังนี้
Cu2+(aq) > Fe2+(aq) > Zn2+(aq) >
Mg2+(aq)
ความสามารถในการเป็นตัวออกซิไดส์เป็นดังนี้
Cu2+(aq) >
Fe2+(aq) > Zn2+(aq) > Mg2+(aq)
ความสามารถในการใหอิเล็กตรอนเป็นดังนี้
Cu < Fe <
Zn < Mg
ความสามารถในการเป็นตัวรีดิวซเ์ป็นดังนี้
Cu < Fe <
Zn < Mg
หรือกล่าวอีกแบบหนึ่งได้ว่า
ตัวออกซิไดส์ที่ดี จะมีความสามารถรับอิเล็กตรอนได้ง่าย และตัวรีดิวซ์ที่ดี
คือโลหะที่ให้อิเล็กตรอนได้ง่าย
เห็นภาพแล้ว มีแววเป็นนักวิทยาศาสตร์ครับ
ตอบลบ