ปฏิบัติการเคมีเรื่อง การทดลองสมบัติกรด – เบสของสารละลายเกลือ
เมื่อวันที่
18
พฤศจิกายน 2562 เวลา 13.00 – 13.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา นางสาวยารีย๊ะ บูงา
ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมีเรื่อง การทดลองสมบัติกรด –
เบสของสารละลายเกลือ ให้แก่นักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 โดยมีนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นผู้ช่วยในการสอนปฏิบัติการครั้งนี้
ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส
จากทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตตและลาวรี กรด คือสารที่ให้โปรตอน และเบสคือ สารที่รับโปรตอน เมื่อกรดทำปฏิกิริยากับเบส จึงมีการถ่ายโอนโปรตอนระหว่างกรดและเบสนั่นเอง
ตัวอย่างปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่
เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรด CH3COOH และเบส NaOH
ได้เกลือโซเดียมแอซิเตต (CH3COONa) และน้ำ
CH3COOH (aq) + NaOH (aq) CH3COONa (aq) + H2O (l)
CH3COOH (aq) + NaOH (aq) CH3COONa (aq) + H2O (l)
ปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบสในน้ำนี้จะทำให้สารละลายที่ได้แสดงสมบัติเป็นกรด
เบส หรือกลางได้ ซึ่งพิจารณาได้เป็น 2 กรณี
1. ในกรณีกรดและเบสทำปฏิกิริยากันแล้วมีกรดหรือเบสเหลืออยู่ ถ้ามีกรดเหลืออยู่สารละลายแสดงสมบัติเป็นกรด ถ้ามีเบสเหลืออยู่สารละลายก็จะแสดงสมบัติเป็นเบส
2. ถ้ากรดกับเบสทำปฏิกิริยากันหมดพอดี ได้เกลือกับน้ำ สารละลายของเกลือที่ได้จากปฏิกิริยา จะแสดงสมบัติเป็นกรด เบส หรือกลาง ขึ้นอยู่กับชนิดของเกลือนั้นว่ามาจากกรดและเบสประเภทใด ทั้งนี้เพราะเกลือแต่ละชนิดจะเกิดการแตกตัวและทำปฏิกิริยากับน้ำ เรียกว่า ไฮโดรไลซีส ซึ่งจะทำให้สารละลายแสดงสมบัติกรด-เบสต่างกัน รายละเอียดอยู่ในหัวข้อต่อไป
1. ในกรณีกรดและเบสทำปฏิกิริยากันแล้วมีกรดหรือเบสเหลืออยู่ ถ้ามีกรดเหลืออยู่สารละลายแสดงสมบัติเป็นกรด ถ้ามีเบสเหลืออยู่สารละลายก็จะแสดงสมบัติเป็นเบส
2. ถ้ากรดกับเบสทำปฏิกิริยากันหมดพอดี ได้เกลือกับน้ำ สารละลายของเกลือที่ได้จากปฏิกิริยา จะแสดงสมบัติเป็นกรด เบส หรือกลาง ขึ้นอยู่กับชนิดของเกลือนั้นว่ามาจากกรดและเบสประเภทใด ทั้งนี้เพราะเกลือแต่ละชนิดจะเกิดการแตกตัวและทำปฏิกิริยากับน้ำ เรียกว่า ไฮโดรไลซีส ซึ่งจะทำให้สารละลายแสดงสมบัติกรด-เบสต่างกัน รายละเอียดอยู่ในหัวข้อต่อไป
จุดประสงค์การทดลอง
1. ทดลองเพื่อศึกษาสมบัติกรด
- เบสของสารละลายเกลือ
2. ระบุสมบัติกรด –
เบสของสารละลายเกลือจากอินดิเคเตอร์
3. ระบุชนิดของไอออนที่ส่งผลต่อกรด
– เบสของสารละลายเกลือ
วัสดุ อุปกรณ์ สารเคมี
1. โซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
2. โซเดียมแอซีเตต
(CH3COONa)
3. ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์
4. น้ำกลั่น
5. ช้อนตักสาร
6. หลอดทดลองขนาดกลาง
7. แท่งแก้วแก้วคน
8. กระบอกตวง ขนาด 10
ml.
9. หลอดหยด
10. บีกเกอร์ ขนาดเล็ก
11. เครื่องชั่งสาร
วิธีการทดลอง
1. นำ
NaCl และ CH3COONa 0.2 มิลลิกรัม ใส่ลงในหลอดทดลอง หลอดละ 1 ชนิด
จากนั้นเติมน้ำปริมาตร 5 ml. ลงในแต่ละหลอด
คนสารด้วยแท่งแก้วคนจนได้เป็นสารละลายเนื้อเดียว
2. หยดยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ลงไปหลอดละ
2
หยด เขย่า
และทำการสังเกตสีของสารละลายแล้วเปรียบเทียบกับแถบสีของยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ที่
pH ต่างๆ ดังรูป พร้อมบันทึก pH ของสารละลายเกลือแต่ละชนิด
ผลการทดลอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น