วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการวิชาชีววิทยา เรื่อง การศึกษาสิ่งมีชีวิตและพืชโดยกล้องจุลทรรศน์

                ⏩วันที่ 29 สิงหาคม 2561 เวลา 10.25-11.45 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP  โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี 4/1 (SMP) เรื่อง การศึกษาสิ่งมีชีวิตและพืชโดยกล้องจุลทรรศน์ โดยมีอาจารย์อามานี  วอลีมาแย เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีววิทยาและมีนักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ช่วยแลปการปฏิบัติการ ทำการทดลองกับนักเรียน


                 ⏩ กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและรายละเอียดโครงสร้างของเซลล์ ที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยขยายศักยภาพทางด้านการมองเห็น โดยกล้องจุลทรรศน์จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง (Iight microscope) และกล้องจุลทรรศน์ (electron microscope) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยในปฏิบัติการครั้งนี้จะใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง
               ⏩กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง หลักการทำงานจะใช้ลำแสงที่เป็นความยาวคลื่นที่ตามองเห็นได้และชุดของเลนส์แก้วทำให้เกิดภาพขยาย ซึ่งภาพปรากฏให้เห็นได้โดยตรงในลำกล้อง กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบ่งเป็น2 ชนิด ได้แก่ กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ (compound microscope) และกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ (stereoscopic microscope)
                       ⏯กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ เป็นกล้องชนิดเลนส์ประกอบ ใช้ศึกษาโครงสร้างภายในของสิ่งมีชีวิตระดับเนื้อเยื่อและเซลล์ รวมถึงลักษณะและการจัดเรียงตัวของเซลล์ ภาพที่เกิดขึ้นเป็นภาพเสมือนหัวกลับและกลับซ้ายไปขวา
                                  กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ               เมล็ดเลือดแดง

ว่านหางจระเข้

                     ⏯กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ เป็นกล้องชนิดเลนส์ประกอบสามารถใช้ศึกษาโครงสร้างภายนอกของวัตถุที่ทึบแสง มีกำลังขยายต่ำกว่ากล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ ซึ่งภาพที่เกิดขึ้นเป็นภาพ 3 มิติ และเป็นภาพเสมือนหัวต่ำไม่กลับซ้ายขวา

    
                                              กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ                   แมงมุม

   ดอกลีลาวดี                              เกสรดอกตำลึง

           ⏩วัตถุประสงค์
                     1. นักเรียนสามารถบอกส่วนประกอบและอธิบายหลักการทำงานของกล้องทั้ง 2ชนิดได้
                     2. สิ่งมีชีวิตภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เช่น สัตว์ พืช เป็นต้น









              จากการทดลองครั้งนี้ทำให้นักเรียนทราบถึงวิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงประกอบและกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอได้อย่างถูกต้องและสามารถต่อยอดความรู้ไปใช้ในการเรียนรู้ต่อไป 

1 ความคิดเห็น:

  1. ดูนักเรียนตื่นเต้นกับการทดลองครับ นี่เป็นการเรียนรู้แบบ Active Learning เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง ยังไงต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกนำเสนอผลงานหรือสิ่งที่ค้นพบด้วยครับ

    ตอบลบ